Helper Z ผลิตภัณฑ์อาหารเสริมกัมมี่ ช่วยให้นอนหลับง่ายหลับลึก
HELPER Z Natural Sleep Aid
Dietary Supplement Gummies

อาหารเสริมวิตามินกัมมี่ช่วยในการนอนหลับ


Helper Z ผลิตภัณฑ์อาหารเสริมวิตามินกัมมี่ ช่วยในการนอนหลับ พัฒนาสูตรโดยทีมผู้เชี่ยวชาญอาหารเสริมจากประเทศเกาหลี
ขนาดบรรจุ:
30เม็ด, 60เม็ด
แพค:
1 กระปุก
รหัสสินค้า:
hg001
รายละเอียดอาหารเสริมกัมมี่ช่วยในการนอนหลับ (Natural Sleep Aid)
อาหารเสริมวิตามินกัมมี่ที่จะช่วยให้การนอนหลับเต็มอิ่มตลอดทั้งคืน ทำให้หลับลึก ร่างกายได้พักผ่อนอย่างเต็มที่ และรีบูสท์ตัวเอง ทำให้ตื่นเช่ามามีความสดชื่นแจ่มใสพร้อมสุขภาพทั้งกายและใจที่ดีเพราะได้นอนอย่างมีประสิทธิภาพและเต็มอิ่ม

สุขภาพที่ดีห่างไกลโรคภัยด้วยการนอนหลับให้มีประสิทธืภาพ

การนอนหลับ คือ การนอนหลับที่มีคุณภาพคือการหลับลึกและหลับสนิท สมองได้พักผ่อนอย่างเต็มที่

การนอนหลับ คือ

การนอนหลับเป็นภาวะที่บุคคลมีความรู้สติเปลี่ยนแปลงไป โดยมีการรับรู้และปฏิกิริยาตอบสนองต่อสิ่งแวดล้อมที่ลดลง การนอนหลับที่มีคุณภาพคือการหลับลึกและหลับสนิท สมองได้พักผ่อนอย่างเต็มที่ มีวงจรการนอนหลับที่ปกติมีช่วงเวลาของการหลับที่เหมาะสมกับอายุหรือวัย การนอนหลับในคนปกติจะมีความแตกต่างกันตามวัยและปัจจัยต่างๆ ปัญหาการนอนหลับที่พบได้บ่อยมากที่สุด คือ การพร่องการนอนหลับ นอนไม่พอ หรือ นอนไม่หลับ ซึ่งอาจทำให้ประสิทธิภาพการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันลดลง และอาจทำให้มีความแปรปรวนทางจิตใจและอารมณ์ ส่งผลต่อด้านสุขภาพต่างๆอยากมากมาย การแก้ปัญหาการนอนหลับมีหลายวิธี ได้แก่ การปรับปรุงเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อม การรับประทานอาหารที่เหมาะสม การออกกำลังกาย การบริหารเวลาในชีวิตประจำวัน การเปลี่ยนแปลงจิตใจหรือความคิดของตนเอง การลดความตึงเครียดก่อนนอน และอาจเสริมด้วยการรับประทานอาหารเสริมวิตามินต่างๆ เพื่อช่วยให้การนอนดีขึ้น

ความหมายวงจรของการนอนหลับ

การนอนหลับ (Sleep) หมายถึง ภาวะที่บุคคลมีความรู้สติที่เปลี่ยนแปลงไป โดยมีการรับรู้และมีปฏิกิริยาต่อสิ่งแวดล้อมลดลง ขณะหลับหลับถึงแม้ว่าบุคคลจะสูญเสียความรู้สุกตัวแต่ก็สามารถปลุกให้ตื่นได้ด้วยสิ่งเร้าที่เหมาะสม การนอนหลับถือเป็นกิจกรรมหนึ่งของการพักผ่อน (Rest) ซึ่งการพักผ่อน อธิบายได้คือ เป็นภาวะที่บุคคลลดกิจกรรมที่ต้องใช้กล้ามเนื้อและความคิด ทำให้บุคคลนั้นเกิดความสงบผ่อนคลาย ปราศจากความเครียด และความวิตกกังวล

