ขั้นตอนการรับจ้างดำนาด้วยเครื่องดำนาแบบนั่งขับ
วิธีการเพาะกล้าข้าวดำนาอย่างมืออาชีพเพิ่มรายได้เพิ่มผลผลิต
    หน้า   1   2   3   4   5   

วิธีปักดำเสริมกอกล้าที่หายไปหรือการซ่อมหลุมว่างหลังจากเครื่องดำนาผ่านไป

ใช้เศษของกล้าแผ่นที่เหลือจากการใช้เครื่องดำนาไปใช้เป็นกล้าสำหรับส้อมหลุมว่างที่ไม่มีต้นกล้าปักดำ โดยฉีกต้นกล้าพร้อมดินตามจำนวนต้นที่ต้องการแล้วโยนลงไปตรงจุดที่ต้อง การปลูกซ่อม 
(รูปที่ 9) ซึ่งเป็นวิธีปลูกข้าวของชาวนาทางตอนใต้ของประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีนในบางพื้นที่  ถึงแม้ว่าดินที่มีต้นกล้าจะจมลงไปในดินไม่ลึกหรือตกอยู่บนผิวดิน แต่รากของต้นกล้าจะเกาะจับดินในแปลงและลำต้นข้าว จะตั้งตัวขึ้นในระยะเวลาประมาณ 3 – 5 วัน พร้อมกับต้นกล้าที่เครื่องดำนาปักดำไว้ การ
ปลูกซ่อมกล้าวิธีนี้ช่วยให้เกษตรกรไม่ต้องก้มหลัง  จึงลดความเหนื่อยยากลงมาก
วิธีปักดำเสริมกอกล้าที่หายไปหรือการซ่อมหลุมว่างหลังจากเครื่องดำนาผ่านไป
รูปที่ 9 การซ่อมกล้าโดยวิธีฉีกต้นกล้าเป็นกอแล้วโยนลงไปในแปลงตรงจุดที่ต้องการ

ผลจากการใช้เครื่องดำนา

เกษตรกรสามารถเดินเข้าไปในแปลงได้สะดวก เนื่องจากแปลงที่ปักดำด้วยเครื่องดำนาจะมีระยะห่างระหว่างแถว ประมาณ 30 เซนติเมตร จึงสามารถตรวจตัดเมล็ดพันธุ์ที่ไม่พึงประสงค์ได้ง่าย (รูปที่ 10)ทำให้การทำงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพผลผลิตข้าวที่ได้จึงมีคุณภาพตามต้องการ
เกษตรกรสามารถเดินเข้าไปในแปลงได้สะดวก เนื่องจากแปลงที่ปักดำด้วยเครื่องดำนาจะมีระยะห่างระหว่างแถว
รูปที่ 10 เดินเข้าไปในแปลงเพื่อตรวจตัดเมล็ดพันธุ์ที่ไม่พึงประสงค์ได้สะดวก
ปริมาณผลผลิตผลผลิตมีแนวโน้มมากกว่าแปลงที่ใช้คนดำเพราะเครื่องดำนากำหนดจำนวนต้นกล้าต่อพื้นที่ได้ซึ่งแตกต่างจากการจ้างคนดำที่ มีความเหนื่อยและเมื่อยล้า จึงมักจะปักดำต้นกล้าให้มีระยะห่างระหว่างกอมากขึ้นในช่วงบ่ายที่มีแดดร้อนจัด หรือช่วงเย็นเมื่อใกล้เวลาเลิกงานจึงอาจเป็นสาเหตุให้ปริมาณผลผลิตน้อยลงได้

