8 ขั้นตอนวิธีการปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ให้โตไว ได้ฝักเต็ม ผลผลิตเพิ่ม

8 ขั้นตอนวิธีการปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ให้โตไว ได้ฝักเต็ม ผลผลิตเพิ่ม
ตารางเนื้อหา
    หน้า   1   2  

1. พันธุ์ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์

ขั้นตอนที่ 1 คัดเลือกพันธุ์ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ที่นิยมปลูก
พันธุ์ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์
พันธุ์ข้าวโพดที่นิยมปลูกเพื่อเลี้ยงสัตว์ มี 2 ชนิด

1.1 พันธุ์ผสมปิด

  • ลักษณะทางการเกษตรไม่สม่ำเสมอเมื่อเทียบกับพันธุ์ลูกผสม
  • ต้านทานต่อโรคราน้ำค้าง
  • เมล็ดพันธุ์ราคาถูกกว่าพันธุ์ลูกผสม ประมาณ 5 เท่า พันธุ์ผสมเปิดที่นิยมปลูกมีลักษณะทางเกษตรดังนี้

  - สุวรรณ 5 ของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ต้านทานต่อโรคราสนิม ความสูงของต้น 220 เซนติเมตร อายุถึงวันออกไหม 54 วัน อายุเก็บเกี่ยว 110-120 วัน ผลผลิต 800 กิโลกรัม/ไร่ เปอร์เซ็นต์กะเทาะเมล็ด 78 เปอร์เซ็นต์

  - นครสวรรค์ 1 ของกรมวิชาการเกษตร ไม่ต้านทานโรคราสนิม ความสูงของต้น 220 เซนติเมตร อายุถังวันออกไหม 52 วัน อายุเก็บเกี่ยว 100-110 วัน ผลผลิต 700 กิโลกรัม/ไร่ เปอร์เซ็นต์กะเทาะเมล็ด 79 เปอร์เซ็นต์

ข้าวเป็นอาหารหลักของประชากรโลก ส่วนใหญ่เป็นประชากรของประเทศที่กำลังพัฒนา และยังเป็นอาหารเสริมของประชากรอีกส่วนหนึ่ง ประมาณร้อยละ 90 ของผลผลิตข้าวของโลกมีการผลิตและบริโภคอยู่ในทวีปเอเชีย

1.2 พันธุ์ลูกผสม

  • เป็นพันธุ์ข้าวโพดที่นิยมปลูกประมาณ 90 เปอร์เซ็นต์ของพื้นที่ทั้งหมด มีลักษณะทางการเกษตรสม่ำเสมอ ได้แก่ ขนาดฝัก ความสูงฝัก ความสูงต้น อายุถึงวันออกดอก อายุเก็บเกี่ยวและคุณภาพผลผลิตสูงกว่าพันธุ์ข้าวโพดผสมเปิดจึงเป็นพันธุ์ตลาดต้องการ
  • ไม่สามารถเก็บเมล็ดไว้ทำพันธุ์ได้
  • เมล็ดพันธุ์มีราคาแพง กิโลกรัมละ 70-100 บาท

2. การปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์

ขั้นตอนที่ 2 วิธีการปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์
การปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์

2.1 การเตรียมพื้นที่ปลูก

  • ไถด้วยผาลสาม 1 ครั้ง ลึก 20-30 เซนติเมตร ตากดิน 7-10 วัน พรวนด้วยผาลเจ็ด 1 ครั้ง ปรับระดับดินให้สม่ำเสมอแล้วคราดเก็บเศษซาก ราก เหง้า หัว และไหลของวัชพืชข้ามปีออก จากแปลง
  • วิเคราะห์ก่อนปลูก

  1. ถ้าดินมีความเป็นกรด-ด่าง ต่ำกว่า 5.5 ก่อนเตรียมดินควรหว่านปูนขาวอัตรา 100 กิโลกรัม/ไร่ สำหรับดินร่วนทราย และอัตรา 200-400 กิโลกรัม/ไร่ สำหรับดินร่วนหรือดินเหนียว แล้วไถกลบ

  2. ถ้าดินมีอินทรีย์วัตถุต่ำกว่า 1.0 เปอร์เซ็นต์ ก่อนพรวนดินให้หว่านปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมักที่ย่อยสลายดีแล้ว อัตรา 500 กิโลกรัม/ไร่ สำหรับดินเหนียวและดินร่วนเหนียว และอัตรา 1,000 กิโลกรัมต่อไร่สำหรับดินร่วนและดินทราย หรือหว่านพืชบำรุงดิน เช่น ถั่วเขียว อัตรา 5 กิโลกรัม/ไร่ แล้วไถกลบในระยะเริ่มติดฝัก หรือหลังเก็บเกี่ยวพืชบำรุงดิน

2.2 กำหนดละยะปลูก

  2.2.1 อัตราปลูกและระยะปลูกปกติใช้ระยะระหว่าง 75 เซนติเมตร ระยะระหว่างต้น 25 เซนติเมตร ปลูก 1 เมล็ด/หลุม ใช้เมล็ดพันธุ์ที่มีความงอกสูง จะได้จำนวนต้น 8,533 ต้น/ไร่

  2.2.2 อัตราปลูกและระยะปลูกถี่ ในกรณีดินที่ปลูกมีความอุดมสมบูรณ์สูงและเป็นพื้นที่ที่ไม่มีปัญหาเรื่องฝนแล้ง หรือน้ำท่วม มีพันธุ์ที่มีระบบรากและลำต้นแข็งแรง ต้นเตี้ย และมีการจัดการที่ดีใช้ระยะระหว่างแถว 65-75 เซนติเมตร ระยะระหว่าต้น 20-25 เซนติเมตร ปลูก 1 เมล็ด/หลุม จะได้จำนวนต้น 10,000-12,000 ต้น/ไร่

ในดินเหนียวให้ปลูกลึก 3-4 เซนติเมตร ดินร่วน ดินร่วนปนเหนียว ดินร่วนปนทรายให้ปลูกลึก 4-5 เซนติเมตร เพื่อให้ข้าวโพดงอกสม่ำเสมอ ข้าวโพดส่วนใหญ่ปลูกภายใต้สภาพน้ำฝนดังนั้นต้องรอให้ฝนตกก่อนเพื่อให้ดินมีความชื้นพอสมควรแล้วจึงปลูก หลังปลูกควรมีฝนตกประมาณ 20-40 มิลลิเมตร ภายใน 1-2 วัน จะทำให้เมล็ดข้าวโพดงอกสม่ำเสมอ

