รูปแบบการติดตั้งและเชื่อมต่อเพื่อประกอบกิจการสถานีชาร์จประจุรถยนต์ไฟฟ้า

รูปแบบการติดตั้งและเชื่อมต่อเพื่อประกอบกิจการสถานีชาร์จประจุรถยนต์ไฟฟ้า

รูปแบบของกิจการสถานีชาร์จประจุรถยนต์ไฟฟ้า EV Charging Station

การดำเนินธุรกิจสถานีชาร์จประจุรถยนต์ไฟฟ้า EV Charging Station หรือบริการใดๆ ที่เกี่ยวข้อง จะประกอบไปด้วยหน่ายงานและผู้เกี่ยวข้องจำนวนมาก แสดงดังรูปที่ 1 ทำให้การออกแบบรูปแบบธุรกิจนี้ควรออกแบบให้เหมาะสมกับผู้ใช้รถยนต์ไฟฟ้า และสร้างความเชื่อมั่นแก่ผู้ใช้รถยนต์ไฟฟ้าเป็นหลัก
การเชื่อมต่อสถานีชาร์จประจุรถยนต์ไฟฟ้ากับระบบโครงข่ายของการไฟฟ้ารวมถึงหน่วยงานและผู้เกี่ยวข้อง
รูปที่ 1 การเชื่อมต่อสถานีชาร์จประจุรถยนต์ไฟฟ้ากับระบบโครงข่ายของการไฟฟ้ารวมถึงหน่วยงานและผู้เกี่ยวข้อง
ในการประกอบกิจการสถานีชาร์จประจุรถยนต์ไฟฟ้าในประเทศไทย เพื่อให้บริการชาร์จประจุไฟฟ้าแก่รถยนต์ไฟฟ้าประเภทปลั๊กอินไฮบริดและประเภพแบตเตอรี่ 100% สามารถแบ่งออกเป็น 4 รูปแบบ

1.สถานีชาร์จประจุรถยนต์ไฟฟ้า โดยใช้พลังงานไฟฟ้าจากระบบโครงข่ายไฟฟ้า (Grid)

สถานีชาร์จประจุรถยนต์ไฟฟ้า EV Charging Station โดยใช้พลังงานไฟฟ้าจากระบบโครงข่ายไฟฟ้า (Grid Connected) คือ การติดตั้งสถานีชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า โดยการเชื่อมต่อกับระบบโครงข่ายของการไฟฟ้า และใช้พลังงานไฟฟ้าจากระบบโครงข่ายไฟฟ้า ซึ่งผู้ให้บริการเครื่องชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าจะเป็นผู้ซื้อไฟฟ้าจากการไฟฟ้า เพื่อนำมาให้บริการชาร์จประจุไฟฟ้าแก่ผู้ใช้รถยนต์ไฟฟ้า แสดงดังรูปที่ 2
สถานีชาร์จประจุรถยนต์ไฟฟ้า โดยใช้พลังงานไฟฟ้าจากระบบโครงข่ายไฟฟ้า (Grid Connected) ร่วมกับแหล่งผลิตกระแสไฟฟ้านอกระบบโครงข่ายไฟฟ้า
รูปที่ 2 การเชื่อมต่อสถานีชาร์จประจุรถยนต์ไฟฟ้ากับระบบโครงข่ายของการไฟฟ้า

2. สถานีชาร์จประจุรถยนต์ไฟฟ้า โดยใช้พลังงานไฟฟ้าจากระบบโครงข่ายไฟฟ้า (Grid Connected) ร่วมกับแหล่งผลิตกระแสไฟฟ้านอกระบบโครงข่ายไฟฟ้า