ข้อควรคำนึงเมื่อใช้เครื่องดำนา

1. เตรียมกล้าให้เพียงพอต่อการใช้เครื่องดำนาในแต่ละวัน และต้องมีต้นกล้าสำหรับปักดำต่อเนื่องกันไปทุกวัน เพื่อให้ใช้เครื่องดำนาได้อย่างต่อเนื่องอย่างคุ้มค่า
2. ตรวจสอบอุปกรณ์เครื่องดำนาเป็นประจำตามคู่มือแนะนำ
3. อุปกรณ์ที่ต้องดูแลเป็นพิเศษ
- ตรวจชุดส้อมปักดำทุกวันก่อนเริ่มทำงาน
- สิ้นฤดูใช้งาน ใส่น้ำมันหล่อลื่นกันสนิมในสายควบคุมอุปกรณ์
4. ถ้าใช้เป็นกลุ่มต้องมีผู้ดูแลและเป็นผู้ขับเครื่องประจำ
5. เกษตรกรที่มีความรู้ทางช่าง ควรซ่อมแซมอุปกรณ์ที่ชำรุดเสียหายเอง จะช่วยลดค่าใช้จ่าย
6. จำเป็นต้องมีชุดส้อมสำรองอย่างน้อย 2 ชุด ถ้าเป็นส้อมที่ใช้แทนกันไม่ได้ระหว่างด้านซ้ายและขวา ก็จำเป็นต้องมีทั้งสองข้าไว้สำรอง เพื่อใช้เปลี่ยนทันทีที่เกิดเสียหายระหว่างการทำงาน จะช่วยให้การใช้เครื่องดำนาเป็นไปตามแผน โดยนำชุดที่เปลี่ยนออกไปซ่อมเตรียมไว้เป็นชุดสำรองต่อไปอีกโดยเฉพาะ

ขั้นตอนและลักษณะการรับจ้างดำนาด้วยเครื่องดำนาแบบนั่งขับ

1. เกษตรกรเจ้าของนาติดต่อกับจ้าของเครื่องดำนาผู้รับจ้าง กำหนดพันธุ์ข้าวที่ต้องการ ตกลงนัดหมายวันที่ต้องการให้ไปปักดำ โดยเจ้าของนาจะเตรียมแปลงนาและขังน้ำทิ้งไว้ในแปลง  เพื่อพักดินในแปลงให้เหมาะสำหรับใช้เครื่องดำนาก่อนการปักดำ 3-5 วัน จนถึงกำหนด วันปักดำจึงจะปล่อยน้ำออกจากแปลงจนระดับน้ำสูงประมาณหนึ่งฝ่ามือแนวนอน
2. เจ้าของเครื่องผู้รับจ้างจะเตรียมกล้าเป็นแผ่นสำหรับใช้กับเครื่องดำนาตามพันธุ์ที่ลูกค้าต้องการ โดยเตรียมกล้าให้มีอายุ 20 วันเมื่อถึงกำหนดวันนัดหมายปักดำ เมื่อถึงกำหนดนัดหมายที่จะต้องไปปักดำแล้ว จะลอกแผ่นกล้าออกแปลงม้วนและจัดเรียงลงบนรถบรรทุกเพื่อนำไปปักดำ ส่วนถาดพลาสติกหรือถาดเพาะกล้าก็จะนำกลับไปเพาะกล้าต่อไป
3. ค่ารับจ้างดำนา จะคิดค่าเครื่องปักดำรวมกับค่ากล้าแผ่นไร่ละ 1000 - 1200 บาท เจ้าของเครื่องดำนาจะจ่ายค่าจ้างไร่ละ 75 บาท (สำหรับคนขับเครื่องดำนา 1 คน และผู้ช่วยส่งกล้า 1-2 คน)
4. เจ้าของเครื่องดำนา จะใช้รถบรรทุกขนย้ายเครื่องดำนาและกล้ าเป็นแผ่นไปแปลงนาของเกษตรกรที่นัดหมายไว้ ส่วนใหญ่แปลงนาของเกษตรกรมักจะอยู่ห่างถนน และรถไม่สามารถวิ่งบน คันนาเข้าไปใกล้แปลงนาได้เพราะคันนาในประเทศไทยเกือบทั่วประเทศ จะมีขนาดเล็กเนื่องจากไม่ได้เตรียมไว้สำหรับการขนย้ายเครื่องจักรกลหรือผลผลิต ดังนั้นผู้ขับเครื่องดำนาจะต้องขับเครื่องดำนามารับแผ่นกล้าจากรถบรรทุกหรือต้องมีการขนย้ายต้นกล้าด้วยรถสาลี่ พ่วงรถไถเดินตามไปสู่ แปลงปักดำอีกทอดหนึ่งทำให้เสียเวลาและแรงงาน ดังนั้นตามสภาพจริงในทางปฏิบัติเครื่องดำนาจึงไม่สามารถทำงานได้พื้นที่ตามที่มักกล่าวกัน
5. หลังจากดำนาเสร็จแล้ว จะทิ้งไว้ 1-2 คืน แล้วจึงปล่อยนำเลี้ยงต้นกล้า แต่ถ้าแปลงนามีน้ำอยู่แล้วก็จะปล่อยน้ำเข้าภายหลัง โดยควบคุมแปลงนาให้มีน้ำอยู่เสมอเพื่อป้องกันไม่ให้วัชพืชงอก
ขั้นตอนและลักษณะการรับจ้างดำนาด้วยเครื่องดำนาแบบนั่งขับ
รูปที่ 11 รับจ้างดำนาด้วยเครื่องดำนา