การนอนหลับที่มีคุณภาพ คือการหลับลึกและหลับสนิท สมองได้พักผ่อนอย่างเต็มที่ มีวงจรการหลับที่ปกติ มีช่วงเวลาของการหลับที่เหมาะสมกับอายุ ซึ่งสามารถรับรู้ได้จากความรู้สึกของบุคคลนั้น ซึ่งถ้าตื่นขึ้นในตอนเช้าแล้วรู้สึกสดใสและสดชื่น สามารถทำงานได้อย่างกระฉับกระเฉง ไม่ง่วงนอนหรือมีอาการอ่อนเพลีย ก็แสดงว่าการนอนหลับในคืนนั้นมีการหลับที่มีคุณภาพ

วงจรการนอนหลับจะแบ่งออกเป็น 2 ระยะ คือ ระยะที่ไม่มีการกลอกลูกตา (Non Rapid Eye Movement, NREM) และระยะที่มีการกลอกลูกตา (Rapid Eye Movement, REM) ดังนี้
1. ระยะที่ไม่มีการกลอกลูกตา (NREM) แบ่งเป็น
ระดับ 1 เริ่มหลับ กล้ามเนื้อเริ่มผ่อนคลาย ลูกตาเคลื่อนไหวไปมาช้าๆ อัตราการหายใจสม่ำเสมอ อัตราชีพจรลดลง ระดับนี้ปลุกตื่นได้ง่าย ถ้าตื่นจะรู้สึกว่ายังไม่ได้หลับ
ระดับ 2 หลับได้ดีขึ้น กล้ามเนื้อผ่อนคลายมากขึ้น การกลอกของลูกตาอาจมี หรือไม่ก็ได้ระดับนี้สามารถปลุกตื่นได้ง่ายเช่นกัน ถ้าตื่นจะรู้สึกเหมือนฝัน
ระดับ 3 หลับลึก กล้ามเนื้อผ่อนคลายเต็มที่แต่ยังมีความตึงตัว อัตราการหายใจสม่ำเสมอ มีการหลั่งสาร Growth Hormone และ Serotonin ระดับนี้ปลุกตื่นยากขึ้น
ระดับ 4 หลับลึกขึ้น หลับสนิท สมองอยู่ในภาวะพักผ่อนอย่างแท้จริง ชีพจร ความดันโลหิต ปริมาณปัสสาวะ รวมถึงการใช้อ๊อกซิเจนของกล้ามเนื้อลดลง มีการหลั่งสาร Growth Hormone มากที่สุด อาจพบว่ามีการกรน ระดับนี้จะถูกปลุกให้ตื่นยากขึ้น ถ้าตื่นจะจำสิ่งที่ทำไม่ได้
2. ระยะที่มีการกลอกของลูกตา (REM) ในระยะนี้กล้ามเนื้อทุกส่วนของร่างกายจะคลายตัวมากที่สุดจนเกือบไม่มีความตึงตัวเหลืออยู่ แต่จะมีการกลอกของลูกตา ซึ่งจะเร็วบ้างช้าบ้าง หรืออาจจะไม่มีการกลอกเลย ชีพจร การหายใจและความดันโลหิตไม่คงที่ มีการหลั่งสารหล่อลื่นมากขึ้นในผู้หญิง และอวัยวะเพศแข็งตัวในผู้ชาย นอกจากนี้มีการหลั่งฮอร์โมน Cortisol, Glucagon และ Cathecolamine ในระยะนี้ปลุกตื่นได้ยาก ถ้าตื่นจะจำความฝันได้ ลักษณะความฝันชัดเจนมีสีสรรค์ และเป็นแบบจินตนาการ

