สารสกัดใบแปะก๊วย สุดยอดสมุนไพรบำรุงร่างกาย
ประโยชน์สรรพคุณมากมาย
จำหน่ายขายส่งสารสกัดใบแปะก๊วย Ginkgo Extract

สารสกัดใบแปะก๊วย : Ginkgo Extract


ผู้ผลิตนำเข้าและจำหน่ายขายส่งสารสกัดใบแปะก๊วย Ginkgo Extract

รหัสสินค้า
sqc005
ชื่อสินค้า
สารสกัดใบแปะก๊วย
ชื่อสินค้าภาษาอังกฤษ
Ginkgo Extract
ขนาดบรรจุ
1Kg, 5Kg, 10Kg, 25Kg
หมวดหมู่
สารสกัดจากธรรมชาติ
ใช้สำหรับ
ผลิตภัณฑ์อาหารเสริม, ผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง
การจัดส่ง
ทัวประเทศ

มารู้จักพืชสมุนไพรแปะก๊วย

แปะก๊วย (Ginkgo biloba) มีถิ่นกำเนิดจากทวีปเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ เป็นต้นไม้ที่ถูกนำมาใช้เป็นสมุนไพรและผลิตยาตั้งแต่สมัยโบราณ ต้นแปะก๊วยไม่มีความเกี่ยวเนื่องทางสายพันธุ์กับต้นไม้อื่นๆ แต่สามารถดำรงชีวิตนานถึง 240ล้านปี ถูกขนานนามว่า "ฟอสซิลที่มีชีวิต" ต้นแปะก๊วยมีความคงทนแข็งแรงและสามรถเจริญเติบโตได้ง่าย มีความสูง 30-40 เมตร

แปะก๊วยมีชื่อทางวิทยาศาสตร์ คือ Ginkgo biloba L. ชื่อวงศ์ คือ Ginkgoaceae โดยสารสกัดทางเคมีต้นแปะก๊วยสามารถสกัดได้ 2ส่วน ได้แก่ ใบแปะก๊วย และ ผลแปีก๊วย
มารู้จักพืชสมุนไพรแปะก๊วยมีถิ่นกำเนิดจากทวีปเอเซียตะวันออกเฉียงใต้

แปะก๊วยกับการรักษาโรค

แปะก๊วย พืชสมุนไพรที่ชาวจีนเชื่อว่าเป็นยาอายุวัฒนะ สามารถบำบัดโรคต่างๆได้ ช่วยบำรุงสมอง ทำให้มีสมาธิและความจำดีขึ้น ช่วยในการนอนหลับ เป็นพืชที่มีการแยกต้นเป็นเพศผู้ และ เพศเมืย ใบแปะก๊วยมีลักษณะคล้ายใบพัด แยกออกเป็น 2กลีบ สารที่สกัดได้จากใบแปะก๊วยมีสารหลายชนิด เช่น สาร Flavonoids, Terpenoids สารที่สกัดเหล่านี้มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ (Free radical) เพิ่มการไหลเวียนของโลหิตไปสู่สมองและปลายเมือ ปลายเท้า ซึ่งเป็นเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดการอุดตันของเส้นเลือดที่ไปเลี้ยงสมอง เพราะเมื่อสมองขาดเลือดไปหล่อเลี้ยง ย่อมเสื่อมสมรรถภาพและฝ่อไปในที่สุด ส่งผลต่อการทำงาน และ ประสิทธิภาพของสมองทำให้เกิดการหลงลืมในผู้ป่วยสูงอายุ หรือโรคความจำเสื่อม ที่เรียกว่า อัลไซเมอร์ (Alzheimer disease)

ปัจจุบันหลายๆ ประเทศได้ให้การยอมรับและพูดถึงสรรพคุณของ
ใบแปะก๊วยมีประโยชน์ในการรักษาโรคสมองเสื่อม โดยการนำสารสกัดจากใบเปะก๊วยมารวมกับ Phospholipids ให้อยู่ในรูปของ Phytosome ซึ่งช่วยให้การดูดซับที่ผนังลำใส้เล็กได้ดีขึ้น ทำให้ร่างกายสามารถนำเอาสารสกัดจากใบเปะก๊วยมาใช้ประโยชน์ได้มากขึ้น นอกจากนี้ยังมีการนำเอาสารสกัดใบแปะก๊วยมาทำเป็นผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร เพื่อบำรุงสมอง และช่วยให้เลือดไหลเวียนได้ดีขึ้น ใช้รักษาโรคความจำเสื่อม โรคซึมเสณ้า อาการหลงๆลืมๆ อันเนื่องมาจากเลือดไปเลี้ยงสมองไม่เพียงพอ และยังนำมาใช้กับกลุ่มอาการนอนไม่หลับ
ประโยชน์ที่ได้รับจากสารสกัดใบแปะก๊วย
ประโยชน์ที่ได้รับจากสารสกัดเมล็ดแปะก๊วย