2.3 ข้อพิจารณาการซื้อเมล็ดพันธุ์ข้าวโพด

  2.3.1 ฉลากต้องมีระบุชื่อบริษัทที่เชื่อถือได้มีมาตรฐาน สถานที่ผลิต วัน เดือน ปีที่ผลิต และมีความงอกของเมล็ดพันธุ์สูงกว่าร้อยละ 90

  2.3.2 ถุงบรรจุเมล็ดพันธุ์ข้าวโพด ควรเลือกเมล็ดพันธุ์บรรจุในถุงและกล่องที่อยู่ในสภาพดี เมล็ดพันธุ์ได้รับการคลุกสารเคมีป้องกันโรคและแมลง ไม่มีรอยทำลายจากแมลง เชื้อรา และสัตว์ศัรูพืช

  2.3.3 เมล็ดพันธุ์ต้องมีขนาดสม่ำเสมอ เกษตรกรควรนำเมล็ดพันธุ์ไปทดสอบความงอกก่อนปลูก ซึ่งไม่ควรต่ำกว่าร้อยละ 90 โดยเฉพาะเมล็ดจำนวน 100 เมล็ดในกระบะทราย รดน้ำและนับจำนวนต้นที่งอกหลังจากเพาะ 1 สัปดาห์

2.4 ฤดูปลูก

  2.4.1 ต้นฤดูฝน เป็นช่วงปลูกข้าวโพดที่เริ่มต้นจากกลางเดือน มีนาคม หรือ เมษายน หรือ พฤษภาคม ถึงเดือนกรกฎาคม

  2.4.2 ปลายฤดูฝน เป็นช่วงปลูกข้าวโพดที่เริ่มต้นจากกลางเดือนกรกฎาคม หรือเดือนสิงหาคม

  2.4.3 ฤดูแล้ง (ปลูกข้าวโพดในพื้นที่นาหลังเก็บเกี่ยวข้าวนาปี) ปลูกในช่วงเดือนพฤศจิกายนถึงเดือนมกราคม

2.5 วิธีปลูก

  2.5.1 วิธีปลูกด้วยแรงงานคน

     - ระยะระหว่างปลูก 75 เซนติเมตร ระยะระหว่างหลุม 20-25 เซนติเมตร อัตราเมล็ดพันธุ์ข้าวโพด 3-4 กิโลกรัมต่อไร่ จะได้จำนวนข้าวโพด 8,533-10,667 ต้น/ไร่

     - ใช้จอบขุดเป็นหลุม หรือใช้รถไถเดินตาม หรือใช้รถแทรกเตอร์ติดหัวเปิดร่องหยอดเมล็ดหลุมละ 1-2 เมล็ด กลบดินให้แน่น

     - เมื่อข้าวโพดอายุประมาณ 14 วันหลังงอก ถอนแยกให้เหลือหลุมละ 1 ต้น

  2.5.2 วิธีปลูกด้วยเครื่องปลูก

     - ใช้รถแทรกเตอร์ลากจูงเครื่องปลูกพร้อมใส่ปุ๋ยติดท้าย ปรับให้มีระยะระหว่างแถว 75 เซนติเมตร ระยะระหว่างหลุม 20 เซนติเมตร จำนวน 1 เมล็ด/หลุม อัตราเมล็ดพันธุ์ 2-3 กิโลกรัม/ไร่ จะได้จำนวนข้าวโพด 10,600 ตัน/ไร่

3 การดูแลรักษาข้าวโพดเลี้ยงสัตว์

ขั้นตอนที่ 3 การดูแลรักษาข้าวโพดเลี้ยงสัตว์
การดูแลรักษาข้าวโพดเลี้ยงสัตว์

3.1 การให้น้ำ

โดยทั่วไปข้าวโพดมีความต้องการน้ำตลอดฤดูปลูกประมาณ 450-600 มิลลิเมตร ประมาณการได้ว่าทุกๆ มิลลิเมตรของน้ำที่ข้าวโพดได้รับเพิ่มขึ้นจะช่วยให้มีผลผลิตเมล็ดข้าวโพด 3.2 กิโลกรัม/ไร่ การขาดน้ำจะมีผลทำให้ข้าวโพดมีผลผลิตลดลง โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าในสภาพดังกล่าวมีอุณหภูมิสูง การขาดน้ำในระยะ vegetative จะทำให้ต้นข้าวโพดมีความสูงลดลง แต่จะไม่เป็นการสูญเสียผลผลิตเท่ากับการขาดน้ำในรยะออกดอกหรือระยะสร้างเมล็ด เมื่อสังเกตในช่วงเช้าจะพบว่าใบข้าวโพดม้วนและเหี่ยว แสดงว่าข้าวโพดมีการขาดน้ำอย่างรุนแรงจะต้องให้น้ำทันที แต่ถ้าเมื่อดินมีความชื้นมากเกินไปหรือเกิดน้ำท่วมขังผลผลิตข้าวโพดจะลดลง หรือข้าวโพดอาจตายได้ทั้งนี้ เนื่องจากไม่มีการระบายอากาศในดินทำให้มีผลกระทบต่อการหายใจของรากและลดความเป็นประโยชน์ของธาตุอาหารในดิน ความต้องการน้ำของข้าวโพดจะสัมพันธ์กับอายุการเจริญเติบโตกล่าวคือ เมื่อข้าวโพดอยู่ในระยะ vegetative ข้าวโพดจะมีความต้องการน้ำน้อยกว่าในระยะออกดอกและระยะการสร้างเมล็ด ทั้งนี้ เนื่องจากในระยะเริ่มการเจริญเติบโตข้าวโพดมีพื้นที่ใบน้อยกว่า จากการศึกษาพบว่าเมื่อข้าวโพดมีใบ 12 ใบ รากของข้าวโพดจะมีความลึกประมาร 60 เซนติเมตร ในขณะที่ระยะออกดอกและระยะสร้างเมล็ด รากของข้าวโพดจะมีความลึกประมาณ 90 เซนติเมตร และ 120 เซนติเมตร ตามลำดับ

