วิธีการสกัด สารสกัดจากธรรมชาติ สารสกัดจากพืช สารสกัดจากสมุนไพร ทำอย่างไร ?
การสกัดสารสกัดจากธรรมชาติจากสมุนไพร พืช ผลไม้

วิธีการสกัดสารสกัดจากธรรมชาติ (พืช) ทำอย่างไร?

ณ ปัจจุบันสารสกัดจากธรรมชาติหรือสารสกัดจากสมุนไพร สารสกัดจากพืช ได้ถูกน้ำมาประยุกต์และวิจัยใช้เข้ากับผลิตภัณฑ์ต่างๆอย่างมากมาย เช่น ผลิตภัณฑ์อาหาร อาหารเสริม เครื่องดื่ม เครื่องสำอาง ยารักษาโรค เป็นต้น เนื่องจากผู้บริโภคให้ความสำคัญใส่ใจกับสุขภาพและความปลอดภัยมากขึ้นเรื่อยๆ จึงส่งผลให้ผลิตภัณฑ์ต่างๆ ที่มีการผสมสารสกัดจากสมุนไพร (พืช) ต่างๆได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก พืชสมุนไพรเป็นแหล่งของสารออกฤทธิ์ที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพและความงามมากมาย สารสกัดที่ดีและมีประสิทธิภาพมักจะเป็นสารที่ออกฤทธิ์ที่เข้มข้น ซึ่งสารสกัดสมุนไพรที่ดีนั้นย่อมขึ้นอยู่กับวัตถุดิบที่นำมาใช้สำหรับการสกัด จะทำให้เมื่อสกัดออกมาแล้ว จะมีสารออกฤทธิ์ (Active compounds) ในปริมาณที่สูง โดยวิธีการสกัดสมุนไพรให้เข้มข้นและเป็นที่นิยมมีอยู่หลายวิธีด้วยกัน และมีงานวิจัยการสกัดพืชสมุนไพรรองรับแล้วอีกมากมาย เรามาดูกันว่าการสกัดสารสกัดมีกี่วิธีอะไรบ้าง

การสกัดโดยใช้ตัวทำละลายสกัด (Solvent extraction)

การสกัดโดยวิธีนี้ คือ การสกัดสารออกฤทธิ์ออกจากเนื้อเยื่อพืชสมุนไพร โดยใช้ตัวทำละลายสัมผัสกับเนื้อเยื่อของพืชสมุนไพร และทิ้งไว้ตามระยะที่เหมาะสมจนกว่าจะได้สารสกัดพืชสมุนไพรออกมา การสกัดด้วยตัวละลายสามารถทำได้หลายวิธีเช่นกัน ยกตัวอย่างเช่น วิธีมาเซอเรชัน (Maceration) เช่น การหมักพืชสมุนไพร การเขย่า หรือ การคน กับตัวทำละลาย จนกระทั่งเนื้อสมุนไพรอ่อนนุ่ม และสารทำละลายแทรกเข้าไปในเนื้อเยื่อพืชสมุนไพร จนได้ผงสมุนไพรออกมา วิธีสกัดแบบนี้ เหมาะที่จะใช้กับพืชสมุนไพรที่ไม่แข็งมาก วิธีการสกัดโดยใช้ตัวทำลายสกัดเป็นวิธีที่ใช้มาอย่างยาวนาน ในการเลือกตัวทำลายนั้นควรจะเลือกจากสิ่งที่หาได้ง่ายและราคาไม่แพงมาก ตัวทำลายที่นิยมใช้คือ น้ำ ซึ่งใช้มาแต่โบราณ คนโบราณใช้วิธีการสกัดตัวยาสำคัญจากสมุนไพรต่างๆ โดยใช้การต้มสมุนไพรกับน้ำ ที่เรียกว่ายาหม้อ ซึ่งสารสกัดก็คือน้ำที่เคี่ยวให้งวด ตัวทำลายอีกตัวที่นิยมใช้คือแอลกอฮอล์ ที่รู้จักกันดีคือเหล้าซึ่งมีแอลกอฮอล์ผสมอยู่ ก็คือวิธีการทำยาดองเหล้า สารสกัดสำคัญก็จะละลายออกมากับแอลกอฮอล์ที่มีอยู่ในเหล้านั่นเอง แอลกอฮอล์ที่กล่าวถึงมีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า เอทิลแอลกอฮอล์ (Ethyl alcohol)
การสกัดสารสกัดจากธรรมชาติจากสมุนไพรโดยใช้ตัวทำละลายสกัด
การสกัดโดยใช้ตัวทำละลายสกัด (Solvent extraction)