ประโยชน์และสรรพคุณของแปะก๊วย

- สารสกัดจากใบแปะก๊วยเป็นสารต่อต้านอนุมูลอิสระ
- ช่วยกระตุ้นการไหลเวียนของโลหิต ทำให้มีก๊าซออกซิเจนไปเลี้ยงสมอง หัวใจ และอวัยต่างๆ ตามร่างกาย
- ช่วยชะลอความแก่ชรา
- ป้องกันโรคมะเร็ง
- ช่วยบำรุงสมอง ป้องกันโรคสมองเสื่อม
- ช่วยให้ผุ้ป่วยอัลไซเมอร์มีพัฒนาการรับรู้และเข้าสังคมได้ดีขึ้น
- ช่วยในเรื่องการเพิ่มสมาธิและช่วยเพิ่มความจำความคิด
- ช่วยต้านโรคซึมเศร้าอย่างได้ผลสำหรับผู้ป่วยที่ไม่ตอบสนองต่อการรักษาแบบทั่วไป
- ช่วยลดอาการตะคริว
- ช่วยลดอาการเจ็บกล้ามเนื้อ
- ลดการอักเสบ แก้ไอ
- ช่วยเพิ่มสมรรถภาพทางเพศ
- ช่วยลดอาการวิงเวียนศรีษะ เสียงในหู หรือหูอือลงได้
- ป้องกันและรักษาโรคศูนย์กลางจอประสาทตาเสื่อม
- ป้องการโรคเบาหวาน
- ป้องกันโรคเบาหวานขึ้นตา
- สำหรับผู้ป่วยโรคหอบหืด การรับประทานใบแปะก๊วยจะช่วยป้องกันการหดตัวของกล้ามเนือหลอดลม
- ช่วยในการนอนหลับ
- ยับยั้งการสร้างเชื้อราและเชื้อแบคทีเรียบนผิวหนัง
- ช่วยลดอาการอักเสบและการบวมแดงบนผิวหนัง
- บรรเทาอาหารของโรคพาร์กินสัน
- สามารถผลิตฮอร์โมนโดปามีนได้มากขึ้น
ประโยชน์ของใบแปะก๊วยสรรพคุณต่อสุขภาพบรรเทาโรคต่างๆ

สารออกฤทธิ์ที่สำคัญของแปะก๊วย

สารออกฤทธิ์ในใบแปะก๊วย
• สารกลุ่มเทอร์ปีนอยด์ (Terpinoidal compounds) สารจำพวกเทอร์ปีนอยด์ในใบแปะก๊วย ประกอบด้วยสารเซสควิเทอร์ปีน ได้แก่ ไบโลบาไลด์ และ ไดเอทอร์แลคโตน 5ชนิด ซึ่งเรียกรวมกันว่า "กิงโกไลต์" (Ginkolides) ได้แก่ Ginkgolides A, B, C, J และ M
สารออกฤทธิ์ที่สำคัญของแปะก๊วยไบไลบาไลด์
สูตรโครงสร้างของไบโลบาไลด์
สารออกฤทธิ์ที่สำคัญของแปะก๊วยกิงโกไลด์
สูตรโครงสร้างของกิงโกไลด์
• สารกลุ่มฟลาโวนอยด์ (Flavonoids) ในใบแปะก๊วยมี Flavonol Glycosides ประมาณ 20 ชนิด เช่น Quercetin-3-rhamnoside, Kaempferol-3-rhamnoside, Quercitin-3-rutinoside, Kaempferol-3- rutinoside และ P-coumaric ester ของ Querctin และ Kaempferol Glucorhamnosides
สารออกฤทธิ์ที่สำคัญของแปะก๊วย Flavonoidss
สูตรโครงสร้างของ Flavonoidss จากใบแปะก๊วย
นอกจากนี้ใบแปะก๊วยยังมีสารจำพวก Biflavonoids หลายชนิด เช่น Amentoflavone, Bilobetol และ 5-methaxybilobetol, Ginkgetin, Isoginkgetin และ Sciadopitysin ซึ่งเป็นสารที่พบเฉพาะในใบแปีก๊วยเท่านั้น
สารออกฤทธิ์ที่สำคัญของแปะก๊วย Biflavonoids
สูตรโครงสร้างของสาร Biflavonoids ในใบแปะก๊วย
นอกจากนี้ในใบแปะก๊วยยังมีสารจำพวกสเตอรอล (Sitosterol และอนุพันธุ์ Glucoisde), Aliphatic alcohol, Ketone, กรดอินทรีย์ และน้ำตาล เช่น กลูโคส ฟรุคโตส และแซคโตส เป็นต้น
สารออกฤทธิ์ในผลแปะก๊วย
• เนื้อในเมล็ดแปะก๊วยมีสารแคมเปสเตอรอล (Campesterol) ซึ่งเป็นสารจำพวกสเตอรอยด์ในผลมีกรด Ginkgolic และ Isoginkgolic ซึ่งเป็นสารพวกเบนซินอยด์

