6. การประยุกต์ใช้ความดันในแม่พิมพ์พลาสติก

    หน้า   1   2    

6.7 การวิเคราะห์ลักษณะความดันพลาสติกในแม่พิมพ์และ PVT ไดอะแกรม

ลักษณะความเป็นไปของความดันพลาสติกในแม่พิมพ์ที่เกิดชิ้นบน PVT ไดอะแกรมนั้นจะเป็นตัวบ่งบอกได้ดีมากเกี่ยวกับกระบวนการฉีดที่เกิดขึ้นและพารามิเตอร์ที่ใช้ในการฉีด ตลอดจนคุณภาพของชิ้นงานฉีด เช่น การเปลี่ยนแปลงของน้ำหนัก ความเที่ยงตรงของขนาด การหดตัว การบิดงอ เป็นต้น ดังตัวอย่างตามรูปที่ 6.9 ซึ่งเป็นลักษณะกราฟความดันในแม่พิมพ์และความดันบน PVT ไดอะแกรมที่เกิดจากการสับเปลี่ยนจากการฉีดเข้าสู่ การย้ำที่ช้าเกินไป ทำให้เนื้อพลาสติกเข้าแม่พิมพ์ในช่วงของการฉีดมากเกินไปจนความดันในแม่พิมพ์เกิดขึ้นสูงมาก (ที่ตำแหน่งหมายเลข 2) เมื่อเข้าสู่การย้ำรักษาความดันก็ใช้ความดันย้ำน้อยกว่าความดันฉีดมาก ทำให้ความดันพลาสติกในแม่พิมพ์ลดต่ำลงอย่างรวดเร็ว (ที่ตำแหน่งหมายเลข 3) ตลอดจนตั้งเวลาในการย้ำน้อยเกินไปทำให้ความดันพลาสติกในแม่พิมพ์ลดต่ำลงอย่างรวดเร็วมากอีกครั้ง (ที่ตำแหน่งระหว่างหมายเลข 4–5) ถ้าสังเกตจาก PVT ไดอะแกรมจะพบว่าจากตำแหน่งที่ 4 ไป 5 ซึ่งความดันของพลาสติกในแม่พิมพ์ลดลงในขณะที่ปริมาตร จำเพาะเพิ่มขึ้น (ความหนาแน่นลดลง) ตามไปด้วยนั้นไม่ถูกต้อง เนื่องจากพลาสติกในแม่พิมพ์จะเกิดการไหลย้อนกลับได้
ลักษณะกราฟความดันในแม่พิมพ์และความดันบน PVT ไดอะแกรมที่เกิดจากการสับเปลี่ยน จากการฉีดเข้าสู่การย้ำที่ช้าเกินไปและเวลาในการย้ำรักษาความดันน้อยเกินไป
รูปที่ 6.9 ลักษณะกราฟความดันในแม่พิมพ์และความดันบน PVT ไดอะแกรมที่เกิดจากการสับเปลี่ยน จากการฉีดเข้าสู่การย้ำที่ช้าเกินไปและเวลาในการย้ำรักษาความดันน้อยเกินไป
ส่วนรูปที่ 6.10 นั้นเป็นการปรับตั้งแก้ไขให้มีการสับเปลี่ยนจากการฉีดเข้าสู่การย้ำที่ถูกต้อง โดยสังเกตได้ ว่าลักษณะความดันที่เกิดขึ้นบน PVT ไดอะแกรม มีความสม่ำเสมอในช่วงแรก ๆ แต่เวลาในการย้ำยังน้อยเกินไป เหมือนเดิม
ลักษณะกราฟความดันในแม่พิมพ์และความดันบน PVT ไดอะแกรมที่เกิดจากการสับเปลี่ยน จากการฉีดเข้าสู่การย้ำที่ถูกต้อง แต่เวลาในการย้ำรักษาความดันยังน้อยเกินไป
รูปที่ 6.10 ลักษณะกราฟความดันในแม่พิมพ์และความดันบน PVT ไดอะแกรมที่เกิดจากการสับเปลี่ยน จากการฉีดเข้าสู่การย้ำที่ถูกต้อง แต่เวลาในการย้ำรักษาความดันยังน้อยเกินไป
รูปที่ 6.11 จะเป็นการปรับตั้งแก้ไขให้มีการสับเปลี่ยนจากการฉีดเข้าสู่การย้ำที่ถูกต้อง โดยสังเกตได้ว่า ลักษณะความดันที่เกิดขึ้นบน PVT ไดอะแกรม มีความสม่ำเสมอตลอดจนถึงตำแหน่งเลข 4 หลังจากนั้นความดัน จะลดลงอย่างสม่ำเสมอโดยที่ปริมาตรจำเพาะมีค่าคงที่หรือลดลงเล็กน้อย (ความหนาแน่นคงที่หรือเพิ่มขึ้นเล็กน้อย) เนื่องจากการใช้เวลาในการย้ำรักษาความดันที่ถูกต้องเหมาะสม
ลักษณะกราฟความดันในแม่พิมพ์และความดันบน PVT ไดอะแกรมที่ถูกต้องที่เกิดจากการสับเปลี่ยน จากการฉีดเข้าสู่การย้ำและเวลาในการย้ำรักษาความดันที่ถูกต้อง
รูปที่ 6.11 ลักษณะกราฟความดันในแม่พิมพ์และความดันบน PVT ไดอะแกรมที่ถูกต้องที่เกิดจากการสับเปลี่ยน จากการฉีดเข้าสู่การย้ำและเวลาในการย้ำรักษาความดันที่ถูกต้อง