การสกัดด้วยวิธีเพอร์โคเลชัน (Percolation)

การสกัดโดยวิธีนี้ เป็นการสกัดโดยปล่อยให้ตัวทำละลายไหลผ่านตัวสมุนไพรอย่างช้าๆต่อเนื่อง เพื่อละลายเอาสารออกฤทธิ์จากสมุนไพรให้ออกมา การสกัดแบบนี้ จะใช้เครื่องมือช่วยสกัดที่ชื่อว่าเครื่องเพอร์โคเลเตอร์ (Percolator) เหมาะกับการสักสมุนไพรหลากหลายรูปแบบ การสกัดวิธีนี้ต้องสกัดหลาย ครั้งเพื่อให้ได้สารสำคัญมากที่สุด วิธีคือ บดสมุนไพรให้ละเอียดทำการหมักให้พองตัวประมาณ 1ชั่วโมง หลังจากนั้นบรรจุผงสมุนไพรในเพอร์โคเลเตอร์ทีละน้อยให้เป็นชั้นๆใส่ตัวละลายลงไปให้ท่วมสมุนไพรทิ้งไว้ 1-2 วัน ต่อจากนั้นจึงไขท่อข้างล่างเพื่อให้สารสกัดออกมาแล้วเติมตัวทำละลายลงไปเรื่อยๆ จนการสกัดสารสกัดสมบูรณ์และบีบสารละลายออกจากกากจึงนำไปกรอง วิธีนี้เป็นวิธีการสกัดที่สมบูรณ์ เนื่องจากไม่ต้องใช้ความร้อนเพราะความร้อนอาจทำให้สารสกัดที่สกัดมีประสิทธิภาพด้อยลง แต่ข้อเสีย คือ สิ้นเปลืองน้ำยาสกัดและใช้เวลาที่สกัดนาน
การสกัดสารสกัดจากธรรมชาติจากสมุนไพรด้วยวิธีเพอร์โคเลชัน
การสกัดด้วยวิธีเพอร์โคเลชัน (Percolation)

การสกัดสมุนไพรต่อเนื่อง (Continuous extraction)

การสกัดโดยวิธีนี้ คือ การสกัดสมุนไพรหรือการสกัดสารสกัดจากพืชที่คล้ายกับวิธีเพอร์โคเลชัน แต่การสกัดแบบต่อเนื่องจำเป็นที่จะต้องใช้ความร้อนที่มีจุดเดือดต่ำเข้าช่วย ทำในเครื่องซอคเลต (Soxhlet extractor) ทำให้เกิดตัวทำละลายที่มีความร้อน ตัวทำละลายจะระเหยแล้ว กลั่นตัวผ่านสมุนไพรซ้ำไปมา จนได้สารสกัดสมุนไพรบริสุทธิ์  วิธีสกัดสมุนไพรแบบต่อเนื่อง (Continuous extraction)มักใช้ในกรณีที่ต้องการแยกน้ำมันออกจากสารสกัดบริสุทธิ์ วิธีสกัดนี้เหมาะสำหรับสกัดองค์ประกอบที่ทนความร้อนและประหยัดตัวทำลาย ข้อควรระวังในการสกัดวิธีนี้คือ ความร้อนที่ใช้ในการสกัดอาจทำให้สารเคมีบางชนิดในพืชสลายตัว
การสกัดสารสกัดจากธรรมชาติจากสมุนไพรแบบต่อเนื่อง
การสกัดสมุนไพรต่อเนื่อง (Continuous extraction)