การนอนหลับที่ปกติจะเริ่มตั้งแต่ระดับ 1 ของ NREM ต่อด้วยระดับ 2,3 และ 4 ของ NREM และกลับมาที่ระดับ 3 และ 2 ของ NREM ก่อนเข้าสู่ระยะ REM แล้วกลับมาที่ระดับ 2 ของ NREM อีกครั้ง และจะดำเนินระยะ NREM และ REM หมุนเวียนไปเรื่อยๆ ตลอดการนอนหลับ ถ้าตื่นขึ้นในช่วงใดก็ตามจะเริ่มต้นด้วยระดับที่ 1 ของ NREM ทุกครั้ง
วงจรการนอนหลับจะแบ่งออกเป็น 2 ระยะ NREM และ REM
ในวงจรการนอนหลับแรกๆ จะพบระดับ 3 และ 4 ของ NREM มากกว่า REM เมื่อการนอนหลับดำเนินต่อไป จะพบระดับ 1 และ 2 NREM และ ระยะ REM มากขึ้น ส่วนระดับ 3และ 4 ของ NREM จะลดลง โดยเฉลี่ยระยะ NREM คิดเป็น 75-80% ของการนอนหลับในเด็กวัยรุ่นถึงผู้ใหญ่ ส่วนเด็กทารกจะพบระยะ NREM เท่ากับระยะ REM ในการหลับแต่ละครั้งเฉลี่ย 7-8 ชั่วโมง จะมีวงจรการหลับประมาณ 4-6 วงจร ใช้เวลาประมาณ 70-90 นาที โดยในช่วง NREM ระดับ 1-3 ใช้เวลาประมาณ 20-30นาที ระดับ 4ของ NREM ใช้เวลาประมาณ 30นาที หลังจากนั้นใช้เวลาในระดับ 3 และ 2 ของ NREM ประมาณ 20 นาที ส่วนระยะ REM ใช้เวลาประมาณ 10 นาที

เวลานอนที่เหมาะสมในแต่ละวัยเพื่อพักผ่อนให้เพียงพอ

การนอนหลับในคนปกติที่ถูกต้องและถูกวิธีที่ถูกต้องให้เหมาะสมจะมีความแตกต่างกันตามวัย โดยเปลี่ยนแปลงอย่างช้าๆ ต่อเนื่องตั้งแต่ในครรภ์มารดาถึงวัยสูงอายุ ทารกแรกเกิดจนถึง 1เดือน ใช้เวลาส่วนใหญ่ไปกับการนอนวันละ 16-20 ชั่วโมง วัยทารกและวัยเดินเตาะแตะกรนอนหลับก็จะลดลงเหลือ 10-12 ชั่วโมง และ 12-14 ชั่วโมง ตามลำดับ เมื่อเข้าสู่วัยเรียนจะใช้เวลานอนหลับประมาณ 10-12 ชั่วโมง วัยรุ่นใช้เวลานอน 8-10 ชั่วโมง ส่วนวัยผู้ใหญ่ใช้เวลาประมาณ 7-9 ชั่วโมง เมื่อเข้าสู่วัยกลางคนเวลานอนจะลดลงเหลือ 6-8 ชั่วโมง สำหรับวัยสูงอายุนั้นการนอนหลับจะเปลี่ยนแปลงอย่างชัดเจน คือจะหลับลึกน้อยลง มีการตื่นง่ายขึ้น จะหลับไม่ได้รวดเดียวถึงเช้าเหมือนกับวัยหนุ่มสาวทำให้ต้องนอนกลางวันเพิ่มขึ้น วัยสูงอายุต้องการเวลาในการนอนหลับประมาณ 7-8 ชั่วโมง การที่วัยสูงอายุมีการเปลี่ยนแปลงการนอนหลับดังกล่าวอาจมีสาเหตุมาจากความเสื่อมหน้าที่ของระบบประสาทส่วนกลาง เนื่องจากกระบวนการของความชราทำให้เลือดไปเลี้ยงสมองลดลง จำนวนเซลประสาทลดลง การรับและการส่งกระแสประสาทช้าลงนอกจากนี้ มีการเปลี่ยนแปลงการหลั่งฮอร์โมนที่ช่วยส่งเสริมการหลับลดลงตามอายุที่มากขึ้น ได้แก่สาร Serotonin ซึ่งหลั่งมาจากเซลพิเศษที่อยู่ในพอนส์ (Pons) และสมองส่วนหน้า (Forebrain) และ เมลาโทนิน (Melatonin) ซึ่งหลั่งมาจากต่อมไพเนียล (Pineal gland)
เวลาการนอนหลับที่ถูกต้องของแต่ระวัยควรนอนกี่ชั่วโมง
ปัจจัยที่รบกวนการนอน
1. ปัจจัยด้านร่างกายที่รบกวนการนอนหลับ ได้แก่ ความเจ็บป่วย และความไม่สุขสบายต่างๆ
2. ปัจจัยด้านจิตใจและอารมณ์ที่รบกวนการนอน ได้แก่ ความคิด ความวิตกกังวล และซึมเศร้า
3. อาหาร เครื่องดื่ม ยา และสารเคมี ที่รับประทานอย่างไม่เหมาะสม
4. อื่นๆ การทำงานเป็นกะ ทำให้แบบแผนการนอนเปลี่ยนแปลง เล่นโทรศัพท์ก่อนนอน ออกกำลังกายมากเกินไป
4ปัจจัย ที่รบกวนการนอน ทำให้นอนไม่หลับ หลับไม่สนิท
ปัจจัยที่ส่งเสริมการนอน
1. ปัจจัยด่านร่างกายที่ส่งเสริมการนอนหลับได้แก่ การออกกำลังกาย แต่ต้องเป็นปานกลาง เพราะออกกำลังกายมากเกินไปจะทำให้หลับยากขึ้น การรับประทานอาหารที่มีสาร L-tryptophan หรืออาหารเสริมที่มีสารตัวนี้ จะช่วยให้หรับง่ายขึ้น
2. ปัจจัยด่านจิตใจและอารมณ์ ที่ส่งเสริมการนอน ได้แก่ ความรู้สึกผ่อนคลาย
3. ปัจจัยสิ่งแวดล้อมที่ส่งเสริมการนอนหลับ ได้แก่ บรรยากาศที่เงียบสงบ ถ่ายเทอากาศได้ดี ปราศจากสิ่งรบกวน แสงสลัวหรือมืดสนิท
3 ปัจจัยที่ส่งเสริมให้นอนหลับได้อย่างมีประสิทธิภาพ กลับสนิท หลับลุก