สถานีชาร์จประจุรถยนต์ไฟฟ้า EV Charging Station โดยใช้พลังงานไฟฟ้าจากระบบโครงข่ายไฟฟ้า (Grid Connected) ร่วมกับแหล่งผลิตกระแสไฟฟ้านอกระบบโครงข่ายไฟฟ้า เช่น เซลล์แสงอาทิตย์ (Solar cell) คือการติดตั้งสถานีชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า โดยเชื่อมต่อกับระบบโครงข่ายของการไฟฟ้า และมีการติดตั้งระบบผลิตไฟฟ้าแสงอาทิตย์ที่สถานีชาร์จประจุรถยนต์ไฟฟ้าเพื่อนำพลังงานไฟฟ้าที่ผลิตจากแสงอาทิตย์มาใช้ร่วมกับไฟฟ้าที่ซื้อจากการไฟฟ้าเพื่อให้บริการชาร์จประจุรถยนต์ไฟฟ้า ซึ่งผู้ให้บริการเครื่องชาร์จประจุรถยนต์ไฟฟ้าจะเป็นผู้ดูแลในการซื้อไฟฟ้าจากการไฟฟ้าและจัดหาไฟฟ้าจากระบบผลิตไฟฟ้าแสงอาทิตย์ แสดงดังรูปที่ 3
สถานีชาร์จประจุรถยนต์ไฟฟ้า โดยใช้พลังงานไฟฟ้าจากระบบโครงข่ายไฟฟ้า (Grid Connected) ร่วมกับแหล่งผลิตกระแสไฟฟ้านอกระบบโครงข่ายไฟฟ้า
รูปที่ 3 การเชื่อมต่อสถานีชาร์จประจุรถยนต์ไฟฟ้ากับระบบโครงข่ายของการไฟฟ้าและระบบผลิตไฟฟ้าจากแสงอาทิตย์

3. สถานีชาร์จประจุรถยนต์ไฟฟ้า โดยใช้พลังงานไฟฟ้าจากระบบโครงข่ายไฟฟ้า (Grid Connected) และมีระบบกักเก็บพลังงาน

สถานีชาร์จประจุรถยนต์ไฟฟ้า EV Charging Station โดยใช้พลังงานไฟฟ้าจากระบบโครงข่ายไฟฟ้า (Grid Connected) และมีระบบกักเก็บพลังงานโดยใช้แบตเตอรี่ (Battery Energy Storage System) คือการติดตั้งสถานีชาร์จประจุรถยนต์ไฟฟ้า โดยเชื่อมต่อกับระบบโครงข่ายของการไฟฟ้า และมีการติดตั้งแบตเตอรี่ที่สถานีชาร์จประจุรถยนต์ไฟฟ้าเพื่อนำพลังงานไฟฟ้าที่เก็บไว้ในแบตเตอรี่ในช่วงที่อัตราค่าไฟฟ้าถูก มาใช้ร่วมกับไฟฟ้าที่ซื้อจากกาไฟฟ้าเพื่อให้บริการชาร์จประจุไฟฟ้า ซึ่งผู้ให้บริการเครื่องชาร์จประจุรถยนต์ไฟฟ้าจะเป็นผู้ดูแลในการซื้อไฟฟ้าจากการไฟฟ้าและจัดหาไฟฟ้าจากแบตเตอรี่ แสดงในรูป 4
สถานีชาร์จประจุรถยนต์ไฟฟ้า โดยใช้พลังงานไฟฟ้าจากระบบโครงข่ายไฟฟ้า (Grid Connected) และมีระบบกักเก็บพลังงาน
รูปที่ 4 การเชื่อมต่อสถานีชาร์จประจุรถยนต์ไฟฟ้ากับระบบโครงข่ายของการไฟฟ้าและระบบกักเก็บพลังงานโดยแบตเตอรี่

4. สถานีชาร์จประจุรถยนต์ไฟฟ้า โดยใช้พลังงานไฟฟ้าจากระบบโครงข่ายไฟฟ้า (Grid Connected) ร่วมกับแหล่งผลิตกระแสไฟฟ้านอกระบบโครงข่ายไฟฟ้าและมีระบบกักเก็บพลังงาน