การสกัดสมุนไพร (พืช) ด้วยของไหลวิกฤติยิ่งยวด (Supercritical fluid extraction)

การสกัดสารด้วยของไหลวิกฤติยิ่งยวด เป็นเทคนิคการใช้ของไหลวิกฤติยิ่งยวด ซึ่งเป็นเทคนิคที่มีบทบาทต่อการสกัดผลิตภัณฑ์สารสกัดจากธรรมชาติ เช่น การสกัดสี กลิ่น และน้ำมันหอมละเหย เนื่องจากวิธีการนี้เป็นวิธีการที่สกัดได้ดีกว่าตัวทำลายของเหลวทั่วไป จึงเหมาะสำหรับการสกัดสารที่ไม่ทนความร้อน (Thermolabile compounds) เป็นองค์ประกอบสำคัญ โดยอาศัยแก๊สคาร์ยอนไดออกไซน์บริสุทธิ์ช่วย ซึ่งอาจมีตัวทำละลายร่วม (Co-Solvent) เพื่อให้สารสกัดดียิ่งขึ้น ของไหลวิกฤติยิ่งยวด ซึงหมายถึง ภาวะที่ไม่สามารถจำแนกได้ว่าสสารเป็นแก๊สหรือของเหลวซึ่งสามารถอธิบายได้จากแผนภาพสถานะอุณหภูมิและความดัน (Pressure-temperature phase diagram) ของสารบริสุทธิ์ใดๆ
การสกัดสมุนไพรด้วยของไหลวิกฤติยิ่งยวดภาวะที่ไม่สามารถจำแนกได้ว่าสสารเป็นแก๊สหรือของเหลว
การสกัดสมุนไพรด้วยของไหลวิกฤติยิ่งยวด (Supercritical fluid extraction)

การสกัดด้วยการกลั่น (Distillation extraction)

ส่วนมากการสกัดวิธีนี้มักใช้ในการสกัดน้ำมันหอมระเหย โดยปกติการกลั่นจะต้องใช้น้ำร้อนหรือไอน้ำเข้าไปแยกน้ำมันหอมระเหยออกมาจากพืช โดยการแทรกซึมเข้าไปในเนื้อเยื่อของพืช ความร้อนจะค่อยๆทำให้สารละลายออกมากลายเป็นไอ ปนมากับน้ำร้อนหรือไอน้ำ ข้อเสียของการสกัดวิธีนี้คือ ค่อนข้างจะยุ่งยากกว่าวิธีการสกัดด้วยตัวทำลาย เพราะต้องมีเครื่องมือเฉพาะ

การกลั่นด้วยน้ำและไอน้ำ (Water and Steam Distillation) จะใช้ตะแกรงรองของที่จะกลั่นให้เหนือระดับน้ำในหม้อกลั่น ต้มให้เดือด ไอน้ำจะลอยตัวขึ้นไปผ่านพืชหรือตัวอย่างที่จะกลั่น ส่วนน้ำจะไม่ถูกกับตัวอย่างเลย ไอน้ำจากน้ำเดือดเป็นไอน้ำที่อิ่มตัว เป็นไอน้ำที่ไม่ร้อนจัด ซึ่งการกลั่นวิธีนี้ ต้องมี หม้อกลั่น (Still) เครื่องควบแน่น (Condenser) และภาชนะรองรับ (Receiver) เป็นต้น

ตัวอย่างเช่นกาสกัดน้ำมันหอมระเหยอาศัยหลักการที่ใช้ไอน้ำจาการต้มน้ำ พ่นลงบนดอกไม้หรือหรือสมุนไพรที่ต้องการจะสกัด แล้วก็ทำการ ควบแน่นให้ไอน้ำกลั่นเป็นหยดน้ำ น้ำมันหอมระเหยจะแยกออกจากน้ำโยลอยอยู่ข้างบน น้ำที่ได้จะมีกลิ่นตามกลิ่นของน้ำมันหอมละเหย
การสกัดสารสกัดจากธรรมชาติจากสมุนไพรด้วยการกลั่น
การสกัดด้วยการกลั่น (Distillation extraction)