ผลกระทบจากปัญหาการนอนไม่หลับหรือนอนไม่เพียงพอ

ปัญหาการนอนไม่หลับที่พบได้บ่อยมากที่สุด ได้แก่ นอนไม่พอ หรับไม่สนิท หรือนอนไม่หลับ ปัญหาแต่ละคนอาจจะแตกต่างกันไป โดยปัญหาที่เกิดขึ้นอาจเป็นจริงหรือเป็นเพียงความรู้สึก เช่น นอนไม่หลับเมื่อถึงเวลาที่ควรนอน หลับยากเมื่อล้มตัวลงนอน หลับไม่ลึกหรือไม่สนิทในตอนกลางคืน หรือหลับต่อไม่ได้ เป็นต้น ซึ่งทำให้เกิดผลกระทบต่างๆ ต่อสุขภาพตามมาอย่างมากมาย กล่าวคือ ถ้าหลับไม่พอในระยะ NREM ซึ่งเกิดขึ้นเนื่องจากถูกรบกวนการนอนหลับบ่อยครั้ง อาจทำให้ประสิทธ์ภาพการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันลดลงเพราะมีการหลั่งของ Cortisol มากขึ้นทำให้กดการทำงานของ lymphocyte, Granulocyte และ T-cell ทำให้การฟื้นตัวจากโรคช้ารวมทั้งเสี่ยงต่อการเกิดโรคแทรกซ้อนต่างๆ มากขึ้น นอกจากนี้ยังส่งผลให้การซ่อมแซมเนื้อเยื่อที่สึกหรอลดลง เพราะการนอนหลับระยะ NREM 3 และ NREM 4 เป็นระยะที่มีการหลั่ง Growth hormone เป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะในระยะ NREM 4 จะมีการหลั่งมากที่สุดในรอบ 24ชั่วโมง ซึ่ง Growth hormone จะช่วยให้ร่างกายเจริญเติมโตและซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอ หากพร่องการนอนหลับในระยะนี้ จะทำให้ระบบการสร้างและซ่อมแซมร่างกายลดลงทำให้ฟื้นหายจากโรคต่างๆได้ช้าลง และเกิดอาการอ่อนเพลีย ทำให้ความสามารถในการทำกิจกรรมต่างๆ ลดลง นอกจากนี้ การพร่องการนอนหลับระยะนี้ สัมพันธ์กับการลดน้ำหนักของน้ำหนักตัวเนื่องจากผู้ที่นอนไม่หลับหรือหลับได้น้อยจะมีอัตราการเผาผลาญมากขึ้น ความต้องการอาหารมากขึ้นทำให้น้ำหนักตัวลดลงแต่บางรายอาจกินมากขึ้นจึงทำให้เกิดความเสี่ยงของโรคอ้วนได้ การพร่องการนอนหลับระยะ NREM 4 มากกว่า 24 ชั่วโมงจะทำให้เกิดอาการคลื่นไส้ ท้องผูกหรือท้องเสีย ปวดศีรษะ กล้ามเนื้ออ่อนแรง อ่อนเพลีย ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อลดลง

