กัญชงมีประโยชน์ทางด้านอุตสาหกรรมต่างๆหลากหลายด้าน

กัญชงพืชสมุนไพรมหัศจรรย์

ก่อนหน้าที่ใครๆ จะหันมาสมใจ กัญชา และเรียกร้องให้กัญชาเป็นพืชที่สามารถปลูกได้อย่างถูกกฎหมาย โดยอ้างประโยชน์ของกัญชาที่สามารถนำมาใช้ทางการแพทย์ได้ เคยมีเรื่องของ "กัญชง" มาก่อน โดยคณะรัฐมนตรีได้อนุมัติให้มีการปลูก "กัญชง" นำร่องใน 6จังหวัดภาคเหนือ ตั้งแต่ปี 2560 เป็นต้นไป เพื่อให้ประชาชนใช้ประโยชน์จากกัญชงในแง่ของสิ่งประดิษฐ์และสมุนไพร เป็นการสร้างอาชีพและรายได้ 6จังหวัดนี้ประกอบไปด้วย จังหวัดเชียงใหม่ (อำเภอเม่วาง แม่ริม สะเมิง และแม่แจ่ม) จังหวัดเชียงราย (อำเภอเทิง เวียงป่าเป้า และแม่สาย) จังหวัดน่าน (อำเภอนาหมื่น สันติสุข และสองแคว) จังหวัดตาก (อำเภอพบพระ) จังหวัดเพชรบูรณ์ (อำเภอหล่มเก่า เข้าข้อ และเมือง) จังหวัดแม่ฮ่องสอน (อำเภอเมือง)

กัญชงจากยาเสพติดสู่พืชเศรษฐกิจ

ตาม พ.ร.บ. ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 กัญชา และ กัญชง เป็นพืชที่มีลักษณะใกล้เคียงกัน จึงถูกระบุให้เป็นยาเสพติดให้โทษประเภทที่ 5 ห้ามมิให้ผู้ใดผลิต และจำหน่าย นำเข้า ส่งออก ห้ามมีไว้ในครอบครอง เว้นแต่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารสุขจะอนุญาติโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการควบคุมยาเสพติดให้โทษเป็นรายๆ ไป

ในปี พ.ศ. 2547 สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถพระบรมราชนนีพันปีหลวง เสด็จ ทรงงานในพื้นที่ดอยยาว ดอยผาหม่น ดอยผาจิ จังหวัดเชียงราย ทรงมีพระราชเสานีย์ที่จะให้หน่วยงานในพื้นที่ส่งเสริมทดสอบการปลูกต้นกัญชงสำหรับใช้เส้นใยมาทอผ้า และหัตกรรมโดยให้ชาวไทยภูเขา เข้ามาเรียนรู้และนำภูมิปัญญาท้องถิ่นมาต่อยอดให้เกิดประโยชน์กับชุมชนบนพื้นที่สูง ทั้งนี้ชาวม้งในอดีตทอผ้าใช้เอง และ เส้นใยที่นำมาทอผ้าคือเส้นใยจากต้นกัญชงนั่นเอง
นอกจากนี้วิถีชีวิตของชาวม้งยังผูกพันกับเส้นใขกัญชง โดยใช้ในพิธีกรรมต่างๆ เช่น ใช้ทำเป็นเส้นด้ายสายสิญจน์ ใช้ในพิธีอัวเน้งหรือเข้าทรง ซึ่งเป็นประเพณีที่สำคัญของชาวม้ง รวมทั้งใช้ถักทอเป็นรองเท้าสำหรับคนตายเพื่อเดินทางไปสู่สวรรค์

มูลนิธิโครงการหลวงได้ทำการศึกษาข้อมูลจากหลายฝ่ายและเห็นว่า กัญชงสามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้หลายลักษณะโดยเฉพาะเส้นใยสามารถนำมาทอผ้าได้ จึงต้องการส่งเสริมชาวบ้านมีอาชีพและรายได้จากการปลูกกัญชง เป็นการสนองพระราชเสาวนีย์ เมื่อคณะรัฐมนตรีอนุมัติให้มีการปลูกกัญชงได้ มูลนิธิโครงการหลวงจึงมอบหมายให้สถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง (องค์การมหาชน) ทำข้อตกลงกับเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการในการปลูกกัญชง

ข้อตกลงดังกล่าวระบุว่า เกษตรกรที่ต้องการเข้าร่าวนโครงการจะต้องมีพื้นที่และอาเขตแน่นอน ทำรั้วล้อมรอบพื้นที่ปลูก มีป้ายระบุจำนวนพื้นที่ปลูก ชื่อเกษตรกรเจ้าของพื้นที่หมายเลขทะเบีนที่ได้รับอนุญาต มีการจดบันทึกการปลูกทุกระยะ กำหนดวันปลูกและวันเก็บเกี่ยว คณะกรรมการสามารถเข้าไปตรวจสอบได้ทุกเมื่อ ถ้าใครไม่ปฎิบัติตามข้อตกลง คณะกรรมการสามารถตัดต้นกัญชงทิ้งได้ทั้งแปลงและไม่อนุญาติให้เข้าร่วมโครงการ
ประวัติความเป็นมากัฐชงก่อนจะเป็นพืชเศรษฐกิจถูกกฎหมาย

