รวมสูตรอาหารใส่กัญชาตำหรับอาหารสมุนไพรเทรนด์ใหม่เพื่อสุขภาพ

รวมสูตรเมนูอาหารใส่กัญชาตำรับอาหารไทย เทศ ทั้งคาวหวาน เครื่องดื่ม

"อาหารไทย" มีวิวัฒนาการสืบทอดมาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ด้วยความมีเอกลักษณ์ และคุณประโยชน์จากเครื่องเทศ และ สมุนไพรประจำถิ่นจึงทำให้อาหารไทย นอกจากมีรูปแบบที่เป็นเอกลักษณ์เป็นที่นิยมของนานาชาติแล้ว อาหารไทยยังมีสรรพคุณทางยาอีกด้วยซึ่งสามารถบรรเทาอาการของโรคต่างๆได้หลายโรค และยังมีประโยชน์ต่อสุขภาพจึงจัดได้ว่าเป็น "อาหารเพื่อสุขภาพ" โดย "อาหารที่มีสมุนไพรกัญชาผสมอยู่" ก็จัดได้ว่าเป็นอาหารเพื่อสุขภาพเช่นเดียวกัน ซึ่งมีงานวิจัยกัญชาในอาหารสมันสนุอย่างมากมาย

กัญชาเป็นพืชสมุนไพรชนิดหนึ่ง เป็นที่รู้จักมาอย่างยาวนานทั้งในไทยและต่างประเทศ และประชาชนยิ่งให้ความสนใจมากขึ้น เมื่อรัฐบาลของประเทศไทยปลดล็อกกัญชา กัญชง เพื่อใช้ประโยชน์ทางการแพทย์และการศึกษาวิจัย และ อนุมัติให้ใช้ กิ่ง ราก ก้านใบ ของต้นกัญชาและกัญชง โดยไม่ผิดกฎหมาย แต่ต้องได้รับการรับรองร่วมกับภาครัฐ และยืนยันแหล่งผลิตกัญชาได้ ทำให้หลายคนหลายภาคส่วนสนใจที่จะนำกัญชาและกัญชงมาใส่ในอาหาร เครื่องดื่ม ผลิตภัณฑ์อาหาเสริม และ เครื่องสำอาง ซึ่งเป็นการต่อยอดของธุรกิจให้กับผลิตภัณฑ์นั้นๆได้เป็นอย่างดี

การมีสุขภาพที่ดีได้ต้องรู้จักรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย กัญชา กัญชง มีสรรพคุณต่อสุขภาพร่างกายมากมายจากงานวิจัยหลายๆงานวิจัย ทางเราจึงได้
รวบรวมสูตรวิธีทำเมนูอาหารที่มีกัญชาเป็นส่วนประกอบ ทั้ง "สูตรเมนูอาหารไทย" "สูตรเมนูอาหารเทศ" "สูตรเมนูของหวาน" "สูตรเมนูเครื่องดื่ม" ซึ่งเป็นสูตรอาหารที่ใส่กัญชาเป็นส่วนประกอบและอาหารเหล่านี้ยังมีประโยชน์ต่อสุขภาพร่างกายด้วยพืชสมุนไพรกัญชา ทั้งนี้ ผู้ที่ยังไม่เคยรับประทานควรใส่ปริมาณกัญชาในอาหารเพียงเล็กน้อยและรับประทานอย่างระมัดระวัง

จึงหวังเป็นอย่างยิ่งว่าสูตรเมนูอาหารผสมกัญชานี้ จะมีประโยชน์และเหมาะอย่างยิ่ง เพื่อเป็นทางเลือกหนึ่งสำหรับผู้มีความประสงค์ที่จะประกอบเมนูอาหารผสมกัญชากินกันเองภายในบ้านหรือ ทำเมนูอาหารผสมในกัญชาในร้านอาหาร

