กัญชาเป็นพืชสมุนไพรทางการแพทย์ที่สามารถรักษาโครได้หลายโรคสำหรับผู้ป่วย

กัญชา พืชสมุนไพรความหวังของผู้ป่วย

พืชสมุนไพรที่เรียกว่า "กัญชา" เป็นไม้ล้มลุก ลำต้นไม่มีเนื้อไม้จัดอยู่ในวงศ์ Canabidaceae วงศ์เดียวกันกับปอกระเจา ชื่อสามัญที่ใช้เรียกชื่อกัญชาคือ Marijuana หรือ Hemp มีชื่อทางพฟกษศาสตร์ว่า Cannabis sativa L. ประกอบด้วยชนิดย่อย (Subspecies) หรือพันธุ์ทางพฤกษศาสตร์ (Botanical variety : var.) ได่แก่
กัญชา : Cannabis sativa L. var. indica
กัญชง : Canabis sativa L. var. sativa
ใบกัญชามีลักษณะมน แฉกลึกเข้าไปทางก้าน หลายแฉก ดอกสีเขียว ช่อดอกตัวผู้และช่อดอกตัวเมียอยู่ต่างต้นกัน ใบและช่อดอกตัวเมียที่แห้งเรียกว่า กระหลี่กัญชา ใช้สูบปนกับยาสูบ มีสรรพคุณทำให้มึนเมาเปลือกลำต้นใช้ทำเชือกป่านและ ทอผ้า

ในส่วนต่างๆ ของต้นกัญชา เช่นใบ ช่อดอกมีสารออกฤทธิ์ที่ทำให้มึนเมาหรือใช้เป็นยารักษาโรค ได้แก่ ทีเอชซี (THC : tetrahy-drocannabinol) มีฤทธิ์เป็นยาเสพติด เมื่อเสพเข้าไปแล้วทำให้เกิดอาการมืนเมา มีอาการฟั่นเฟือนเพราะฤทธิ์ของสาร สารอีกตัวหนึ่งคือ ซีบีดี (CBD : Cannabidiol) มีสรรพคุณเป็นยารักษาโรค ผลิตภัณฑ์ซีบีดีบริสุทธิ์ผสมอยู่ เช่น Epidiolex ใช้รักษาโรคลมชัก (Epilepsy) อย่างได้ผลเป็นที่น่าพึงพอใจ แต่ขณะนี้ยังอยู่ในขั้นทดสอบระยะที่ 3

ในปัจจุบันองค์การอนามัยโลกยังจัดกัญชาเป็นยาเสพติดเพียงแต่มีการประกาศเพิ่มเติมว่า สารสกัดกัญชาที่มี ทีเอชซี (THC) ที่มีฤทธิ์เป็น สารเสพติด นั้นหากมีค่าต่ำกว่า 0.2% ก็สามารถนำไปใช้ประโยชน์อย่างอื่นได้ โดยในต่างประเทศนั้น การใช้กัญชารักษาโรค ต้องทำภายใต้การดูแลของแพทย์ เพื่อสามารถติดตามผู้ป่วย และป้องกันการได้รับผลกระทบจากฤทธิ์ของกัญชา

สารออกฤทธิ์ในกัญชา

พันธุ์กัญชาที่ปลูกกันทั่วไป มีปริมาณสารออกฤทธิ์ ทีเอชซี (THC : terahydrocannabinol) และ ซีบีดี (CBD : cannabidiol) มากน้อยแตกต่างกันออกไป ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายๆด้าน เช่น สายพันธุ์ สภาพแวดล้อม ภูมิอากาศ การเขตกรรม เป็นต้น โครงกาหลวงและคณะศึกษาวิจัย กัญชา 9 สายพันธุ์ที่ภาคเหนือของประเทศไดทย ได้ข้อมูลที่น่าสนใจหลายอย่าง พอสรุปคร่าวๆ ได้ คือ

• กัญชาทุกสายพันธุ์มีปริมาณสาร ทีเอชซี (THC) ค่อนข้างสูง
• กัญชาอายุ 90 วันมี THC 0.754-0.939%, มี CBD 0.361-0.480%
• กัญชาระยะออกดอกมี THC 1.035-1.142%, มี CBD 0.446-0.509%
• ช่อดอกตัวผู้อายุ 90วันมี THC 1.035-1.142%, มี CBD 0.4%, ช่อดอกตัวเมียอายุ 120วัน มี THC 1.0%, มี CBD 2.5%
• ในอายุ 90วัน มี THC 0.8%, มี CBD 0.4%, ใบต้นตัวผู้มี THC 0.79%, มี CBD 0.4% โดยน้ำหนัก
• พันธุ์แม่สายใหม่, ปางอุ๋ง, และห้วยหอย ระยะออกดอกมี THC 0.762, 0.773, และ 0.866% มีอัตราส่วน CBD/THC เท่ากับ 0.92, 0.87, และ 0.78% โดยน้ำหนัก ตามลำดับ
• กัญชาทุกสายพันธุ์ที่ปลูกในพื้นที่สูง มีสาร THC ข่อนข้างสูง