สำหรับผลกระทบของการพร่องการนอนหลับระยะ REM เกิดขึ้นเมื่อปริมาณการนอนหลับในเวลากลางคืนลดลง ทำให้ตื่นนอนเร็วกว่าปกติ เมื่อพร่องการนอนหลับระยะนี้มากกว่า 24-28 ชั่วโมง ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงการทำงานของระบบประสาทส่วนกลางโดยอาจพบความแปรปรวนทางจิตใจ และอารมณ์ ได้แก่ ความเฉื่อยชา ความสนใจต่อสิ่งแวดล้อมลดลง อารมณ์แปรปรวน และ พฤติกรรมไม่คงที่ โกรธง่าย อารมณ์ฉุนเฉียวง่าย ซึมเศร้า หรือหวาดละเวง ส่วนการเปลี่ยนแปลงทางด้านร่างกาย พบว่ามีการหลั่งของสาร Steroid hormone ลดลง ซึ่ง Steroid Hormone เป็นสารสื่อสำหรับการสังเคราะห์ฮอร์โมนอื่นๆ การลดลงของ Steroed hormone จะทำให้เสียสมดุลการสร้างและการทำงานของฮอร์โมนต่างๆ นอกจากนี้ ยังพบว่ามีการตอบสนองต่อภาวะออกซิเจนในเลือดต่ำและภาวะคาร์บอนไดออกไซด์ในเลือดสูง ส่วนผลให้เกิดภาวะหยุดหายใจขณะนอนหลับได้มากขึ้นและระยะยาวนานขึ้น ซึ่งผลกระทบเหล่านี้จะรุนแรงมากน้อยเพียงใด ขึ้นอยู่กับระยะเวลาที่ไม่สามารถนอนหลับในระยะนี้ได้เพียงพอ
สรุปหากเรานอนไม่หลับหรือนอนหลับไม่สนิทหลับไม่เพียงผลกระทบและปัญหาต่อสุขภาพและร่างกายตามมาอย่างมากมายตามรูปด่านล่าง
นอนไม่หลับมีผลกระทบต่อสุขภาพมากมาย เช่น การรับรู้ ผิว ภูมิคุ้มกัน การเผาผลาญ หัวใจ  อารมณ์