เมนูอาหารใส่สมุนไพรกัญชา


กัญชากับตำรับเมนูอาหารไทย

วัฒธรรมการรับประทานอาหารของคนไทยนั้นมีเอกลักษณ์และความหลากหลายแตกต่างกันไปตามภูมิภาค การนำใบกัญชามาเป็นส่วนหนึ่งในตำหรบอาหารนั้น มักจะนิยมนำมาผสมในเมนูอาหารที่มีรสเผ็ดร้อนจัดจ้าน เช่น ต้มยำ แกงป่า แกงอ่อม น้ำพริก หากได้รับประทานอาหารรสเผ็ดที่มีกัญชาผสมอยู่ จะช่วยลดอาการท้องอืด ท้องเฟ้อ คลื่นไส้ อาเจียน เวียนศีรษะ ปวดตามร่างกาย นอนไม่หลับ และอื่นๆ ซึ่งเป็นอาการทางธาตุลมให้ทุเลาลงได้

ส่วนต่างๆของกัญชาที่ใช้เป็นส่วนผสมในสูตรเมนูอาหาร

ใบกัญชาสด

จะมีสาร THCA ไม่มีฤทธิ์เมา และเมื่อถูกแสงหรือความร้อนจะทำให้เกิดกระบวนการเปลี่ยนแปลง จาก THCA เป็น THC หรือเรียกว่าสารเมา
การศึกษาเบื้องต้น พบว่า THCA มีฤทธ์ลดการอักแสบปกป้องสมอง ต้านการชัก ต้านอาเจียน ในต่างประเทศนำใบกัญชาสดมาบริโภค ในรูปของอาหารและเครื่องดื่ม เช่น น้ำคั้น น้ำปั่น ผักเคียง และสลัด

ใบกัญแห้ง

ใบกัญชาแห้งมีสาร THC หรือสารเมาเมื่อผ่านความร้อนสูงหรือมีส่วนประกอบไขมันสูงระยะเวลาในการปรุงที่นานจะยิ่งทำให้สาร THC เพิ่มขึ้นได้

ใบอ่อนเมื่อแห้งแล้วจะมี สารเมา มากกว่าใบแก่

ภูมิปัญญาดั้งเดิมใช้ใบกัญชาช่วยชูรสในอาหาร และทำให้กินข้าได้ นอนหลับ ซึ่งสอดคล้องกับการศึกษาสมัยใหม่ ที่พบว่าในใบกัญชา มี Glutamic acid (กรดกลูตามิ) ที่ทำให้อาหารมีรสชาติที่ดีขึ้น และสาร THC ช่วยเพิ่มความอยากอาหารและนอนหลับ แต่ยังคงต้องมีการศึกษาวิจัยเพิ่มเติมในเรื่องนี้เพื่อให้เกิดการใช้ที่ปลอดภัยและมีประโยชน์ต่อสุขภาพอย่างแท้จริง

การนำกัญชามาปรุงผสมในอาหารตามวิธีชาวบ้านในสมัยก่อนมักจะปรุงผสมในอาหารที่มีรสเผ็ดร้อน ที่มีสมุนไพร เครื่องเทศ พริก ขิง ข่า ตะไคร้ พริกไทย กะเพรา เป็นองค์ประกอบรวมอยู่ด้วย และในแต่ละพื้นที่ก็มีเมนูอาหารที่แตกต่างกัน ทางเราจึงรวบรวมเมนูและสูตรวิธีทำที่มีกัญชาผสมอยู่เพื่อให้ทุกคนทุกอาชีพได้ฝึกทำ
การปรุงอาหารด้วยใบกัญชาให้ปลอดภัยและได้ประโยช์ต่อสุขภาพ
กินกัญชาอย่างไรให้ปลอดภัย
กินกัญชาอย่างไร ให้ปลอดภัยและมีผลดีต่อสุขภาพ
• กินใบสด กินเป็นผัก กินเป็นน้ำคั้นสด
• กินแบบไม่ผ่านความร้อนนานๆ เช่น ใส่แบบใบกะเพรา
• อาหารตุ๋นต้มแกง กินแต่น้ำ ไม่กินใบที่ใส่ลงไป
• ใบที่กินทั้งใบ ใส่ลงในอาหาร ใบที่ผ่านความร้อนเช่น การนำใบกัญชาทอดไม่ควรเกิน 5-8 ใบ/วัน
• ควรกินให้ถูกต้องในปริมาณที่พอดี