3.2 การให้ปุ๋ย

ก่อนตัดสินใจใช้ปุ๋ยเคมีสูตรใดควรทำการเก็บตัวอย่างดินส่งวิเคราะห์เพื่อทราบลักษณะของดินว่ามีปัญหาหรือไม่ มีธาตุอาหารมากน้อยเพียงใด เพื่อใส่ปุ๋ยให้เหมาะสมกับสภาพดินและพืชที่จะปลูกสำหรับคำแนะนำโดยทั่วไปจำแนกตามกลุ่มดินได้ดังนี้
ตารางการให้ปุ๋ยข้าวโพดเลี้ยงสัตว์
ลักษณะดิน
ปริมาณธาตุอาหารแนะนำ
N-P2 O5-K2 (กก./ไร่)
สูตรปุ๋ยที่แนะนำ
วิธีการใส่ปุ๋ย
ดินเหนียวสีดำ
ดินร่วนเหนียวสีน้ำตาล
10-10-0
20-20-0
ใส่ปุ๋ยสูตร 20-20-20 อัตรา 50 กก./ไร่ รองก้นหลุมพร้อมปลูก
ดินเหนียวสีแดง
ดินร่วนเหนียว
15-10-0
20-20-0
ใส่ปุ๋ยสูตร 20-20-0 อัตรา 50 กก./ไร่ รองก้นหลุมพร้อมปลูก และใส่ปุ๋ยยูเรียอัตรา 11 กก./ไร่ เมื่อข้าวโพดอายุได้ 30 วัน
ดินร่วนปนทราย
15-10-0
15-15-15
หรือ
(16-16-16)
ร่วมกับ
46-0-0
ใส่ปุ๋ยสูตร 15-15-15 หรือ 16-16-16 อัตรา 50 กก./ไร่ รองกันหลุมพร้อมปลูกและใส่ปุ๋ยยุเรียอัตรา 11 กก./ไร่ เมื่อข้าวโพดอายุได้ 30 วัน

4. การป้องกันกำจัดโรคและศัตรูพืชของข้าวโพดเลี้ยงสัตว์

ขั้นตอนที่ 4 การป้องกันกำจัดโรคและศัตรูพืชของข้าวโพดเลี้ยงสัตว์
การป้องกันกำจัดโรคและศัตรูพืชของข้าวโพดเลี้ยงสัตว์

4.1 โรคที่สำคัญ

4.1.1 โรคราน้ำค้างหรือใบลาย (Downy mildew)

สาเหตุ เชื้อรา Peronosclerospora sorghi (Weston & Uppal) C.G. Shaw
ลักษณะอาการ ระบาดรุนแรงระยะต้นอ่อน ถึงอายุประมาณ 1 เดือน ทำให้ยอดมีข้อถี่ต้น
แคระแกร็น ในเป็นทางสีขาว เขียวอ่อน หรือเหลืองอ่อนไปตามความยาวของใบ พบผงสปอร์สีขาวเป็นจำนวนมากบริเวณใบในเวลาเช้ามืดที่มีความชื้นสูง ถ้าระบาดรุนแรงต้นจะแห้งตาย แต่ถ้าต้นอยู่รอดจะไม่ออกฝักหรือติดฝัก แต่ไม่มีเมล็ด เชื้อราจะติดไปกับเมล็ด สปอร์ปลิวไปตามลมและน้ำ
ช่วงเวลาระบาด ระบาดรุนแรงในฤดูฝนที่มีอุณหภูมิต่ำและความชื้นสูง
การป้องกันกำจัด
- ไม่ใช้เมล็ดพันธุ์จากแหล่งที่มีโรคระบาด
- ในแหล่งที่มีการระบาดของโรครุนแรงเป็นประจำ ได้แก่ จังหวัดอุทัยธานี นครสวรรค์ พิจิตร พระนครศรีอยุธยา กาฐจนบุรี และนครปฐม หรือปลูกพันธุ์ข้าวโพดที่ไม่ต้านทานต่อโรคต้องคลุกเมล็ดและข้าวโพดเทียน ซึ่งอ่อนแอต่อโรคและเป็นแหล่งสะสมเชื้อโรค
- ในแหล่งที่มีโรคระบาดควรหลีกเลี่ยงการปลูกข้าวโพดหวาน ข้าวโพดข้าวเหนียวและ ข้าโพดเทียน ซึ่งอ่อนต่อโรคและเป็นแหล่งสะสมของเชื้อโรค
- ใช้เมล็ดพันธุ์ที่แห้งสนิทถ้าความชื้นเมล็ดสูงกว่า 10 เปอร์เซ็นต์ จะมีเชื้อราติดมากับเมล็ด
- ถอนต้นข้าวโพดที่แสดงอาการเป็นโรค เผานอกแปลงปลูก
- ทำลายวัชพืชอาศัยของโรคก่อนปลูก เช่น หญ้าพง และหญ้าแขม เป็นต้น

4.1.2 โรคราสนิม (Southern Rust)

สาเหตุ เชื้อรา Puccinia polysora Underw.
ลักษณะอาการ เกิดได้แทบทุกส่วนของต้นข้าวโพด ระยะแรกพบแผลจุดนูนสีน้ำตาลแดงขนาด 0.2-1.3 มิลลิเมตร ต่อมาแผลจะแตกเป็นผงสนิม ถ้าระบาดรุนแรงจะทำให้ใบแห้งตาย
ช่วงเวลาระบาด ระบาดรุนแรงปลายฤดูฝนจนถึงต้นฤดูหนาวที่มีความชื้นในอากาศสูงและอุณหภูมิค่อนข้างเย็น
การป้องกันกำจัด
- ในแหล่งที่มีโรคระบาดให้ปลูกพันธุ์ข้าวโพดที่ต้านทานได้ ได้แก่ นครสวรรค์ 2 สุวรรณ 3851 หรือ สุวรรณ 5
- หลีกเลี่ยงการปลูกข้าวโพดหวาน ข้าวโพดข้าวเหนียว ซึ่งอ่อนแอต่อโรค และเป็นแหล่งสะสมของเชื้อโรค

4.2 แมลงและสัตว์ศัตรูพืชที่สำคัญ

4.2.1 หนอนเจาะลำต้นข้าวโพด (Corn borer : Ostrinia furnacalls Guenee)

ลักษณะและการทำลาย ตัวเต็มวัยเป็นผีเสื้อกลางคืนสีทองแดง กางปีกกว้าง 3.0 เซนต์เมตร วางไข่เป็นกลุ่มซ้อนกันคล้ายเกล็ดปลา หนอนเริ่มเข้าทำลายตั้งแต่ข้าวโพดอายุประมาณ 20 วัน ถึงระยะเก็บเกี่ยวโดยเจาะเข้าทำลายส่วนยอดช่อดอกตัวผู้และลำต้น ทำให้ต้นชะงักการเจริญเติบโตหักล้มง่าย เมื่อมีการระบาดรุนแรงจะเข้าทำลายฝัก พบการทำลายในแห่ลงปลูกข้าวโพดทั่วไป
ช่วงเวลาระบาด ระบาดรุนแรงในสภาพอากาศแห้งแล้งหรือฝนทิ้งช่วงเป็นเวลานาน
การป้องกันกำจัด
- ถ้าพบการทำลายในช่วงก่อนข้าวโพดออกช่อดอกตัวผู้ หรืออายุ 50-60 วัน ใช้สารไซเพอร์เมทริน (15% อีซี) 10 มิลลิลิตร/น้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่น และให้หยุดการฉีดพ่นสารก่อนเก็บเกี่ยว 10 วัน