วิธีแก้ไขปัญหาการนอนไม่ไหลับ

1. การปรับปรุงเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อม
มีหลายคนที่มีปัญหาในการนอนหลับเนื่องจากปัจจัยด้านสภาพแวดล้อม ดังนั้น ต้องค้นหาสาเหตุที่เกี่ยวข้องกับสภาพแวดล้อมและแก้ไขตามสาเหตุนั้น เช่นถ้ามีกลิ่นและแมลงรบกวน ควรทำความสะอาดห้องนอน ห้องน้ำและซักผ้าปูที่นอนให้สะอาด การปูผ้าปูที่นอนให้เรียบตึงจะช่วยให้นอนสบายขึ้น การปิดม่านและปิดไฟจะช่วยลดแสงส่องตา และการควบคุมเสียงในช่วงเข้านอนไม่ให้มีเสียงดัง จะทำให้หลับง่ายขึ้น นอกจากนี้ จะช่วยส่งเสริมให้เกิดการพักผ่อนนอนหลับที่ดี หลักปฏิบัติที่สามารถนำมาปฏิบัติได้จริงคือ "5ส" สะอาด สะดวก สะสาง สุขลักษณะ และสร้างนิสัย การจัดให้มีต้นไม้และดอกไม้ภายในห้องนอนจะช่วยให้รู้สึกสดชื่น ช่วยสร้างบรรยากาศที่ดีและลดความเครียดได้
2. การรับประทานอาหาร
การทำช่วงเวลาอาหารให้มีความสุข ทำได้โดยการรับประทานอาหารพร้อมกับคนในครอบครับหรือกลุ่มเพื่อนเพื่อให้มีการพูดคุยสนทนาอย่างสนุกสนาน ซึ่งเป็นการพักผ่อนอย่างหนึ่ง การรับประทานอาหารอย่างรีบเร่ง หรือรับประทานจุบจิบไม่เกิดผลดีต่อสุขภาพ ควรเลือกทานอาหารที่ใกล้เคียงธรรมชาติมากที่สุดเลือผลิตภัณฑ์อาหารที่มีความสดและบริสุทธิ์ไม่เติมสารเคมีหรือใส่เครื่องปรุงรสมากเกินไป การรับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ และบริโภคให้ครบทุกมื้อเพื่อให้มีอาหารที่หลากหลายชนิดและหมุนเวียนการได้รับประโยชน์จากสารอาหารต่างๆ ครบถ้วน หากได้สารอาหารไม่ครบถ้วนก็ลองหาอาหารเสริมมารับประทานเพิ่ม แต่ถ้าได้ครบถ้วนแล้วก็ไม่จำเป็นต้องรับประถานผลิตภัณฑ์อาหารเสริมก็ได้
บุคคลที่มีปัญหาในการนอนหลับควรรับประทานอาหารไขมันสูงในปริมาณที่น้อยเพราะย่อยยาก และงดรับประทานอาหารที่มีส่วนประกอบของคาเฟอีน การดื่มแอลกอฮอล์ไม่ใช่เรื่องดีในระยะยาว เพราะเมื่อดื่มแอลกอฮอล์ในช่วงแรกจะง่วง แต่หลังจากนั้นจะนอนไม่หลับ หรือหากหลับก็จะเป็นการหลับที่ไม่สนิท
การรับประทานอาหารที่มีปริมาณเหมาะสมจะช่วยให้หลับง่ายขึ้น เพราะถ้าอิ่มเกินไปประกอบกับการย่อยอาหารไม่ดี ไม่ได้ออกกำลังกาย ลำไส้เคลื่อนไหวน้อย อาจทำให้เกิดการท้องอืด แน่นอึดอัด ส่งผลให้นอนไม่หลับ ถ้ารับประทานอาหารมื้อเย็นเร็วเกินไปทำให้รู้สึกหิวในช่วงกลางคืน การดื่มนมอุ่นๆ 1แก้วจะช่วยให้หลับได้ง่ายขึ้น เพราะนมมีสาร L-tryptophan กระตุ้นให้สมองหลั่งสาร Serotonin หรือหาอาหารเสริมที่มีสารตัวนี้มารับประทาน ซึ่งส่งผลให้รู้สึกผ่อนคลาย หรืออาจจิบน้ำผึ้งครึ่งช้อนชา ซึ่งน้ำผึ้งจ้ำผึ้งก็จะไปกระตุ้นสมองหลั่ง Serotonin เช่นกัน อย่างไรก็ตามการรับประทานอาหารก่อนนอนต้องตระหนักว่าอย่าให้หวานมาก เพราะน้ำตาลเป็นตัวเร่งให้เกิดสภาพความเป็นกรดในลำไส้และทำให้กระเพราะอาหารปั่นป่วน
การรับประทานอาหารมื้อหนักดึกเกินไปทำให้หลับยากเช่นกัน เพราะกระเพาะอาหารจะทำงานน้อยลงทำให้อาหารที่รับประทานเข้าไปนั้นตกค้างอยู่ภายในและไม่ย่อย เมื่ออาหารบูดจึงเกิดสภาพกรดภายในลำไส้เป็นสาเหตุให้ท้องปั่นป่วน นอกจากนี้สภาพดังกล่าวยังมีส่วนทำให้นอนฝันร้าย ดั่งนั้นนิสัยของการรับประทานอาหารที่ดีก็คือ อาหารกลางวันควรจะเป็นมื้อหนักรองมาจากมื้อเช้า และอาหารเย็นควรจะเป็นอาหารเบาๆ ง่ายแก่การย่อย และไม่รับประทานในเวลาที่ดึกเกินไป
3. การออกกำลังกาย