การลงทุนซื้อเครื่องดำนาแบบนั่งขับไปใช้รับจ้างดำนา มีปัจจัยที่เกี่ยวข้องดังต่อไปนี้

1. จำเป็นต้องมีเครื่องดำนาอย่างน้อย 2 เครื่อง เพื่อใช้ทดแทนกันเมื่อเครื่องดำนาเสียหายจนต้องหยุดซ่อมในระหว่างฤดูดำนา เนื่องจากระบบการใช้เครื่องดำนาจะต้องมีการวางแผนงาน กำหนดวันปักดำและมีการเตรี ยมกล้าไว้สำหรับให้เครื่องดำนาปักดำได้ต่อเนื่องกันทุกวันตลอดฤดู (จะมีพักบ้างเป็นบางช่วง) เพื่อให้คุ้มค่าต่อการลงทุน ดังนั้นเมื่อถึงกำหนดวันปักดำไว้แล้วไม่สามารถใช้เครื่องปักดำได้ตามแผนจะทำให้เกิดผลเสียหายทั้งระบบได้ เพราะการเลื่อนวันปักดำออกไป 1 ราย จะกระทบต่อรายอื่น ๆ ที่ได้กำหนดนัดหมายไว้อย่างเป็นลูกโซ่  เพราะต้นกล้าที่เตรียมไว้มีการเจริญเติบโตทุกวัน
2. จำเป็นต้องมีรถบรรทุกสำหรับขนเครื่องดำนาและขนแผ่นกล้า ถ้าเป็นเครื่องดำนาแบบนั่งขับจะต้องใช้รถบรรทุกขนาด 6 ล้อ ส่วนเครื่องดำนาแบบคนเดินตามสามารถใช้รถปิ๊กอัพได้
3. ต้องมีลานเตรียมกล้า มีเครื่องร่อนขี้เถ้า มีแปลงนาไว้พักเลี้ยงต้นกล้าหลังจากหว่านเพาะเมล็ดพันธ์แล้วที่มีพื้นที่พอสำหรับวางถาดกล้า โดยหลังจากหว่านเมล็ดพันธุ์ลงถาดเพาะแล้ว จะวางถาดกล้าซ้อนกันในที่ร่ม 3 วัน แล้วนำถาดกล้าไปวางเรียงในแปลงนาโดยไม่ซ้อนกัน และหลังจากปล่อยถาดกล้าทิ้งไว้ในแปลงนาอีกประมาณ 7 วัน จะลอกแผ่นกล้าออกจากถาดไปวางเรียงบนแผ่นพลาสติก เพื่อจะได้นำถาดเพาะกล้ามาใช้เพาะกล้าต่อไป ในการดูแลกล้าจะต้องให้น้ำต้นกล้าตามความเหมาะสมด้วย จนกว่าจะถึงวันครบอายุที่จะนำไปปักดำ
4. ใช้ถาดเพาะกล้าไม่น้อยกว่า 3,000 ใบ เพื่อให้สามารถหมุนเวียนมาใช้เตรียมกล้าต่อเนื่องกันตลอดฤดูปักดำ
5. ต้องมีคนงานไม่น้อยกว่า 3 - 4 คน เพาะกล้า ขนย้ายกล้าลงแปลง พัก และขนกล้าขึ้นรถ
6. ต้องมีคนขับเครื่องดำนา 1 คน ผู้ช่วย 1 คน
การลงทุนซื้อเครื่องดำนาแบบนั่งขับไปใช้รับจ้างดำนา มีปัจจัยที่เกี่ยวข้องดังต่อไปนี้
รูปที่ 12 เกษตกรควรรู้ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับเครื่องดำนา
    หน้า   1   2   3   4   5   
CONTACT
169/47 ถ.พุทธมณฑลสาย 4 ต.กระทุ่มล้ม  อ.สามพราน จ.นครปฐม 73220
086-070-0007
ananindustry@gmail.com
https://www.ananindustry.com
WORKING DAYS/HOURS
วันจันทร์ - วันเสาร์
8.00 - 17.00 น.
Copyright © 2008 Anan Industry Company Limited. All Rights Reserved