พันธุ์กัญชาที่ปลูกเพื่อใช้ประโยชน์ทางด้าน นันทนาการ หรือ เพื่อผ่อนคลายความตึงเครียด จะมีประมาณสารทีเอชซี (THC) มากกว่าซีบีดี (CBD) มากในช่อดอกตัวเมียแห้ง ส่วนพันธุ์ที่ปลูกเพื่อประโยชน์ทางด้านใช้เป็นยารักษาโรค จะมีปริมาณสารซีบีดี (CBD) ในระดับที่สูงกว่า สารทีเอซชีเมื่อเข้าสู่ร่างกาย จะมีผลทำให้สมรรถนะประสาทควบคุมกล้ามเนื้อและกระบวนการรับรู้อ่อนกำลังลง และเกิดผลทางกายภาพบางอย่าง รวมเอาอัตราการเต้นของหัวใจและปากแห้ง ในการศึกษาทดลองการใช้สาร ซีบีดีทางคลินึกพบว่าแม้จะให้สารซีบีดีในอัตราสูงโดยวิธีกลืนลงกระเพาะ จะไม่เกิดผลอย่างที่เกิดกับสารทีเอชซี และน้ำมัญกัญชาที่อุดมด้วยสาร ทีเอชซ๊
สารที่ออกฤทธิ์ในกัญชา คือ ทีเอชซี THC ซีบีดี CBD

ตำรับยาผสมกัญชา

กัญชาเป็นพืชสมุนไพรที่มีประโยชน์ แต่ถ้าใช้ไม่เป็นก็มีโทษมหันต์ การใช้ต้องอยู่ภายใต้การควมคุม แพทย์ที่สั่งจ่ายยาต้องผ่านการอบรมการใช้กัญชาทางการแพทย์และมีใบอนุญาติ กรมการแพทย์แผ่นไทยได้จัดการอบรม การใช้กัญชาแพทย์แผ่นไทย-หมอพื้นบ้าน ทั่วประเทศ จำนวนเกือบ 4,000 คน และมีการเตรียมทำตำรับยา และ เครื่องยากลาง กระจายให้โรงพยาบาลใช้ปรุงและรักษาคนป่วย

สถาบันการแพทย์แผนไทย ในฐานะประธานคณะกรรมการด้านการประเมินรับรองตำรับยาแผนไทยที่มีกัญชาและกระท่อมและการใช้ยาแผ่นไทยทีมีกัญชาและกระท่อมปรุงผสมอยู่ ได้จัดทำร่างเกณฑ์การพิจารณารับรอง ตำรับยาปรุ่งเฉพาะรายที่มีกัญชาผสมของหมอพื้นบ้าน เสนอต่อคณะกรรมการอำนวยการนำกัญชามาใช้ทางการแพทย์มีอธิบดีกรมการแพทย์แผนไทย และการแพทย์ทางเลือกพิจารณาก่อนส่งต่อให้คณะกรรมการยาเสพติด พิจารณาต่อไป
เกณฑ์รับรองตำรับยากัญชา มี 5ข้อ คือ
1. เป็นตำรับยาที่มีส่วนผสมของกัญชา
2. มีแหล่งความรู้ที่อ้างอิง หรือมีความสอดคล้องกับหลักเกณฑ์การตั้งสูตรตำรับและกรรมวิธีการปรุงยาตามองค์ความรู้การแพทย์แผนไทยหรืออื่นๆ เช่น ตำรา คัมภีร์ ครูหมอ ตำรับยาแผนไทยของชาติที่คณะกรรมการ เห็นสมควร
3. มีประสบการณ์ในการใช้ตำรับยาผสมกัญชาและพึงมีหลักฐานที่แสดงถึงประสิทธิภาพและความปลอดภัย
4. ควรพิจารณาตำรับยาสมุนไพรที่เป็นวัตถุอันตรายตามเกณฑ์แสดงถึงประสิทธิภาพและความปลอดภัย
5. หลักเกณฑ์อื่นๆ ตามที่คณะกรรมการเห็นสมควร

การแพทย์แผ่นไทยและการแพทย์ทางเลือกได้เปิดการอบรมผู้ที่มีสิทธิ์สั่งใช้กัญชาทางการแพทย์แผ่นไทยในพื้นที่กรุงเทพเพื่อสร้างวิทยากรการใช้กัญชาทางการแพทย์แผ่นไทย ไปจัดอบรมต่อพร้อมกันทั่วประเทศ 13เขตสุขภาพ ตลอดจนมีการจัดอบรมพร้อมกันทั่วประเทศ ทั้งส่วนกลางและเขตสุขภาพ 13 แห่ง โดยผู้เข้ารับการอบรมต้องเป็นแพทย์แผนไทย ที่มีใบประกอบวิชาชีพสาขาเวชกรรมไทยต้องผ่านกาทดสอบความรู้ไม่น้อยกว่าร้อยละ 60 จึงจะได้รับประกาศนียบัตรเป็นผู้ผ่านการอบรมหลักสูตร การใช้ตำหรับยาแผนไทยที่มีกัญชาปรุงผสมอยู่ ต่อจากนี้จะส่งรายชื่อผู้ที่ผ่านการอบรมไปให้สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) เพื่อขึ้นทะเบียนให้เป็นผู้มีสิทธิ์สั่งใช้