มีหลายคนที่มีปัญหานอนไม่หลับเพราะร่างกายไม่ได้เผาผลาญพลังงานที่มีอยู่ให้หมดสิ้นไป พลังงานที่เหลืออยู่อย่างเกินความเป็นนี้ได้แผ่พลังงานไปทั่ว จนทำให้ร่างกายโดยเฉพาะสมองไม่ได้พักผ่อน ดังนั้น มักจะพบว่าคนที่นั่งโต๊ะทำงานตลอดวัน มักจะเกิดปัญหานอนไม่หลับ ตรงกันข้ามกับคนที่ทำงานกลางแจ้งหรืองานที่มีการเคลื่อนไหวของสรีระมาก จะมีความเครียดในสมองน้อยกว่าจึงนอนหลับได้ดีกว่า ถ้ามีปัญหานอนไม่หลับหรือนอนกระสับกระส่ายไปมา จากปัญหาดังกล่าว ควรเพิ่มกิจกรรมทางสรีระให้มากขึ้นกว่าเดิม เช่น เดินรับอากาศบริสุทธิ์ ประมาณครึ่งชั่วโมงในช่วงเช้า หรืออาจจะวิ่งเหยาะๆ และถ้าเหนื่อยเกินไปก็อาจวิ่งสลับเดิน หลักเกณฑ์สำคัญของการออกกำลังกายคือ การทำอย่างสม่ำเสมอและอย่าหักโหม โดยเฉพาะในช่วงแรกที่รู้ว่าร่างกายไม่อาจรับการออกกำลังกายอย่างหนักได้และควรเข้าใจให้ถูกต้องว่าการออกกำลังกายทุกอย่างมีประโยชน์ทั้งนั้นถ้าการออกกำลังกายนั้นทำให้มีโอกาสเคลื่อนไหวสรีระมากพอที่จะปลดปล่อยพลังงานส่วนเกิน และความเครียดออกไป
การทำกิจกรรมตอนเย็นหลังเลิกงาน เช่นเล่นกีฬาและเต้นรำก็เป็นสิ่งช่วยให้หลับได้ อย่างไรก็ตามต้องตระหนักว่าการออกกำลังกายอย่างหนักนั้นร่างกายจะมีการหลั่ง Adrenaline ซึ่งเปรียบเสมือนเป็นพลังงานส่วนพิเศษ ถ้าเข้านอนทันทีหลังการออกกำลังกายก็จะหลับยาก การออกกำลังกายที่ยอมรับว่ามีประโยชน์ในการนอนหลับ ก็คือ การยืดเส้นยืดสายแบบการฝึกโยคะ และควรทำก่อนนอนอย่างน้อย 1 ชั่วโมง สำหรับการร่วมเพศนั้นก็เป็นวิธีหนึ่งของการเผาผลาญ ช่วยทำให้หลับสนิทและหลับได้ง่ายขึ้น
4. การบริหารเวลา
การบริหารเวลาเป็นการวางแผนเพื่อจัดการเวลาที่มีอยู่ให้คุ้มค่าที่สุดช่วยให้เกิดความราบรื่นในการดำเนินชีวิตสิ่งสำคัญคือ นอกจากจะจัดสรรเวลาในการทำงานแล้ว จะต้องจัดสรรเวลาในการพักผ่อนหย่อนใจด้วยเพราะร่างกายและจิตใจที่ได้รับการพักผ่อนอย่างเพียงพอ จะทำให้มีภูมิคุ้มกันสูงในการต้านความเครียด การพักผ่อนอาจทำได้โดยไปเที่ยวต่างจังหวัด พบปะเพื่อนฝูง คูหนัง หรือทำกิจกรรมต่างๆ ที่เป็นการผ่อนคลายในวันหยุด การดูแลตนเองในชีวิตประจำวันเป็นการพักผ่อนได้เช่นกัน การขัดตัว ขณะอาบน้ำ การออกกำลังกาย กรทำงานอดิเรกที่ตนเองชอบ ก็จะทำให้การนอนหลับได้ง่ายขึ้น
5. การเปลี่ยนแปลงจิตใจหรือความคิดตนเอง
ถึงแม้ว่าความโกรธ เนื่องจากหงุดหงิดในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง จะเป็นพฤติกรรมปกติ แต่ถ้ายังเจ็บใจจำเรื่องที่โกรธนำไปคิดตลอดเวลาแม้แต่เวลานอน ก็จะทำให้ประสบปัญหานอนไม่หลับได้ เทคนิคการเปลี่ยนแปลงจิตใจหรือความคิดตนเองเพื่อนำไปสู่การปลดปล่อยความหงุดหงิด มีดังนี้
5.1 การมองโลกในแง่ดี หลายๆมุม เช่น มองงานที่หนักและยากว่าเป็นการท้าทาย มองสิ่งที่คนอื่นติ ว่าเป็นการช่วยให้มองเห็นตนเองว่าควรปรับปรุง
5.2 การคิดให้อภัย ไม่ถือสา ไม่เอามาเป็นอารมณ์จะช่วยให้จิตใจโล่ง ลดความเครียด เช่นเดียวกับการคิดในแง่บวก
5.3 การบอกตัวเองว่า เรามีความสุข ก็จะช่วยสั่งจิตใจให้เป็นคนที่มีความสุขได้
5.4 การมีอารมณ์ขัน การหัวเราะ จะช่วยให้ผ่อนคลายและช่วยให้มีสติจัดการปัญหาต่างๆ
6. การลดความตึงเครียดก่อนนอน
6.1 การผ่อนลมหายใจ เริ่มจากหายใจเข้าทางจมูกนับ 1-5 ในใจ จากนั้นปล่อยลมหายใจออกทางปากช้าๆ ในระหว่างนั้นนับ 1-10ในใจ
6.2 การทำให้มืออุ่น เมื่อเครียดมือมักจะเย็นการทำให้มืออุ่นจะสามารถลดความตึงเครียดได้ก่อนนอนควรเอามือแช่ในน้ำอุ่นสักครู่ จะทำให้หลับสบายและง่ายขึ้น
6.3 การนวดเท้าคลายเครียด ดกเบาๆ บริเวณรอยต่อกระดูกนิ้วเท้าข้อที่ 1 และข้อที่ 2 สิบครั้ง
7. การลดอาการปวด ปวดศีรษะก่อนนอนโดยไม่พึ่งยา ถ้ามีอาการปวดศีรษะมากจนไม่สามารถทีจะนอนได้ให้ใช้กระเป๋าน้ำร้อน หรือขวดใส่น้ำร้อนที่ไม่ร้อนจนเกินไป ประคบบริเวณท้ายทอย แล้วใช้ความเย็นประคบที่หน้าฝากจะช่วยให้อาการทุเลาลงได้ แต่ถ้าเป็นอาการที่เกิดจากกล้ามเนื้ออักเสบหรือเอ็นอักเสบให้ใช้กระเป๋าน้ำแข็งประคบตั้งแต่คอลงมาจนถึงหัวไหล่ ในวันแรกเพื่อลดการอักเสบ และใช้กะเป๋าน้ำร้อนประคบในวันต่อๆมา จะช่วยคลายปวดได้