4.2.2 หนอนกระทู้หอม (Beet armyworm : Spodoptera exigua Hubner)

ลักษณะและการทำลาย ตัวเต็มวัยเป็นผีเสื้อกลางคืนสีน้ำตาลเข้มปนเทา กางปีกกว้าง 2.5 เซนติเมตร วางไข่เป็นกลุ่มสีขาวใต้ใบ มีขนสีครีมปกคลุม หนอนกัดกินทุกส่วน ในระยะต้นอ่อนจะทำความเสียหายรุนแรงเมื่อหนอนมีความยาวตั้งแต่ 2 เซนติเมตร
ช่วงเวลาระบาด ระบาดรุนแรงในสภาพอากาศแห้งแล้งหรือฝนทิ้งช่วงเป็นเวลานาน
การป้องกันกำจัด
- เก็บกลุ่มไข่และหนอนทำลาย
- แหล่งระบาดเป็นประจำหากจำเป็นควรพ่นด้วยซีวินทรีย์ นิวเคลียร์โพลีไฮโดรซิสไวรัส อัตรา 20-30 มิลลิลิตร/น้ำ 20ลิตร หรือสารเบตาไซปลูทริน (2.5 อีซี) อัตรา 40 มิลลิลิตร/น้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นในเวลาเย็นจำนวน 1-2 ครั้ง ห่างกันประมาณ 5-7 วัน และให้หยุดการฉีดพ่นสารก่อนเก็บเกี่ยว 1 วัน ในแหล่งที่พบแตนเบียนหนอนบราโคนิดไม่จำเป็นต้องพ่นสารดังกล่าว

4.2.3 มอดดิน (ground weevil : Calomycterus sp.)

ลักษณะและการทำลาย ตัวเต็มวัยเป็นด้วงวงสีเทาดำ ยาว 3.5 มิลลิเมตร กัดกินใบตั้งแต่ข้าวโพดเริ่มงอก ถึงอายุประมาณ 14 วัน ทำให้ต้นอ่อนตายหรือชะงักการเจริญเติบโต ต้นที่รอดตายจะเก็บเกี่ยวได้ล่าช้า ระบาดในพื้นที่ที่เป็นดินร่วนทรายในแถบจังหวัดลพบุรี สระบุรี นครราชสีมา อุทัยธานี นครสวรรค์ และจังหวัดกำแพงเพชร
ช่วงเวลาระบาด ระบาดรุนแรงในสภาพอากาศแห้งแล้ง หรือฝนทิ้งช่วงเป็นเวลานานโดยเฉพาะการปลูกในปลายฤดูฝนระหว่างเดือนสิงหาคม-กันยายน
การป้องกันกำจัด
- ปลูกข้าวโพดในแหล่งที่มีน้ำฝนเพียงพอ
- กำจัดวัชพืชที่เป็นพืชอาศัยของมอดดินรอบแปลงปลูก ได้แก่ ขี้กาลูกกลม ตีนตุ๊กแก เถาตอเชือก สะอีก หญ้าตีนติด และหญ้าขจรจบดอกเล็ก เป็นต้น
- ในแหล่งที่ระบาดเป็นประจำก่อนปลูกควรคลุกเมล็ดพันธุ์ด้วย อิมิดาโคลพริด (70% WS) อัตรา 5 กรัม/เมล็ด 1 กก.

4.2.4 หนู

ลักษณะและการทำลาย หนูเป็นสัตว์ศัตรูพืชที่สำคัญของข้าวโพด จะทำลายตั้งแต่เริ่มเป็นต้นอ่อนจนถึงเก็บเกี่ยว สกุลหนูพุกจะกัดโคนต้นให้ล้มแล้วกัดกินฝัก สกุลหนูท้องขาว ได้แก่ หนูบ้านท้องขาว หนูนาใหญ่ หนูนาเล็ก และสกุลหนูหริ่ง จะปีนกัดแทะฝักข้าวโพดบนต้น
ช่วงเวลาระบาด ระบาดรุนแรงในฤดูแล้งโดยเฉพาะพื้นที่ไม่มีพืชอาหารอื่นๆ
การป้องกันกำจัด
- กำจัดวัชพืชบริเวณแปลงปลูกและพื้นที่ใกล้เคียงเพื่อไม่ให้เป็นที่อาศัยของหนู
- ใช้กรงดักหรือกับดัก
- เมื่อสำรวจร่องรอยรูหนู ประชากรหนู และความเสียหายอย่างรุนแรงของข้าวโพดให้ใช้วิธีป้องกันกำจัดแบบผสมผสาน คือ ใช้กรงดักหรือกับดักร่วมกับการใช้เหยื่อพิษ ได้แก่ ซิงค์ฟอสไฟด์ (80% ชนิดผง) ซึ่งเป็นสารออกฤทธิ์เร็ว ผสมปลายข้าวและรำข้าว  หรือใช้โฟลคูมาเฟน (0.005%) โบรมาดิโอโลน (0.005%) ไดฟิทิอาโลน (0.0025%) ซึ่งเป็นเหยื่อพิษสำเร็จรูปออกฤทธิ์ช้า (ชนิดขี้ผึ้ง) เป็นต้น

5. วัชพืชที่สำคัญและการป้องกันกำจัดของข้าวโพดเลี้ยงสัตว์

ขั้นตอนที่ 5 การกำจัดวัชพืชที่สำคัญและการป้องกันกำจัดของข้าวโพดเลี้ยงสัตว์
วัชพืชที่สำคัญและการป้องกันกำจัดของข้าวโพดเลี้ยงสัตว์

5.1 ชนิดของวัชพืช

5.1.1 วัชพืชฤดูเดียว

วัชพืชฤดูเดียว เป็นวัชพืชที่ครบวงจรชีวิตภายในฤดูเดียวส่วนมากขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด
- ประเภทใบแคบ เช่น หญ้าตีนกา หญ้านกสีชมพู หญ้าตีนนก หญ้าปากควาย หญ้าขจรจบดอกใหญ่ หญ้าขจรจบดอกเล็ก หญ้าโขย่ง และ หญ้าดอกขาวเป็นต้น
- ประเภทใบกว้าง  เช่น ผักโขม ผักบุ้งยาง ผักเบี้ยหิน ผักเบี้ยใหญ่ สะอีก เทียนนา และ กะเม็ง เป็นต้น
- ประเภทกก เช่น กกทราย