6.8 ตัวอย่างการประยุกต์ใช้งานความดันพลาสติกในแม่พิมพ์และ PVT ไดอะแกรม

เพื่อให้ผู้ที่กำลังศึกษางานฉีดในหัวข้อความดันพลาสติกในแม่พิมพ์และ PVT ไดอะแกรมเกิดความเข้าใจ ในการนำไปประยุกต์ใช้กับกระบวนการฉีดพลาสติกได้จริงและถูกต้องมากขึ้น โรงงานพลาสติกเราจึงขอยกตัวอย่างการคำนวณ ดังนี้
ตัวอย่างที่ 1 ต้องการฉีดชิ้นงานจากพลาสติก PS เกรดหนึ่ง ดังรูปที่ 6.12 โดยต้องการให้ส่วนที่เป็นแกนของชิ้นงานมีขนาด 0 10 ± 0.02 มิลลิเมตร โดยทราบความดันและอุณหภูมิของพลาสติกในแม่พิมพ์ จะต้องใช้แม่พิมพ์ที่มีขนาดของรูเป็นเท่าไร
ชิ้นงานและลักษณะความดันพลาสติกในแม่พิมพ์สำหรับตัวอย่างที่ 1
รูปที่ 6.12 ชิ้นงานและลักษณะความดันพลาสติกในแม่พิมพ์สำหรับตัวอย่างที่ 1
ความดันพลาสติกในแม่พิมพ์บน PVT ไดอะแกรมสำหรับตัวอย่างที่ 1
รูปที่ 6.13 ความดันพลาสติกในแม่พิมพ์บน PVT ไดอะแกรมสำหรับตัวอย่างที่ 1
สูตรคำนวนเส้นผ่าศูนย์กลายขนาดรูแม่พิมพ์พลาสติก
ตัวอย่างที่ 2 ต้องการฉีดชิ้นงาน PS ดังรูปที่ 6.14 โดยทราบความดันและอุณหภูมิของพลาสติกในแม่พิมพ์ จงตอบคำถามต่อไปนี้
(1) ควรใช้เครื่องฉีดขนาดกี่ตัน
(2) แม่พิมพ์ควรมีขนาด
เท่าไร
(3) ถ้านำแม่พิมพ์ขนาด
โตที่สุดจากข้อ (2) มาฉีดให้ได้ชิ้นงานขนาด เล็กที่สุด (79.9 มิลลิเมตร) อยากทราบว่าจะต้องทำอย่างไร และลักษณะของความดันในแม่พิมพ์ควรเป็นอย่างไร ให้เขียน ลักษณะความดันลงในกราฟความดัน
ชิ้นงานและลักษณะความดันพลาสติกในแม่พิมพ์สำหรับตัวอย่างที่ 2
รูปที่ 6.14 ชิ้นงานและลักษณะความดันพลาสติกในแม่พิมพ์สำหรับตัวอย่างที่ 2
สูตรคำนวนแรงปิดแม่พิมพ์พลาสติกว่าต้องใช้เครื่องฉีดพลาสติกขนาดเท่าไร
ที่มาของแรงในแม่พิมพ์และแรงปิดล็อกแม่พิมพ์และลักษณะพื้นที่ภาพฉาย
สูตรคำนวนความดันพลาสติกในแม่พิมพ์พลาสติก
ผลลัพธ์ของลักษณะความดันพลาสติกในแม่พิมพ์ใหม่ที่ต้องปรับตั้งสำหรับตัวอย่างที่ 2
รูปที่ 6.15 ผลลัพธ์ของลักษณะความดันพลาสติกในแม่พิมพ์ใหม่ที่ต้องปรับตั้งสำหรับตัวอย่างที่ 2
ความดันพลาสติกในแม่พิมพ์บน PVT ไดอะแกรมสำหรับตัวอย่างที่ 2
รูปที่ 6.16 ความดันพลาสติกในแม่พิมพ์บน PVT ไดอะแกรมสำหรับตัวอย่างที่ 2