พฤกษศาสตร์ของกัญชง

กัญชง มีชื่อสามัญเป็นภาษาอังกฤษว่า Hemp ชื่อทางวิทยาศาสตร์คือ Canabis sativa L. subsp. Stiva อยู่ในวงศ์กัญชา (Cannaba-ceae) มีแหล่งกำเนินในเอเซียกลาง แพร่กระจายไปสู่เอเซียตะวันออกและยุโรป เป็นไม้ล้มลุกมีอายุเพียง 1ปี ลำต้นตั้งตรง มีความสูงเฉลี่ยประมาณ 3 เมตร ตอนเป็นต้นกล้ามีลักษณะอวบน้ำ จะเริ่มสร้างเนื้อไม้เมื่ออายุ 2-3 สัปดาห์ ช่วงแรกๆ จะเติบโตช้า หลังจาก 6 สัปดาห์ ไปแล้วเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว ลักษณะรากเป็นระบบรากแก้ว มีรากแขนงจำนวนมาก ขยายพันธุ์โดยการใช้เมล็ด ใช้เวลางอกไม่เกิน 15วัน สามารถเก็บเกี่ยวได้เมื่ออายุ 3-4 เดือน

ใบกัญชง เป็นใบเดี่ยวรูปฝ่ามือ ใบแก่แยกเป็นแฉก 7-9 แฉกเมื่อมีสารสร้างดอก จำนวนแฉกของใบจะลดน้อยลง ขอบใบหยักเป็นฟันเลื่อย ปลายในสอบ เรียว แหลม
ดอกกัญชง ออกเป็นช่อตามซอกใบและปลายยอด ดอกมีขนาดเล็กสีขาว ดอกเป็นแบบแยกเพศ และอยู่ต่างต้นกัน ดอกเพศผู้เป็นช่อที่แตกแขนง (Panicle) ดอกมีกลีบเลี้ยง 5กลีบ แยกจากกันเป็นอิสระสีเขียวอมเหลือง มีเกสร 5อัน ระยะการบานประมาณ 2เดือน ดอกเพศเมืยจะออกตามซอกใบและปลายยอด ช่อดอกจะอัดแน่น (Spike) ดอกมีกลีบเลี้ยงสีเขียวหุ้มรังไข่ไว้ภายใน มีเกสรเพศเมีย 2อัน สีน้ำตาลแดง อายุของดอกเพียง 3-4 สัปดาห์ จึงกลายเป็นผล
ผลกัญชง รูปไข่ ผิวเรียบเป็นมัน ลายประสีน้ำตาล เมื่อแห้งจะเป็นสีเทาขนาดประมาณ 0.5ซม. เมล็ดในมีน้ำมันกว่า 30% ประกอบด้วยไขมันอิ่มตัว ทั้งไลโนเลอิค และ โอลิอิค มีโอเมก้า 3, 6, 9 และสารในกลุ่มวิตามินอี

กัญชง มีสารสำคัญ คือ Tetrahydro-cannabinol หรือ THC สาร Cannabinol หรือ CBN และสาร Canna-bidiol หรื CBD สาร THC เป็นสารเสพติดมีฤทธิ์กระตุ้นประสาททำให้ผู้เสพมีอาการตื่นเต้น ช่างพูด หัวเราะตลอดเวลา สำหรับสาร CBD เป็นสารต้านการออกฤทธิ์ของ THC แต่ในกัญชงมีสาร THC ต่ำกว่าในกัญชา จากการศึกษาของศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์เชียงใหม่กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข โดยการทดลองปลูกกัญชงสายพันธุ์ต่างๆ ทั้งสายพันธุ์ท้องถิ่น และสายพันธุ์ต่างประเทศในสภาพแวดล้อมและความสูงของพื้นที่ต่างกัน พบว่า สาร THC และ CBD ในกัญชงจะเพิ่มตามอายุของต้น และจะเพิ่มขึ้นมากในระยะออกดอก
ลักษณะต้น ใบ ดอก ผล กัญชง

ประโยชน์และสรรพคุณกัญชงในด้านต่างๆ

ใบกัญชง มีสรรพคุณในการบำรุงโรหิต ทำให้ผ่อนคลาย สดชื่นทำให้นอนหลับสบาย ช่วยรักษาอาการวิงเวียนศีรษะ ปวดศีรษะ ไมเกรน ช่วยแก้กระหาย รักษาโรคท้องร่วง โรคบิด บรรเทาอาการเจ็บปวด คลายความเกร็งของกร้ามเนื้อ และรักษาโรคเกาต์ เมล็ดกัญชงใช้เป็นยาสลายนิ้ว นอกจากนี้ยังสามารถสกัดน้ำมันนำมาใช้ปรุงอาหารได้ มีสารสำคัญต่างๆ ดังที่กล่าวมาแล้ว มีประโยชน์ในการป้องกันโรคหัวใจและหลอดเลือด รวมทั้งลดการเกิดมะเร็งในร่างกายด้วย