ผลการทดลองการออกฤทธิ์ในแปะก๊วย

• ฤทธิ์กระตุ้นระบบไหลเวียนโลหิต (Ciculation Stimulation)
สารสกัดด้วยอะซิโตน และเอทธานอล 100% ของใบแปะก๊วย มีผลในการกระตุ้นการไหลเวียนของโลหิต เมื่อฉีดสรละลาย 50, 100, 150 และ 200 มก. ของสารสกัด เข้าทางเส้นเลือดดำในคนไข้ 42 คน พบว่าสามารถเพิ่มการไหลเวียนของโลหิตผิวหนังได้ โดยออกฤทธิ์จะเพิ่มขึ้นเป็นสัดส่วนกับปริมาณสารสกัดที่ให้
จากการศึกษาผู้ป่วยที่เป็นโรคเส้นเลือดแดงส่วนปลายอุดตัน จำนวน 60 คน โดยให้สารสกัด EGB 761 ปริมาณ 40มก. วันละ 3ครั้ง เป็นเวลา 24 สัปดาห์พบว่าสารสกัดดังกล่าวช่วยให้ผู้ป่วยสามารถเดินได้
• ฤทธิ์เพิ่มความสามารถในการเรียนรู้ (Learning Enhancement)
การทดลองโดยให้สารสกัดอะซิโตน-น้ำ(1:1) ของใบแปะก๊วยในขนาด 50 มก./กก. ในหนูขาวพบว่าหนูสามรถเรียนรู้ได้รวดเร็วขึ้นเมื่อให้สารสกัดก่อนการทดสอบ ส่วนสารสกัดเอทธานอบ 95% ในขนาด 100มก./กก. ให้แก่หนูถึบจักร พบว่าหนูสามารถเรียนรู้ได้เร็วขึ้นและสามารถจดจำสิ่งที่เรียนรู้ได้
• ฤทธิ์ยับยั้งการเกิดลิปิดเพอรอกไซด์ (Lipid peroxide formation inhibition)
จากการทดสอบฤทธิ์ของสารสกัดเอทธานอล 30% ของใบแปะก๊วยกับเซล์เลี้ยงของเซลล์บุผนังหลอดเลือดแดงที่ไปยังปอด มีผลให้การยับยั้งการสร้างลิปิดเพอรอกไซด์ซึ่งเหนี่ยวนำด้วย tert-vutylperoxide
• ฤทธิ์ช่วยให้ความจำดีขึ้น (Memory enhancement effect)
สารสกัดนำ-แอลกอฮอล์ ในขนาด 40 มก./กก. เมื่อฉีดเข้าช่องท้องของหนูถีบจักร ช่วยเพิ่มความสามารถในการเรียนรู้และความจำของสัตว์ทดลอง นอกจากนี้การให้สารสกัดเอทธานอล 100% ในขนาด 120-240 มก./วัน แก่ผู้ป่วยทำให้การรับรู้ดีขึ้น เมื่อให้สารสกัดเอทธานอล 30% ในขนาด 320มก./คน แก่ผู้ป่วยสูงอายุ 18 คน ซึ่งมีอาการความจำเสื่อมเนื่องมาจากความชรา พบว่าสารสกัดดังกล่าวสามารถให้ความจำของผู้ป่วยดีขึ้น
• ฤทธิ์ทำให้หลอดเลือดหดตัว (Vasoconstrictor activity)
สารสกัดใบแปะก๊วย 30% เอธานอล เมื่อให้รับประทานในขนาด 320มก./คน ร่วมกับสารสกัดโสมในอัตราส่วน 3:5 พบว่ามีผลทำให้หลอดเลือดหดตัว โดยวัดจากความดันโลหิต 1ชั่วโมง หลังจากให้ยา
• ฤทธิ์ทำให้หลอดเลือดขยายตัว (Vasodilator activity)
เมื่อให้สารสกัดในแปะก๊่วย 30% เอทธานอล ทางหลอดเลือดดำอย่างช้าๆ (i.v infusion) ในขนาด 25มล./คน แก่ผู้ป่วย 15 คน ซึ่งมีแผล (Lesion) ที่เส้นเลือดแดงนอกกะโหลกศีรษะ เมื่อทำการวัดการไหลเวียนเลือดที่ผิวหนังที่ส่วนมือและส่วนเท้า พบว่าเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ
• ฤทธิ์เพิ่มการมองเห็น (Visual improvement)
การให้สารกสัดแปะก๊วย (95% เอธานอล) ทางปากแก่ผู้ป่วยที่มีอาการ Senile macular degeneration ซึ่งอาจทำให้ตาบอดได้นั้น พบว่าสามารถทำให้การมองเห็นระยะยาวและ Visual field ของผู้ป่วยดีขึ้น นอกจากนี้การให้สารสกัดแปะก๊วยแก่ผู้ป่วยเบาหวานที่มีอาการเสื่อมของจอตาระยะเริ่มแรกเป็นเวลา 6เดือนพบว่าผู้ป่วยสามรถมองเห็นได้ดีขึ้น