6.9 อุปกรณ์วัดความดันและอุณหภูมิพลาสติกและการติดตั้งในแม่พิมพ์

ในการติดตั้งหัวเซ็นเซอร์วัดความดันและอุณหภูมิพลาสติกในแม่พิมพ์นั้น จำเป็นต้องมีการเจาะรูหรือทำช่องทางที่จะให้หัวเซ็นเซอร์และสายสัญญาณลอดผ่านเข้าออกได้ ส่วนอุปกรณ์ในการประกอบและถอดหัวเซ็นเซอร์ ทางผู้ขายจะมีมาให้เรียบร้อยแล้ว ส่วนวิธีในการติดตั้งหัวเซ็นเซอร์เพื่อวัดความดันและอุณหภูมิพลาสติกในแม่พิมพ์ จะสามารถทำได้ 2 วิธี คือ ให้หัวเซ็นเซอร์ไม่สัมผัสกับพลาสติกโดยตรง แต่ติดตั้งไว้ที่ด้านท้ายของเข็มกระทุ้งชิ้นงานแทน ซึ่งวิธีนี้จะตรวจวัดแรงได้เพียงอย่างเดียวเท่านั้น หรือให้หัวเซ็นเซอร์สัมผัสกับพลาสติกโดยตรง ซึ่งวิธีนี้จะตรวจวัดได้ทั้งแรงและอุณหภูมิของพลาสติกและได้ค่าที่ถูกต้องมากกว่า แต่โอกาสที่จะเกิดความเสียหายต่ออุปกรณ์ มีมากกว่า ดังนั้นในการติดตั้งต้องศึกษาคู่มือให้ดีก่อนเสมอ โดยเฉพาะอย่าให้หัวเซ็นเซอร์รับแรงกระแทกกับพลาสติก โดยตรงและอย่าให้ปลายของหัวเซ็นเซอร์โผล่เข้าไปในช่องว่างแม่พิมพ์ ควรให้เสมอกับผิวแม่พิมพ์หรือต่ำกว่าเล็กน้อย ส่วนตำแหน่งในการติดตั้งจะนิยมติดตั้งอยู่ใกล้กับทางน้ำพลาสติกเข้า (Gate) ในตัวชิ้นงานและตำแหน่งสุดท้ายของการไหลพลาสติกในแม่พิมพ์ ถ้าต้องการติดตั้งเพียงตำแหน่งเดียวจะนิยมติดตั้งใกล้กับทางน้ำพลาสติกเข้า
ลักษณะของหัวเซ็นเซอร์วัดความดันและอุณหภูมิพลาสติกในแม่พิมพ์
รูปที่ 6.17 ลักษณะของหัวเซ็นเซอร์วัดความดันและอุณหภูมิพลาสติกในแม่พิมพ์
ที่มาของแรงในแม่พิมพ์และแรงปิดล็อกแม่พิมพ์และลักษณะพื้นที่ภาพฉาย
รูปที่ 6.18 ลักษณะของหัวเซ็นเซอร์วัดความดันและอุณหภูมิพลาสติกในแม่พิมพ์แบบต่าง ๆ
การติดตั้งหัวเซ็นเซอร์วัดความดันและอุณหภูมิพลาสติกในแม่พิมพ์
รูปที่ 6.19 การติดตั้งหัวเซ็นเซอร์วัดความดันและอุณหภูมิพลาสติกในแม่พิมพ์
    หน้า   1   2    
CONTACT
169/47 ถ.พุทธมณฑลสาย 4 ต.กระทุ่มล้ม  อ.สามพราน จ.นครปฐม 73220
086-070-0007
ananindustry@gmail.com
https://www.ananindustry.com
WORKING DAYS/HOURS
วันจันทร์ - วันเสาร์
8.00 - 17.00 น.
Copyright © 2008 Anan Industry Company Limited. All Rights Reserved