5.1.2 วัชพืชข้ามปี

วัชพืชข้ามปี เป็นวัชพืชที่ขยายพันธุ์ด้วยต้น ราก เหง้า หัว และ ไหลได้ดีกว่าการขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด
- ประเภทใบแคบ เช่น หญ้าตีนติด หญ้าแพรก และ หญ้าชันกาด เป็นต้น
- ประเภทใบกว้าง เช่น สาบเสีย และ เถาตอเชือก เป็นต้น
- ประเภทกก เช่น แห้วหมู

5.2 การป้องกันกำจัดวัชพืช

- ไถ 1 ครั้ง ตากดิน 7-10 วัน พรวน 1 ครั้ง แล้วคราดเก็บเศษราก เหง้า หัว และ ไหลของวัชพืชข้ามปีออกจากแปลง
- กำจัดวัชพืชระหว่างปลูกด้วยแรงงานหรือเครื่องจักรกลเมื่อข้าวโพดอายุได้ 20-25 วันก่อนใส่ปุ๋ย
- ในกรณีที่กำจัดวัชพืชด้วยแรงงานหรือเครื่องจักรกลไม่มีประสิทธิภาพเพียงพอควรใช้สารกำจัดตามคำแนะนำ
ตารางการใช้สารกำจัดวัชพืชในไร่ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์
วัชพืช
สารกำจัดวัชพืช1/
อัตรากามใช้/น้ำ 20 ลิตร2/
วิธีการใช้/ข้อควรระวัง
วัชพืชฤดูเดียว
อะลาคลอร์ (48% อีซี)
เมโทลาคลอร์ 40% อีซี)
อะเซโทคลอร์ (50% อีซี)
พาราควทอ (27.6 เอสแอล)
125-150 มิลลิลิตร
150-200 มิลลิลิตร
80-120 มิลลิลิตร
75-100 มิลลิลิตร
พ่นคลุมดินหลังปลูกก่อนข้าวโพดและวัชพืชงอก ขณะพ่นดินต้มมีความชื้น
พ่นก่อนเตรียมดิน 3-7 วัน หรือพ่นระหว่างแถวหลังปลูก 20-25 วัน ขณะวัชพืชมีใบ 3-4 ใบ หรือก่อนวัชพืชออกดอก
ไกลโฟเสท (48% เอสแอล)
กลูโฟชิเนต-แอมโมเนีย (15% เอสแอล)
120-160 มิลลิลิตร
300-400 มิลลิลิตร
ใช้ในแหล่งวัชพืชหนาแน่น โดยพ่นก่อนปลูก หรือก่อนเตรียมดิน 7-15 วัน
1/ ในวงเล็บ คือ เปอร์เซ็นต์สารออกฤทธิ์และสูตรของสารกำจัดวัชพืช
2/ ใช้น้ำอัตรา 80 ลิตร/ไร่

6. การเก็บเกี่ยวข้าวโพดเลี้ยงสัตว์

ขั้นตอนที่ 6 การเก็บเกี่ยวข้าวโพดเลี้ยงสัตว์
การเก็บเกี่ยวข้าวโพดเลี้ยงสัตว์

6.1 ดัชนีการเก็บเกี่ยว

ให้เก็บเกี่ยวขณะที่ใบข้าวโพดแห้งทั้งดันหรืออายุประมาณ 110 - 120 วันหลังจากปลูก เมื่อแกะเมล็ดจะเห็นเนื้อเยื่อสีดำอยู่ที่โคนเมล็ด แสดงให้เห็นว่าข้าวโพดสุกแก่ทางสรีระ การสะสมน้ำหนักแห้งจะสิ้นสุดลงไม่ต้องการน้ำและอาหารอีกต่อไป เป็นระยะที่ข้าวโพดมีน้ำหนักแห้งสูงสุด การเก็บเกี่ยวข้าวโพดอายุ 115 วัน เมล็ดจะมีความขึ้นประมาณร้อยละ 25 จะทำให้เกิดการปนเปื้อนของสารอะฟลาทอกซินระหว่างการเก็บรักษาดำ แต่ถ้าเก็บเกี่ยวที่อายุ 125 วัน จะมีความชื้นประมาณร้อยละ 23 หรือต่ำกว่าและค่อนข้างปลอดภัยต่อการปนเปื้อนของสารอะฟลาทอกซิน และถ้าเก็บเกี่ยว ที่อายุมากกว่า 130 วัน จะมีความชื้นต่ำกว่าร้อยละ 20 ในกรณีปลูกต้นฤดูฝนและจำเป็นต้องเก็บเกี่ยว เร็ว ที่อายุ 90 - 100 วัน เพื่อต้องการปลูกพืชอื่นต่อ ข้าวโพดจะเปียกและมีความชื้นมากกว่าร้อยละ 30 ให้สีหลังเก็บเกี่ยวทันทีแล้วส่งไซโลปลายทางและอบเมล็ดภายใน 48 ชั่วโมง เพื่อให้ปลอดภัยจาก สารอะฟลาทอกซิน

6.2 อุปกรณ์และวิธีการเก็บเกี่ยว

6.2.1 เก็บเกี่ยวโดยใช้แรงงานคน

1. วิธีการเก็บใช้ไม้ปลายแหลมแทงเปลือกบริเวณปลายฝัก ต้องระวังอย่าให้โดนเมล็ด เมื่อปอกเปลือกแล้วใส่ในตะกร้า หรือกระสอบป่าน หรือวางกองไว้บนผ้าพลาสติก หรือใช้ขากต้น ข้าวโพดรองพื้น
2. เก็บเกี่ยวโดยหักข้าวโพดทั้งเปลือกแล้วปอกเปลือกภายหลัง หรือเก็บไว้ทั้งเปลือก การเก็บเกี่ยววิธีนี้ทำได้เร็วช่วยป้องกันไม่ให้เมล็ดเกิดแผล หรือเมล็ดร้าวในระหว่างทำการเก็บเกี่ยว หรือขนย้ายนอกจากนี้เปลือกยังช่วยป้องกันไม่ให้เชื้อราและแมลงสัมผัสเมล็ดโดยตรง การเก็บเกี่ยวโดย ใช้แรงงานคนไม่ควรวางฝักข้าวโพดบนพื้นขึ้นแฉะ และอย่าโยนฝักข้าวโพดเพราะทำให้เกิดบาดแผล บนผิวของเมล็ดหรือเมล็ดร้าวทำให้เชื้อราเข้าทำลายเมล็ดได้ง่าย ขณะเก็บเกี่ยวให้แยกฝักเน่าหรือมี เชื้อราออกจากฝักดี เผาทำลายผักเน่าและฝึกที่มีเชื้อรา

