ถาดเพาะกล้าข้าว 434หลุม ถาดเพาะกล้า นาโยน

ถาดเพาะกล้าข้าวนาโยน 434หลุม


ถาเพาะกล้า 434หลุม ถาดเพาะกล้านาโยน
ขนาด:
350 x 600 มม.
หลุม:
434 หลุม
ขนาดหลุม:
กว้าง 20มม. ลึก 20มม.
หนา:
80 กรัม
สี:
ใส
วัสดุ:
พลาสติก
ชนิดเม็ดพลาสติก:
PVC+UV
แพค:
1กล่อง 500ใบ
รหัสสินค้า:
pc002
รายละเอียดถาดเพาะกล้าข้าว 434หลุม
ถาดเพาะกล้ากล้า 434 ใช้สำหรับเพาะกล้าข้าวนาโยน ถาดเพาะกล้านาโยนเพื่อประหยัดเมล็ดพันธุ์ข้าวและสตรูพืช หนึ่งไร่ใช่ถาดประมาณ 70-80 ใบ สามารถใช้ได้หลายครั้งมีความทนทาน โรงงานพลาสิตกใช้เม็ด PVC ในการผลิต

การเพาะกล้านาโยนโดยใช้ถาดเพาะ 434หลุม

การทำนาโยนเป็นการปลูกต้นกล้าข้าวที่เพาะในถาดเพาะกล้าพลาสติก 434หลุม ในแต่ละหลุมจะมีรูเพื่อเคลื่อนที่ความชื้นและธาตุอาหารด้วยแรงดูดซับ เมื่อต้นกล้าโตขึ้นก็จะถูกดึงถอนออกจากหลุมเพื่อโยนกล้าลงในแปลงปลูก ดินที่รากข้าวจะทำให้ต้นข้าวจะทำให้ต้นข้าวตกลงบนเทือกในแนวตั้ง เป็นวิธีปลูกข้าวที่สามารถเพิ่มผลผลิตให้แก่ข้าวได้ เป็นวิธีการทำนาแบบใหม่ในเขตชลประทานสามารถทำนาได้ต่อเนื่องปีละ 3-4 ครั้งต่อปี โดยไม่ต้องใช้สารเคมีทุกชนิด ส่งผลให้คุณภาพชีวิตและสิ่งแวดล้อมดีขึ้น ซึ่งนับเป็นทางเลือกใหม่ของการทำนาแบบยั่งยืนและทำให้อาชีพชาวนาเกิดความเข้มแข็งทางเศรฐกิจยิ่งขึ้น การทำนาโยนจะทำให้ต้นข้าวแข็งแรง ต้านทานต่อโรคพืชและแมลงศัตรูพืชระบาด โดยอาศัยเทคนิคการปลูกระบบชีวภาพ เน้นปรับปรุงบำรุงดินให้มีคุณภาพมากขึ้น ปรับสภาพแปรงนาข้าวให้โปร่งโล่ง และแสงแดดส่องถึงผิวดินและน้ำ เพื่อทำให้ระบบนิเวศในนาข้าวอุดมสมบูรณ์
สำหรับวิธีการทำนาโยนต้นกล้ามีรูปแบบซับซ้อนกว่าการทำนาทั่วไปเริ่มจากการเตรียมเมล็ด

ขั้นตอนการเพาะกล้านาโยนโดยใช้ถาดเพาะ 434หลุม

สำหรับวิธีการทำนาโยนต้นกล้าโดยใช้ถาดเพาะกล้า 434หลุม มีรูปแบบซับซ้อนกว่าการทำนาทั่วไปเริ่มจากการเตรียมเมล็ดพันธุ์ข้าวนำไปเพาะไว้ในถาดหลุมขนาดเล็กที่ใส่ดิน เมื่อต้นพันธุ์ข้าวอายุ 15 วัน จะสูงประมาณ 15 เซนติเมตร จากนั้นจึงถอนต้นกล้าจากถาดนำไปโยนในแปลงนาที่เตรียมดินไว้

ข้อดีข้อเสียการเพาะกล้าด้วยถาดเพาะ 434หลุม

การทำนาโยนจะช่วยประหยัดปริมาณเมล็ดพันธุ์ข้าวปลูกโดยใช้เมล็ดพันธุ์ข้าวเพียง 4-5 กิโลกรัมต่อไร่ แต่การทำนาหว่านน้ำตมจะต้องใช้เมล็ดพันธุ์ข้าวถึง 30 กิโลกรัมต่อไร่ โด้ผลผลิตไม่แตกต่างกันมากนัก การทำนาโยนโดยใช้ถาดหลุม 434หลุม จะลดต้นทุนได้มากถึง 50% ของการทำนาทั่วไป แต่มีข้อจำกัดในขั้นตอนการเตรียมเพาะกล้าบนถาดหลุม และสามารถทำได้เฉพาะในพื้นที่ควบคุมน้ำได้ การทำนาโยนมีข้อดีคือสามารถเตรียมแปลงที่มีลักษณะหล่มเพื่อการหว่านต้นกล้าได้ แต่ไม่สามารถปลูกโดยวิธีการปักดำด้วยเครื่องปักดำได้ เนื่องจากเครื่องจะติดหล่ม ใช้อัตราเมล็ดพันธุ์น้อยกว่าการหว่านน้ำตม สามารถควบคุมและลดปริมาณวัชพืชและข้าววัชพืชได้ดีกว่าทำนาหว่านน้ำตม ลดการใช้สารเคมีในการป้องกันศัตรูข้าวเมื่องเทียบกับการหว่านน้ำตม ข้าวแตกกอดีผลผลิตใกล้เคียงการทำนาดำ ส่วนข้อเสียวิธีการเพาะเมล็ดในถาดค่อนข้างยุ่งยาก เพระหลุมถาดมีขนาดเล็กการหยอดเมล็ดการใส่ดินต้องใช้เครื่องมือช่วย การโยนกล้าจะสม่ำเสมอสู้การปักดำไม่ได้โดยต้นกล้าที่โยนจะกระจัดกระจายไม่เป็นแถวเป็นแนว เข้าไปดูแลและกำจัดวัชพืชระหว่างการเจริญเติมโตได้ลำบาก
CONTACT
169/47 ถ.พุทธมณฑลสาย 4 ต.กระทุ่มล้ม  อ.สามพราน จ.นครปฐม 73220
086-070-0007
ananindustry@gmail.com
https://www.ananindustry.com
WORKING DAYS/HOURS
วันจันทร์ - วันเสาร์
8.00 - 17.00 น.
Copyright © 2008 Anan Industry Company Limited. All Rights Reserved