นอกจากนี้ยังมีวิธีอื่นๆ ที่ช่วยส่งเสริมการนอนหลับเช่น การอาบน้ำก่อนนอนและสวมเสื้อผ้าที่สบายซึ่งผ้าแพรจะเหมาะสมที่สุด การนวดหลังหรือนวดตัว การอ่านหนังสือหรือฟังเพลงเบาๆ รับประทานอาหารเสริมช่วยในการนอนหลับ เป็นต้น และก่อนนอนควรปัสสาวะเสียก่อน จะได้ไม่ตื่นตอนกลางดึก
7 คำแนะนำแก้อาการนอนไม่หลับ หลับไม่สนิท หลับไม่มีคุณภาพ ทำให้การหลับได้ง่ายขึ้น

ผลิตภัณฑ์อาหารเสริมกัมมี่ Helper Z อื่นๆ

CONTACT
169/47 ถ.พุทธมณฑลสาย 4 ต.กระทุ่มล้ม  อ.สามพราน จ.นครปฐม 73220
086-070-0007
ananindustry@gmail.com
https://www.ananindustry.com
WORKING DAYS/HOURS
วันจันทร์ - วันเสาร์
8.00 - 17.00 น.
Copyright © 2008 Anan Industry Company Limited. All Rights Reserved