6.2.2 เก็บเกี่ยวโดยใช้เครื่องมือ

เก็บเกี่ยวโดยใช้เครื่องมือ ได้แก่ เครื่องปลิดฝักข้าวโพด (corn snapper) เครื่องปลิดและ รูดเปลือกหุ้มฝักข้าวโพด (corn picker-husker) และเครื่องเกี่ยวนวดข้าวโพด (corn picker-sheller หรือ corn combine harvester) เครื่องชนิดนี้จะปลิดฝักข้าวโพดจากต้นแล้วสีออกมาเป็นเมล็ด การใช้เครื่องเก็บเกี่ยวมีข้อดีในกรณีขาดแคลนแรงงานและค่าจ้างเก็บเกี่ยวสูง สามารถเก็บเกี่ยวได้เร็ว และทำให้ทันต่อการปลูกข้าวโพดรุ่น 2 ในช่วงปลายฤดูฝน แต่มีข้อเสียตรงที่ต้องเก็บเกี่ยวในพื้นที่ราบ และสม่ำเสมอ ต้นข้าวโพดหักล้มน้อย มีอัตราการสูญเสีย เนื่องจากฝักเก็บเกี่ยวไม่หมด มีการแตกหัก ของฝักและเมล็ดทำให้เชื้อราเข้าทำลายได้ง่าย นอกจากนี้การเก็บเกี่ยวข้าวโพดที่ปลูกในต้นฤดูฝน อาจจะทำให้รถเข้าไปเก็บเกี่ยวได้ลำบากเพราะดินเปียก โดยเฉพาะรถเก็บเกี่ยวที่มีขนาดใหญ่ อีกทั้ง รถเก็บเกี่ยวมีราคาค่อนข้างแพงและไม่คุ้มค่าที่เกษตรกรรายเล็กจะซื้อไว้ประจำฟาร์ม จึงมีการจ้างเหมา รถเก็บเกี่ยวโดยคิดราคาต่อกิโลกรัม หรือจ้างเหมาเป็นไร่ในบางจังหวัด

6.2.3 ข้อควรระวังในการเก็บเกี่ยว

1. ห้ามเก็บเกี่ยวในขณะที่ฝนตก
2. ในขณะเก็บเกี่ยวถ้ามีฝนตกให้ใช้ผ้าพลาสติกหรือผ้าใบคลุมกองข้าวโพดและคลุมข้าวโพดที อยู่บนรถบรรทุกที่ขนส่งระหว่างแปลงปลูกไปยังลานตาก กุ้ง หรือจุดนัดหมายเพื่อสีข้าวโพด

7. การปฏิบัติหลังการเก็บเกี่ยวข้าวโพดเลี้ยงสัตว์

ขั้นตอนที่ 7 การปฏิบัติหลังการเก็บเกี่ยวข้าวโพดเลี้ยงสัตว์
การปฏิบัติหลังการเก็บเกี่ยวข้าวโพดเลี้ยงสัตว์

7.1 การขนย้าย

7.1.1 บรรจุเมล็ดข้าวโพดในกระสอบป่านที่สะอาด เย็บปากถุงด้วยเชือกฟาง
7.1.2 รถบรรทุกต้องสะอาดและเหมาะสมกับปริมาณข้าวโพด ไม่ควรเป็นรถที่ใช้บรรทุก ดิน สัตว์ มูลสัตว์ ปุ๋ยเคมี หรือสารป้องกันกำจัดศัตรูพืช เพราะอาจจะมีการปนเปื้อนของเชื้อโรค และสารเคมี ยกเว้นจะมีการทำความสะอาดอย่างเหมาะสมก่อนนำมาบรรทุกข้าวโพด
7.1.3 กรณีขนส่งเมล็ดข้าวโพดในฤดูฝนต้องมีผ้าใบคลุมเพื่อป้องกันไม่ให้เมล็ดข้าวโพดดูด ความชื้นจากภายนอก ซึ่งจะทำให้เกิดเชื้อราและมีการปนเปื้อนสารพิษอะฟลาทอกซินได้ง่าย

7.2 การคัดคุณภาพ

7.2.1 ระดับเกษตรกร ให้ตากฝักข้าวโพดบนลานซีเมนต์ที่แห้งและสะอาด มีแสงแดดจัด 2 - 3 วัน เพื่อให้ฝึก ข้าวโพดมีความชื้นในเมล็ดต่ำกว่า 23 เปอร์เซ็นต์ จะปลอดภัยจากสารอะฟลาทอกซิน หรือพบใน ปริมาณน้อยกว่า 50 ส่วนในพันล้านส่วน (ระดับที่พระราชบัญญัติควบคุมอาหารสัตว์ พ.ศ. 2525 กำหนดให้เมล็ดข้าวโพดที่ใช้เป็นวัตถุดิบในอุตสาหกรรมอาหารสัตว์มีปริมาณสารอะฟลาทอกซินได้ ไม่เกิน 100 ส่วนในพันล้านส่วน) แล้วเก็บฝักข้าวโพดไว้ในยุ้งฉางที่มีหลังคา และถ่ายเทอากาศได้ดี
7.2.2 ระดับพ่อค้าท้องถิ่น ควรกะเทาะฝักข้าวโพดที่มีความชื้นในเมล็ดต่ำกว่า 26 เปอร์เซ็นต์ ด้วยเครื่องกะเทาะ ที่มีความเร็วรอบ 8 -12 รอบต่อวินาที หลังจากกะเทาะแล้วต้องลดความชื้นเมล็ดข้าวโพดให้เหลือ ประมาณ 15 เปอร์เซ็นต์ โดยตากบนลานซีเมนต์ที่แห้งและสะอาด มีแสงแดดจัด 1 2 วัน และ ทำการกลับเมล็ดทุกครึ่งชั่วโมง หากไม่สามารถลดความชื้นให้เมล็ดอยู่ในระดับ 15 เปอร์เซ็นต์ เนื่องจาก ฝนตกและเมล็ดข้าวโพดมีความชื้นอยู่ระหว่าง 18 - 30 เปอร์เซ็นต์ จะสามารถชะลอการเน่าเสีย และ การปนเปื้อนของสารอะฟลาทอกซินได้ประมาณ 10 วัน ต้องปฏิบัติดังนี้
1. นำเมล็ดข้าวโพดมากองไว้ในที่ร่มและใช้ผ้าพลาสติกใสหนา 0.1 มิลลิเมตร คลุมกองและทับชายพลาสติกรอบกองด้วยถุงทราย หรือม้วนกระสอบป่านแล้วรมด้วยก๊าชคาร์บอน ไดออกไซด์อัตรา 0.5 กิโลกรัมต่อเมล็ดข้าวโพด 1,000 กิโลกรัม หรือใช้เครื่องดูดฝุ่นหรือเครื่องดูดอากาศ ดูดอากาศจากภายในกองออก แล้วรมด้วยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ อัตรา 0.3 กิโลกรัมต่อเมล็ดข้าวโพด 1,000 กิโลกรัม
2. หลังจากนั้นต้องนำเมล็ดข้าวโพดไปลดความชื้นให้เหลือ 15 เปอร์เซ็นต์ ภายใน
1-2 วัน