ขณะนี้มีตำรับยาสมุนไพรที่มีกัญชาปรุงฟสมอยู่จำนวน 16 ตำรับและกรมการแพทย์แผ่นไทยเคาะผ่าน 10 ตำรับยากัญชาจากตำรับยาที่ส่งมาให้พิจารณะ 59ตำรับจาก 22 จังหวัด ระบุหมอพื้นบ้านผู้ยื่นคำขอรับยาเท่านั้นที่ใช้ได้ คนอื่นทำได้แค่เอาไปวิจัย
อนุญาติ 16 ตำหรับยาผสมกัญชาทางการแพทย์
กรมการแพทย์แผนไทยจะผลิต ผลิตภัณฑ์สำเร็จรูป 2สูตร คือ
1. น้ำมันสนั่นไตรภพที่ช่วยลดอาการแทรกซ้อนในผู้ป่วยมะเร็งรังไข่มะเร็งมดลูก มะเร็งตับในระยะเริ่มต้นและช่วยแก้กษัยเหล็กหรืออาการท้องแข็งเป็นดาน ซึ่งส่วนหนึ่งคือ โรคมะเร็ง
2. ยาริดสีดวงทวารหนักและโรคผิวหนังและจัดทำเครื่องยากลาง 3สูตร คือ
2.1 ช่อดอกกัญชากับพริกไทยอ่อน อัตราส่วน 1:1
2.2 ใบกัญชากับพริกไทยอ่อน อัตราส่วน 1:0.25
2.3 ก้านกัญชากับบอระเพ็ด อัตราส่วน 1:1
เพื่อกระจายให้แก่โรงพยาบาลและให้แพทย์แผนไทย แพทย์ไทยประยุกต์ใช้ในการปรุงและจ่ายยาแก่ผู้ป่วย สำหรับวัตถุดิบจะเป็นทั้ง กัญชาและกัญชาสดจากสำนักงานป้องกันและปราบปรามยาเสพติด (ป.ป.ส) และจากองค์กรอื่นๆ ที่กำหนดไว้ คาดว่าอาจใช้กัญชาถึง 13ตัน/ปี

กัญชาไม่ใช่ยาวิเศษ

กัญชาไม่สามารถรักษาสารพัดโรคได้ ทางการอนุญาตให้ใช้ น้ำมันกัญชา รักษาโรค หรืออาการผิดประติ มีเพียง 4 กลุ่มโรค ที่ใช้กัญชามีประโยชน์ในการรักษา คือ
1. ภาวะคลื่นไส้อาเจียนในผู้ป่วยที่ได้รับยาเคมีบำบัด
2. โรคลมชักที่รักษายาก และโรคลมช้กที่ดื้อต่อยารักษา
3. ภาวะกล้ามเนื้อหดเกร็งในผู้ป่วยปลอกประสาทเสื่อมแข็ง
4. ภาวะปวดประสาทที่ใช้วิธีรักษาอื่นและไม่ได้ผล

โรคที่กัญชาอาจจะมีประโยชน์ในการรักษา เช่น โรคพาร์กินสัน อัลไซเมอร์ โรควิตกกังวล โรคปลอกประสาทอักเสบ ผู้ป่วยที่ต้องดูแลแบบประคับประคอง ผู้ป่วยมะเร็งระยะสุดท้าย และโรคอื่นๆ

การใช้ประโยชน์จากสาร ซีบีดี (CBD) ในการรักษาโรคลมชัก (Epilepsy) ทางคลินิก มีความก้าวหน้ามากที่สุด สารซีบีดีแสดงให้เห็นว่าสามารถรักษาอาการของโรคลมชักบางประเภทได้อย่างเป็นที่น่าพอใจการทดลองใช้ผลิตภัณฑ์ซึ่งมีสารซีบีดีบริสุทธ์ผสมอยู่ในปัจจุบันยังอยู่ในการทดลองระยะที่ 3 ในการรักษาผู้ป่วยโรคลมชักสาร CBD อัตราระหว่าง 200-300 มก./วัน อาจใช้เดี่ยวๆ หรือใช้ร่วมกับยารักษาโรคลมชักที่ใช้อยู่ การใช้ CBD อัตรา 20มก./กก. ต่อวัน โดยการกลืนลงกระเพาะเพื่อรักษาโรค Dravet syndrome ซึ่งเป็นอาการ
ประโยชน์ของกัญชาต้องใช้ให้ถูกวิธีก็สามารถรักษาได้หลายโรค
--------  คำค้น  --------
CONTACT
169/47 ถ.พุทธมณฑลสาย 4 ต.กระทุ่มล้ม  อ.สามพราน จ.นครปฐม 73220
086-070-0007
ananindustry@gmail.com
https://www.ananindustry.com
WORKING DAYS/HOURS
วันจันทร์ - วันเสาร์
8.00 - 17.00 น.
Copyright © 2008 Anan Industry Company Limited. All Rights Reserved