ผู้ที่ไม่ควรรับประทานกัญชาที่มีส่วนผสมในอาหาร
การใช้กัญชาอย่างปลอดภัสำหรับผู้บริโภค ควรสำรวจตนเองก่อน ว่าอยู่ในกลุ่มที่ไม่ควรใช้กัญชาหรือไม่ หากอยู่ในกลุ่มต่อไปนี้ ก็ไม่ควรใช้กัญชาหรือบริโภคอาหารที่มีส่วนผสมของกัญชา ได้แก่
• หญิงตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร
• ผู้ที่มีอายุต่ำกว่า 18 ปี
• ผู้ป่วยโรคหัวใจที่ไม่สามารถควบคุมอาการได้
• ผู้ป่วยที่ได้รับยาต้านการแข็งตัวของเลือด
• ผู้ป่วยที่มีภาวะการทำงานของตับหรือไตรบกพร่องรุนแรง
• ผู้ป่วยที่มีประวัติโรคทางจิตเวช
• ผู้ป่วยที่ใช้ยาวาร์ฟารินใช้ยาที่มีผลต่อระบบประสาทส่วนกลาง
อาการไม่พึงประสง์ที่อาจเกิดขึ้นได้เมื่อใช้กัญชาใส่ผสมอาหาร
อาการผิดปกติที่พบบ่อย
• ง่วงนอนมากกว่าปกติ
• ปากแห้งคอแห้ง
• วิงเวียงศรีษะ คลื่นไส้อาเจียน
อาการผิดปกติที่ควรไปพบแพทย์
• หัวใจเต้นเร็วและรัวผิดจังหวะ
• เป็นลมหมดสติ
• เจ็บหน้าอกร้าวไปที่แขน
• เหงื่อแตก ตัวสั่น
• อึดอัดหายใจไม่สะดวก
• เดินเซ พูดไม่ชัด
• สับสน กระวนกระวาย วิตกกังวล หวาดระแวงไม่สมเหตุสมผล
• หูแว่ว เห็นภาพหลอน พูดคนเดียว อารมณ์แปรปรวน
การบรรเทาอาการของอาการไม่พึงประสงค์
1. ในบางรายอาจมีอาการปากแห้งคอแห้ง จะเกิดขึ้นได้ทันทีหรือตลอดทั้งวัน แนะนำให้ดื่มน้ำเพิ่มหลังจากรับประทานจากสูตรอาหารผสมใบกัญชาหรือจิบน้ำเพิ่มตลอดทั้งวัน
2. ในบางรายมีอการคลื่นใส้ อาเจียน จะเกิดขึ้นทันทีหลังรับประทานจากสูตรอาหารที่ผสมใบกัญชา แนะนำให้สังเกตอาการและระยะเวลาที่มีอาการ ดื่มชาชงขิงหรือน้ำจากขิง หากอาการไม่ดีขึ้นแนะนำให้พบแพทย์
3. บางรายที่อาการผิดปกติรุนแรงหลังลับประธานจากสูตรอาหารผสมกัญชา เช่น ใจสั่น หัวใจเต้นเร็ว อึดอัดหายใจไม่สะดวก และอื่นๆ จะเกิดขึ้นได้ทันทีหลังรับประทาน แนะนำให้หยุดรับประทานทันทีและไปพบแพทย์
CONTACT
169/47 ถ.พุทธมณฑลสาย 4 ต.กระทุ่มล้ม  อ.สามพราน จ.นครปฐม 73220
086-070-0007
ananindustry@gmail.com
https://www.ananindustry.com
WORKING DAYS/HOURS
วันจันทร์ - วันเสาร์
8.00 - 17.00 น.
Copyright © 2008 Anan Industry Company Limited. All Rights Reserved