ตัวอย่างการสกัดสารสกัดจากธรรมชาติจากสมุนไพร (พืช)

ในบทความนี้จะยกตัวอย่างวิธีการสกัดสารจากสมุนไพร (พืช) เพื่อนำมาใช้ในสบู่ก้อน หรือ สบู่เหลว ก่อนอื่นต้องมาดูขั้นตอนของการเตรียมสบู่ก้อนที่ทำมาจากน้ำมัน ไม่ว่าจะเป็นวิธีใช้ความร้อน (Hot Process) หรือ วิธีไม่ใช้ความร้อน (Cool process) ในขั้นตอนการทำสบู่ก้อนนั้นจะเห็นได้ว่าจะต้องมีการใช้น้ำในการละลายด่าง ดังนั้นจึงสามารถเลือกสารสกัดสมุนไพรด้วยการใช้ตัวทำละลายที่เป็นน้ำ โดยสามารถแยกออกเป็นสองวิธี

1. สมุนไพรสด

สมุนไพรสด สามารถนำเอาสมุนไพรในลักษณะของ ใบ ก้าน หัว ราก เง้า แล้วแต่ความเหมาะสมเพราะการที่เราจะนำสมุนไพรใดมาใช้ควรต้องศึกษาหาความรู้เกี่ยวกับสรรพคุณของสมุนไพรนั้นว่ามีประโยชน์ อย่างไร เช่นมีสรรพคุณ บำรุงผิว บำรุงผม เป็นต้น วิธีการหากใช้ใบก็นำใบมาปั่นกับเครื่องปั่นให้ละเอียด และกรองแยกออก ถ้าเป็นหัว ราก หรือ เง้า ก็นำมาหั่นเป็นแว่น แล้วมาต้มกับน้ำ จากนั้นก็กรองเอาแต่น้ำ ซึ่งสามารถนำเอาน้ำสกัดสมุนไพรมาแทนน้ำที่ใช้ในการละลายด่างได้ แต่ก็มีข้อควรระวังเพราะด่างเมื่อนำมาละลายน้ำจะเกิดความร้อนและอาจจะสามารถทำลายสารสำคัญในสมุนไพรได้ เพื่อเป็นการลดความเสียหายนี้ ควรนำน้ำสกัดสมุนไพรไปแช่แข็งในตู้เย็นให้เป็นน้ำแข็งก่อน ในกรณีของการทำสบู่เหลว หลังจากขั้นตอนการเตรียมหัวสบู่จะต้องละลายหัวสบู่ด้วยน้ำเช่นเดียวกันก็สามารถนำน้ำสมุนไพรมาละลายแทนได้