7.3 การเก็บรักษา

การเก็บรักษาข้าวโพดหลังการเก็บเกี่ยวมีวัตถุประสงค์สำคัญ คือ เก็บรักษาเพื่อการลดความชื้น หรือเก็บรักษาเพื่อรอราคาให้สูงขึ้นทำได้ 2 วิธี คือ
1. การเก็บรักษาข้าวโพดในรูปของฝักเป็นการเก็บรักษาข้าวโพดในยุ้งฉาง (corn clib) ที่เป็น โรงเรือนโปร่ง พื้นยกสูงให้อากาศถ่ายเทได้และมีหลังคาป้องกันฝนตกนอกฤดู บางครั้งการเก็บรักษา ข้าวโพดในรูปของฝักอาจทำได้โดยการแขวนข้าวโพดทั้งฝึกไว้ตามอาคารบ้านเรือนหรือริมรั้วให้ข้าวโพด ได้รับความร้อนจากแสงอาทิตย์และลม
2. การเก็บรักษาในรูปของเมล็ดเป็นการเก็บรักษาข้าวโพดที่แห้งและกะเทาะเสร็จแล้ว ส่วนใหญ่ การเก็บรักษาเมล็ดข้าวโพดจะเก็บไว้ในกระสอบป่านที่มีอากาศถ่ายเทได้ และกระสอบบรรจุข้าวโพดมัก จะเก็บไว้ในโรงเรือนหรืออาคาร (ware house) ที่ปราศจากหนูซึ่งเป็นศัตรูสำคัญของโรงเก็บเมล็ด ให้ เก็บรักษาข้าวโพดในรูปของเมล็ดในกระสอบและมีวัตถุประสงค์เพื่อนำเมล็ดไปใช้เลี้ยงสัตว์ ควรมีการ ป้องกันแมลงทำลายเมล็ดข้าวโพดด้วยการรมควัน ด้วยสารเคมีบางชนิดที่ไม่เป็นพิษกับสัตว์ เช่น phostoxin โดยใช้ผ้าใบหรือวัสดุคลุมกระสอบข้าวโพดให้มิดชิดหลังจากการวางสาร phostoxin ไว้ตามจุดต่างๆ ของกองกระสอบข้าวโพด
สำหรับการเก็บรักษาเมล็ดข้าวโพดเพื่อใช้ทำพันธุ์ควรจะต้องมีการรักษาความมีชีวิตของ เมล็ดพันธุ์ ด้วยการเก็บไว้ในภาชนะที่ปราศจากออกซิเจนเพื่อยับยั้งการหายใจของเมล็ด หรือเก็บไว้ใน สภาพที่มีอุณหภูมิและความชื้นที่เหมาะสม นอกจากนี้การคลุกเมล็ดด้วยสารเคมี เช่น เชฟวินหรือ มาลาไธออน ป้องกันแมลงและแคปแทนป้องกันเชื้อรา จะทำให้การเก็บรักษาเมล็ดเพื่อใช้ทำพันธุ์มีอายุ ยืนยาวมากขึ้น