ข้อควรระวังและผลข้างเคียงในการรับสารสกัดจากใบแปะก๊วย

• การใช้สารสกัดจากใบแปะก๊วยอย่างต่อเนื่องเป็นระยะเวลานานๆ อาจจะทำให้เส้นเลือดขยายตัวมากจนก่อให้เกิดอันตรายต่อร่างกาย ซึ่งถ้ามีบาดแผลหรือต้องได้รับการผ่าตัด จะส่งให้เลือดไหลไม่หยุดได้ อีกทั้งยังมีผลต่อการเกาะตัวของเกล็ดเลือดทำให้เลือดไม่แข็งตัว จึงมีข้อห้ามในการใช้สารสกัดแปะก๊วยกับยาต้านการแข็งตัวของเลือด น้ำมันปลา และสมุนไพรที่ทำให้เลือดไม่หยุดด้วยเช่นกัน
• ถ้ากินสารสกัดใบแปะก๊วยในปริมาณมาก อาจทำให้เกิดอาหารคลื่นไส้ อาเจียน ท้องเสีย และมีอาหารกระวนกระวาย
• สำหรับหญิงตั้งครรภ์และให้นมบุตร ยังไม่มีงานวิจัยตีพิมพ์ถึงเรื่องความปลอดภัย หรือผลที่อาจจะเกิดกับทารก
อีกทั้งหากรับประทานสารสกัดใบแปะก๊วยมากเกินไปอาจมีผลข้างเคียงทำให้ปวดศีรษะ มึนงง เวียนศีรษะ ทางเดินอาหารปั่นป่วน หรืออาจเกิดอาการแพ้ทางผิวหนัง ระบบหายใจและหลอดเลือดผิดปกติ ง่วงซึม ระบบการนอนหลับก็ปั่นป่วนไปด้วย

ประโยชน์สารสกัดที่เกี่ยวข้อง

CONTACT
169/47 ถ.พุทธมณฑลสาย 4 ต.กระทุ่มล้ม  อ.สามพราน จ.นครปฐม 73220
086-070-0007
ananindustry@gmail.com
https://www.ananindustry.com
WORKING DAYS/HOURS
วันจันทร์ - วันเสาร์
8.00 - 17.00 น.
Copyright © 2008 Anan Industry Company Limited. All Rights Reserved