2. สมุนไพรแห้งหรือสมุนไพรผง

สมุนไพรแห้งหรือสมุนไพรผงก็สามารถทำได้โดยนำสมุนไพรไปต้มกับน้ำอาจจะใส่ในถุงผ้าและนำไปต้มกับน้ำ ก็จะได้สารสกัดจากสมุนไพรเช่นเดียวกันกับสมุนไพรสด
สำหรับในกรณีที่สกัดด้วยตัวทำลายด้วยแอลกอฮอล์นั้น จะเห็นได้ว่าการใช้แอลกอฮอล์ในขั้นตอนการเตรียมสบู่นั้นมีไม่มากนัก จะพบในการทำเบสสบู่กลีเซอรีน หรือสบู่หลอมเท กับวิธีการทำสบู่เหลวโดยวิธีแอลกอฮอล์เท่านั้น ในกรณีของการทำซึ่งเบสสบู่กลีเซอรีนมีขั้นตอนที่ใช้ตัวทำละละยในการละลายสบู่ โดยอาจจะใช้เอทิลแอลกอฮอล์ หรือใช้โฟไฟลีนไกรคอน เป็นตัวทำลาย ดังนั้นเราจึงสามารถใช้ตัวทำลายทั้งสองชนิดมาสกัดสมุนไพรได้ ทั้งในรูปของสมุนไพรสดหรือสมุนไพรแห้ง โดยการนำเอาสมุนไพรมาแช่ในลังพลาสติกใส่แอลกอฮอล์ทิ้งไว้สัก 7 วัน จากน้ำกองเอากากสมุนไพรออกไป โดยทั่วไปปริมาณสมุนไพรและแอลกอฮอล์ถ้าในกรณีของสดก็จะใส่แอลกอฮอล์ท่วมสมุนไพร ถ้าเป็นสมุนไพรผงก็ใช้สมุนไพรประมาณ 0.1 กิโลกรัม ต่อแอลกอฮอล์ 0.5 กิโลกรัม
เนื่องจากวัตถุดิบที่สำคัญในการทำสบู่ทุกประเภทคือน้ำมัน ดังนั้นเราสามารถจะใช้น้ำมันสกัดกลิ่นของสมุนไพรหรือดอกไม้ได้ วิธีการนี้เรียกว่า Oil infusion ทำโดยเอาดอกไม้หรือสมุนไพรแช่ในน้ำมันแล้วนำไปตากแดด ประมาณ 4-5วัน หรือนำไปทอดที่ไฟอ่อนๆ
สำหรับการสกัดน้ำมันหอมระเหยโดยใช้วิธีการกลั่นด้วยไอน้ำ (Distillation) สามารถจะดัดแปลงใช้เครื่องมือที่มีอยู่ภายในบ้านได้โดยใช้ลังถึง(ภาชนะมีฝาสำหรับใช้นึ่ง)อาหารที่ให้นึ่ง เพราะลังถึงนั้นอาศัยไอน้ำในการปรุงอาหาร จึงสามารถดัดแปลงมาใช้เป็นเครื่องมือในการสกัดน้ำมันหอมระเหย โดยการใส่น้ำลงไปในลังถึงพอประมาณ จากนั้นนำดอกไม้ หรือสมุนไพรวางไว้บนชั้นล่างสุดของลังถึง และว่างถ้วยขนาดพอเหมาะตรงกลาง ปิดฝาโดย คว่ำฝาลงให้ส่วนที่จับฝาลงอยู่ด้านในลังถึง เปิดไปต้มน้ำให้เดือด โดยนำน้ำแข็งวางบนฝาลังถึง เมื่อไอน้ำมาถูกความเย็นที่ฝา ก็จะกลายเป็นน้ำไหลลงมายังถ้วยที่วางไว้ ซึ่งจะมีน้ำมันลอยอยู่และน้ำกลิ่นดอกไม้ สามารถนำไปใช้ได้ แต่ส่วนใหญ่น้ำมันหอมละเหยจะมีน้อยมาก นอกจากสกัดด้วย ผิวมะกรูด เปลือกส้ม จะได้น้ำมันหอมระเหยค่อนข้างมาก
วิธีการสกัดสารจากสมุนไพรเพื่อนำมาใช้ในสบู่ก้อน หรือ สบู่เหลว
ตัวอย่างการสกัดสารสกัดจากธรรมชาติจากสมุนไพรใช้ในสบู่

บทความที่เกี่ยวข้องกับการสกัดสารสกัด

CONTACT
169/47 ถ.พุทธมณฑลสาย 4 ต.กระทุ่มล้ม  อ.สามพราน จ.นครปฐม 73220
086-070-0007
ananindustry@gmail.com
https://www.ananindustry.com
WORKING DAYS/HOURS
วันจันทร์ - วันเสาร์
8.00 - 17.00 น.
Copyright © 2008 Anan Industry Company Limited. All Rights Reserved