8. มาตรฐานของข้าวโพดเลี้ยงสัตว์

ขั้นตอนที่ 8 มาตรฐานของข้าวโพดเลี้ยงสัตว์
มาตรฐานของข้าวโพดเลี้ยงสัตว์
มาตรฐานของสินค้าข้าวโพด
กระทรวงพาณิชย์กำหนดให้ข้าวโพดเป็นสินค้ามาตรฐานและมาตรฐานสินค้าข้าวโพด ตามประกาศกระทรวงพาณิชย์ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2544 ลงวันที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2544 ระบุดังนี้
ข้อ 1 คำนิยาม
(1) “ข้าวโพด” หมายความว่า เมล็ดของข้าวโพดที่กะเทาะออกจากฝักแล้ว
(2) “เมล็ดดี” หมายความว่า เมล็ดที่ไม่ลีบ ไม่เสีย ไม่ถูกแมลงทำลาย ไม่แตกและไม่ใช่เมล็ด
(3) “เมล็ดสีอื่น” หมายความว่า เมล็ดที่มีสีไม่ตรงตามที่ตกลงกัน
(4) “เมล็ดสืบ” หมายความว่า เมล็ดที่มีลักษณะสืบผิดปกติ
(5) “เมล็ดเสียบางส่วน" หมายความว่า เมล็ดเน่าขึ้นรา หรือไม่มีแป้งแต่บางส่วน
(6) “เมล็ดเสียมาก” หมายความว่า เมล็ดเน่าขึ้นรา หรือไม่มีแป้งทั้งเมล็ดหรืองอก
(7) “เมล็ดที่ถูกแมลงทำลาย” หมายความว่า เมล็ดที่ถูกแมลงกัดหรือเจาะ
(8) "เมล็ดแตก” หมายความว่า เมล็ดที่แตกเป็นชิ้นเหลืออยู่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของเมล็ดเต็มที่มีลักษณะสมบูรณ์ตามพันธุ์และไม่ใช่เมล็ดลีบ เมล็ดเสีย หรือเมล็ดที่ถูกแมลงทำลาย
สีอื่น
(9) “วัตถุอื่น” หมายความว่า วัตถุที่ไม่ใช่ข้าวโพด
ข้อ 2 ให้แบ่งมาตรฐานสินค้าข้าวโพดออกเป็น 2 ชั้น ดังนี้
(1) ข้าวโพดชั้นหนึ่ง
(2) ข้าวโพดชั้นสอง
ข้อ 3 ให้กำหนดมาตรฐานสินค้าของข้าวโพดแต่ละชั้นไว้ดังต่อไปนี้
ก. ข้าวโพดชั้นหนึ่งต้องเป็นเมล็ดดีหากจะมี
(1) เมล็ดสีอื่นต้องไม่เกินร้อยละ 1.0 โดยน้ำหนัก
(2) เมล็ดเสียบางส่วนและเมล็ดเสียมากรวมกันต้องไม่เกิน ร้อยละ 4.0 โดยน้ำหนัก แต่เมล็ด
เสียมากต้องไม่เกินร้อยละ 1.5 โดยน้ำหนัก
(3) เมล็ดที่ถูกแมลงทำลายต้องไม่เกินร้อยละ 2.0 โดยน้ำหนัก
(4) เมล็ดแตกและเมล็ดลีบรวมกันต้องไม่เกินร้อยละ 2.0 โดยน้ำหนัก
(5) วัตถุอื่นต้องไม่เกินร้อยละ 1.5 โดย น้ำหนัก และต้องไม่มีเมล็ดพืชน้ำมันหรือวัตถุมีพิษ
(6) ความชื้นโดยเฉลี่ยต้องไม่เกินร้อยละ 14.5 โดยน้ำหนัก แต่ต้องไม่มีส่วนใดส่วนหนึ่งมีความ
ขึ้นเกินร้อยละ 15.0 โดยน้ำหนัก
ข. ข้าวโพดขั้นสองต้องเป็นเมล็ดดีหากจะมี
(1) เมล็ดสีอื่นต้องไม่เกินร้อยละ 3.0 โดยน้ำหนัก
(2) เมล็ดเสียบางส่วนและเมล็ดเสียมากรวมกันต้องไม่เกินร้อยละ 6.0 โดยน้ำหนัก แต่เมล็ด มากต้องไม่เกินร้อยละ 2.0 โดยน้ำหนัก เสีย
(3) เมล็ดที่ถูกแมลงทำลาย ต้องไม่เกิน ร้อยละ 3.0 โดยน้ำหนัก
(4) เมล็ดแตกและเมล็ดลีบรวมกันต้อง ไม่เกินร้อยละ 3.0 โดยน้ำหนัก
(5) วัตถุอื่นต้องไม่เกินร้อยละ 2.0 โดยน้ำหนัก และต้องไม่มีเมล็ดพืชน้ำมันหรือวัตถุมีพิษ
(6) ความชื้นต้องไม่เกินร้อยละ 15.5 โดยน้ำหนัก
ข้อ 4 ในกรณีที่มีข้อโต้แย้งหรือปัญหาข้อพิพาทใดๆ เกี่ยวกับข้อ 3 ให้ถือตัวอย่างที่สำนักงานมาตรฐานสินค้าจัดทำขึ้นครั้งหลังสุดเป็นมาตรฐาน
ข้อ 5 ในกรณีที่มีการซื้อขายข้าวโพดตามตัวอย่าง หรือเงื่อนไขที่คู่กรณีตกลงกันไว้ ต้องได้รับ ความเห็นชอบจากสำนักงานมาตรฐานสินค้า เงื่อนไขที่คู่กรณีตกลงกันไว้ และข้าวโพดนั้นต้องมีมาตรฐานไม่ต่ำกว่าตัวอย่างหรือ
ข้อ 6 ในกรณีที่ส่งข้าวโพดออกโดยบรรจุกระสอบป่าน กระสอบที่ใช้บรรจุต้องเป็นกระสอบใหม่ ที่มีลักษณะขนาดและน้ำหนักเช่นเดียวกับกระสอบบรรจุข้าวสารอยู่ในสภาพเรียบร้อยเหมาะสำหรับ การส่งออก ไม่ขาด ไม่รั่ว ไม่มีกลิ่นเหม็น และต้องเย็บปากกระสอบให้แน่นด้วยเชือกป่านเย็บกระสอบ สองเส้นคู่เย็บไปและกลับ ดังนี้
6.1 เที่ยวละไม่น้อยกว่า 8 เข็ม สำหรับกระสอบที่มีความกว้างไม่เกิน 60 เซนติเมตร
6.2 เที่ยวละไม่น้อยกว่า 11 เข็ม สำหรับกระสอบที่มีความกว้างเกินกว่า 60 เซนติเมตร แต่ไม่เกิน 86 เซนติเมตร
ในกรณีที่ใช้กระสอบหรือวัตถุที่ใช้บรรจุหุ้มท่อตลอดจนการเย็บปิดผนึกไว้เป็นอย่างอื่น ให้ผู้ทำ การค้าขาออกแจ้งรายละเอียดไว้ในดำร้องขอให้ออกใบรับรองมาตรฐานสินค้า
ในกรณีที่ส่งข้าวโพดออกโดยไม่บรรจุกระสอบแต่มีความจำเป็นต้องใช้กระสอบบรรจุข้าวโพด
บรรทุกไปกับเรือใหญ่บางส่วน เพื่อป้องกันการเคลื่อนไหวของข้าวโพดในระวางเรือที่บรรทุกออกไป กระสอบที่ใช้บรรจุข้าวโพดนั้นจะเป็นกระสอบที่ใช้แล้วก็ได้แต่ต้องแข็งแรงทนทานอยู่ในสภาพเรียบร้อย ไม่ขาด ไม่รั่ว ไม่มีกลิ่นเหม็น และต้องเย็บปากกระสอบให้แน่น เพื่อป้องกันมิให้ข้าวโพดในกระสอบไหล หรือทะลักออกมาได้ระหว่างการขนถ่าย
- ความเดิมถูกยกเลิกโดยประกาศกระทรวงพาณิชย์ เรื่องกำหนดให้ข้าวโพดเป็นสินค้ามาตรฐาน และมาตรฐานสินค้าข้าวโพด (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2544 ประกาศในราชกิจจานุเบกษา ฉบับประกาศทั่วไป เล่ม 118 ตอนที่ 78 ง วันที่ 27 กันยายน 2544 และให้ใช้ความใหม่แทนดังที่พิมพ์ไว้นี้
    หน้า   1   2  
CONTACT
169/47 ถ.พุทธมณฑลสาย 4 ต.กระทุ่มล้ม  อ.สามพราน จ.นครปฐม 73220
086-070-0007
ananindustry@gmail.com
https://www.ananindustry.com
WORKING DAYS/HOURS
วันจันทร์ - วันเสาร์
8.00 - 17.00 น.
Copyright © 2008 Anan Industry Company Limited. All Rights Reserved