สถานีชาร์จประจุรถยนต์ไฟฟ้า EV Charging Station โดยใช้พลังงานไฟฟ้าจากระบบโครงข่ายไฟฟ้า (Grid Connected) ร่วมกับแหล่งผลิตกระแสไฟฟ้านอกระบบโครงข่ายไฟฟ้า เช่น เซลล์แสงอาทิตย์ (Solar Cell) และมีระบบกักเก็บพลังงานโดยใช้แบตเตอรี่ (Battery Energy Storage System) คือ การติดตั้งสถานีชาร์จประจุรถยนต์ไฟฟ้า โดยเชื่อมต่อกับระบบโครงข่ายของการไฟฟ้าและมีการติดตั้งระบบผลิตไฟฟ้าแสงอาทิตย์ร่วมกับแบตเตอรี่ที่สถานีชาร์จประจุรถยนต์ไฟฟ้า เพื่อนำพลังงานไฟฟ้าที่ผลิตจากระบบผลิตไฟฟ้าแสงอาทิตย์และถูกเก็บไว้ในแบตเตอรี่ มาใช้ร่วมกับไฟฟ้าที่ซื้อจากการไฟฟ้าเพื่อให้บริการชาร์จประจุรถยนต์ไฟฟ้า ซึ่งในกรณีนี้ไฟฟ้าที่เก็บไฟฟ้าในแบตเตอรี่อาจมาจากไฟฟ้าจากโครงข่ายของการไฟฟ้า ที่ถูกนำมาเก็บไว้ในช่วงเวลาที่อัตราค่าไฟฟ้าถูกได้เช่นกัน ซึ่งผู้ให้บริการเครื่องชาร์จประจุรถยนต์ไฟฟ้าจะเป็นผู้ดูแลในการซื้อไฟฟ้าจากการไฟฟ้าและจัดหาไฟฟ้ามาบรรจุไว้ในแบตเตอรี่ แสดงดังรูปที่ 5
สถานีชาร์จประจุรถยนต์ไฟฟ้า โดยใช้พลังงานไฟฟ้าจากระบบโครงข่ายไฟฟ้า (Grid Conected) ร่วมกับแหล่งผลิตกระแสไฟฟ้านอกระบบโครงข่ายไฟฟ้าและมีระบบกักเก็บพลังงาน
รูปที่ 4 การเชื่อมต่อสถานีชาร์จประจุรถยนต์ไฟฟ้ากับระบบโครงข่ายของการไฟฟ้า ระบบผลิตไฟฟ้าจากแสงอาทิตย์ และแบตเตอรี่
เนื่องจากการประกอบการกิจการสถานีชาร์จประจุไฟฟ้าสำหรับรถยนต์ไฟฟ้าเข้าข่ายเป็นการประกอบกิจการพลังงานที่ต้องขอรับใบอนุญาตจากคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) ตามมาตรา 47 แห่งพระราชบัญญัติการประกอบกิจการพลังงาน พ.ศ. 2550 อย่างไรก็ตามสำนักงาน กกพ. ได้ประกาศเพิ่มเติมเป็นพระราชกฤษฎีกา กำหนดประเภท ขนาด กิจการพลังงานที่ได้รับการยกเว้น ไม่ต้องขอรับใบอนุญาตการประกอบกิจการพลังงาน พ.ศ. 2552 สำหรับกิจการประเภทที่ไม่ต้องขอรับอนุญาตและเป็นกิจการที่ต้องแจ้งต่อสำนักงาน กกพ.
การชาร์จประจุรถยนต์ไฟฟ้าแบบเหนี่ยวนำ หรือ การชาร์จประจุรถยนต์ไฟฟ้าแบบไร้สาย
ตารางที่ 1 รูปแบบของกิจการสถานีชาร์จประจุรถยนต์ไฟฟ้า และประเภทใบอนุญาต
ที่มา: กกพ. (ERC)

คู่มือประกอบกิจการสถานีชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า

CONTACT
169/47 ถ.พุทธมณฑลสาย 4 ต.กระทุ่มล้ม  อ.สามพราน จ.นครปฐม 73220
086-070-0007
ananindustry@gmail.com
https://www.ananindustry.com
WORKING DAYS/HOURS
วันจันทร์ - วันเสาร์
8.00 - 17.00 น.
Copyright © 2008 Anan Industry Company Limited. All Rights Reserved