น้ำมันจากเมล็ดกัญชงสามารถนำไปผลิตน้ำมันซักแห้ง สบู่ เครื่องสำอางหลายชนิด เช่น ครีมกันแดด แชมพู โลชั่นบำรุงผิว ลิปสติก แผ่นมาสก์หน้า ครีมบำรุงผิวรักษาผิวแห้ง และโรคสะเก็ดเงิน เป็นต้น นอกจากนี้น้ำมันกัยชงยังใช้เป็นเชื้อเพลิงได้ด้วย

เมล็ดกัญชงยังมีโปรตีนสูง นำมาทำผลิตภัณฑ์ต่างๆ ได้อีกหลายชนิด เช่น เนย ชีส เต้าหู้ นม ไอศกรีม อาหารเสริม ขนมขบเคี้ยว หรือ แปรรูปเป็นแป้งใช้ทดแทนถั่วเหลืองได้เป็นอย่างดี

เปลือกจากลำต้นกัญชงให้เส้นใยนำไปทำเชือก และเส้นด้ายใช้สำหรับทอผ้า เส้นใยกัญชงเป็นเส้นใยที่มีคุณภาพสูง มีความแข็งแรงกว่าฝ้าย สามารถดูดซับความชื้นได้ดีกว่าไนล่อน และให้ความอบอุ่นมากว่าลินิน เหมาะสำหรับนำมาทำเครื่องนุ่งห่ม เพราะเมื่อสวมใส่ยามอากาศร้อนจะรู้สุกเย็นสบาย ถ้าสวมใส่ยามอากาศเย็นจะให้ความอบอุ่นเพราะช่วยดูดซับความร้อน ดูดกลิ่น และสารพิษจากร่างกายที่ขับออกมากับเหงื่อ ผ้าที่ทอจากเส้นใยกัญชงยังบางเบาสวมใส่ได้สบายตัว ไม่ระคายเคืองผิว ให้สัมผัสนุ่ม มีความยืดหยุ่นดีทนทานต่อการซัก ยิ่งซักยิ่งนุ่ม ไม่มีกลิ่นอับชื้น และไม่ขึ้นราแม้อยู่ในที่อับชื้น ยิ่งไปกว่านั้นยังมีผลวิจัยของสถาบันฟิสิกส์และวิทยาศาสตร์แห้งชาติของสาธารณรับประชาชนจีนยืนยันว่า ผ้าที่ทอจากเส้นใยกัญชงสามารถป้องกันรังสี UV ได้ถึง 100% และในประเทศญี่ปุ่นถือว่าเส้นใยกัญชงเป็นเส้นใยมงคลที่ชาวญี่ปุ่นนิยมนำมาตัดชุดกิโมโน เพราะเป็นผ้าที่มีความทนทานสูงได้นับร้อยปี เส้นใยกัญชงมีความพิเศษที่เป็นผลดีต่อสุขภาพ กล่าวคือไม่มีโรคแมลงศัตรูพืชชนิดใดสามารถทำลายต้นกัญชงได้ รองเท้าที่ทำจากเส้นใยกัญชงจะป้องกันเท้าของผู้สวมใส่จากโรคเหน็บชา และโรคผิวหนังที่เกิดจากเชื้อรา ช่วยป้องกันแมลงมีพิษต่อย

เนื้อไม้ของต้นกัญชงที่ลอกเปลือกออกแล้วนำมาเป็นวัตถุดิบผลิตกระดาษได้ ส่วนแกนของต้นกัญชงมีคุณสมบัติในการดูดซับกลิ่น น้ำหรือน้ำมันได้ดี ในต่างประเทศนิยมนำไปผลิตพลังงานชีวมวลในรูปแบบต่างๆ เช่น แอลกอฮอล์ ถ่านไม้ เอทานอล เมทานอล เป็นต้น รวมถึงการนำไปทำผลิตภัณฑ์ตกแต่งและเฟอร์นิเจอร์ด้วย

ใบของกัญชง นำมารับประทานได้ในหลายรูปแบบ เช่น นำมาตากแห้งชงเป็นชาดื่มเพื่อสุขภาพ นำมากัญชงผสมกับอาหารอื่นๆ ผลิตเป็นอาหารเสริม นำมาเป็นส่วนผสมของเส้นพาสต้า คุกกี้ ขนดปัง เจลลี่เพื่อสุขภาพ ที่น่าสนใจคือ นำมาสกัดทำเป็นน้ำมันหอมระเหยเพื่อใช้ในอุตสาหกรรมเครื่องสำอาง มีคุณสมบัติช่วยถนอมผิว ให้ผิ้วชุ่มชื้น
ประโยชน์และสรรพคุณกัญชงในด้านต่างๆ
--------  คำค้น  --------
CONTACT
169/47 ถ.พุทธมณฑลสาย 4 ต.กระทุ่มล้ม  อ.สามพราน จ.นครปฐม 73220
086-070-0007
ananindustry@gmail.com
https://www.ananindustry.com
WORKING DAYS/HOURS
วันจันทร์ - วันเสาร์
8.00 - 17.00 น.
Copyright © 2008 Anan Industry Company Limited. All Rights Reserved