8 ขั้นตอนวิธีการปลูกข้าวโพดหวาน ได้ฝักเต็ม ผลผลิตเพิ่ม

8 ขั้นตอนวิธีการปลูกข้าวโพดหวานให้โตไว ได้ฝักเต็ม ผลผลิตเพิ่ม
ตารางเนื้อหา
    หน้า   1   2  

1. พันธุ์ข้าวโพดหวาน

ขั้นตอนที่ 1 คัดเลือกพันธุ์ข้าวโพดหวานที่นิยมปลูก
พันธุ์ข้าวโพดหวาน
พันธุ์ข้าวโพดหวานที่นิยมปลูกมี 2 ชนิด

1.1 พันธุ์ผสมเปิด

  • ลักษณะทางการเกษตรไม่สม่ำเสมอเมื่อเปรียบเทียบกับพันธุ์ลูกผสม
  • สามารถเก็บเมล็ดไว้ทำพันธุ์ได้ไม่น้อยกว่า 2 - 3 รุ่น โดยปลูกให้ห่างจากพันธุ์อื่นไม่ น้อยกว่า 300 เมตร หรือทิ้งช่วงการปลูกจากพันธุ์อื่นไม่น้อยกว่า 21 วัน แล้วคัดเลือกเฉพาะฝักที่มี ลักษณะตรงตามพันธุ์อย่างน้อย 200 ต้นต่อไร่
  • พันธุ์ที่นิยมปลูกในปัจจุบัน ได้แก่ ฮาวายเอี้ยนชูการ์ และซูปเปอร์สวิท

1.2 พันธุ์ลูกผสม

  • เป็นพันธุ์ที่นิยมปลูกมากกว่าพันธุ์ผสมเปิด มีลักษณะทางการเกษตรสม่ำเสมอ เช่น ขนาดฝัก ความสูงฝัก ความสูงต้น อายุถึงวันออกไหม ผลผลิตและคุณภาพสูงกว่าพันธุ์ผสมเปิด เป็นที่ต้องการของ โรงงานอุตสาหกรรมแปรรูปและการบริโภคผักสด
  • ไม่สามารถเก็บเมล็ดไว้ทำพันธุ์ได้
  • พันธุ์ที่นิยมปลูกในประเทศไทยมี 2 ชนิด คือ ข้าวโพดหวานที่มียีนบริทเทิล (brittle) ควบคุมความหวาน และข้าวโพดหวานที่มียีนชรังเค่น (shrunken) ควบคุมความหวาน

พันธุ์ที่ผลิตโดยหน่วยงานราชการ

มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้แก่ พันธุ์อินทรีย์ 2 (ลูกผสม) ผลผลิตทั้งเปลือกประมาณ 1,800 กิโลกรัมต่อไร่ พันธุ์ซูปเปอร์สวีท และฮาวายเอี้ยน (ผสมเปิด) ผลผลิตทั้งเปลือก ประมาณ 1,500 1,900 กิโลกรัมต่อไร่ สถานที่ติดต่อ ศูนย์วิจัยข้าวโพดและข้าวฟ่างแห่งชาติ อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา โทรศัพท์ 044-361770-4 โทรสาร 044-361108

พันธุ์ที่ผลิตโดยภาคเอกชน

- บริษัท แปซิฟิคเมล็ดพันธุ์ จำกัด ได้แก่ พันธุ์ไฮบริกซ์ 10 ผลผลิตทั้งเปลือกประมาณ 2.900 กิโลกรัมต่อไร่ พันธุ์ไฮ-บริกซ์ 3 ผลผลิตทั้งเปลือกประมาณ 3,700 กิโลกรัมต่อไร่ สถานที่ติดต่อ หมู่ 13 ถนนพหลโยธิน อำเภอพระพุทธบาท จังหวัดสระบุรี 18120 (ตู้ ป.ณ.15) โทรศัพท์ 036-266319 โทรสาร 036-266508

- บริษัท ผลิตภัณฑ์ข้าวโพดหวาน จำกัด ได้แก่ พันธุ์เอทีเอส-2 และเอทีเอส-5 ผลผลิต ทั้งเปลือกประมาณ 2,000 3.000 กิโลกรัมต่อไร่ สถานที่ติดต่อ 99 หมู่ 1 ถนนท่าน้ำตื้น-เขาปูน ตำบลแก่งเสี้ยน อำเภอเมือง จังหวัดกาญจนบุรี โทรศัพท์ 034 653298 9 โทรสาร 034 653300

- บริษัท ขินเจนทา ชิดส์ จำกัด ได้แก่ พันธุ์ชูการ์ 73 ผลผลิตทั้งเปลือกประมาณ 2,500 3,500 กิโลกรัมต่อไร่ พันธุ์ชูการ์ 74 ผลผลิตทั้งเปลือกประมาณ 2,000 3,000 กิโลกรัมต่อไร่ สถานที่ติดต่อ 159/30 ถนนวิภาวดีรังสิต แขวงตลาดบางเขน เขตหลักสี่ กรุงเทพฯ โทรศัพท์ 02-5510300 ต่อ 116-118 โทรสาร 02-9736068

- บริษัท อินเตอร์เอเซียน ซีดส์ จำกัด (เครือเจริญโภคภัณฑ์) ได้แก่ พันธุ์หวานทวิวรรณ 2 ผลผลิตทั้งเปลือกประมาณ 2.200 - 2.400 กิโลกรัมต่อไร่ สถานที่ติดต่อ 11 หมู่ 7 บ้านโป่งมะขาม ตำบลคลองยาง อำเภอสวรรคโลก จังหวัดสุโขทัย

แหล่งเชื้อพันธุกรรม

- แหล่งพันธุกรรมของข้าวโพดเขตร้อน (germplasm sources of tropical maize)

- ศูนย์วิจัยข้าวโพดและข้าวสาลีนานาชาติ (CIMMYT) ได้จัดกลุ่มของข้าวโพดพื้นที่ราบ เขตร้อนที่เกิดจากการรวบรวมแหล่งพันธุกรรมที่มีลักษณะดีต่างๆ ไว้ 2 กลุ่ม โดยได้แยกเป็นกลุ่มของ พันธุ์อายุสั้นและพันธุ์อายุปานกลาง เพื่อใช้เป็นแหล่งของพันธุกรรมในการปรับปรุงพันธุ์

แหล่งผลิตที่สำคัญ

- ภาคเหนือ เชียงราย เชียงใหม่ และกำแพงเพชร

- ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ นครราชสีมา

- ภาคกลาง ลพบุรี สระบุรี และปทุมธานี

- ภาคตะวันตก กาญจนบุรี นครปฐม และสุพรรณบุรี

2. การปลูกข้าวโพดหวาน

ขั้นตอนที่ 2 วิธีการปลูกข้าวโพดหวาน
การปลูกข้าวโพดหวาน

2.1 การเตรียมพื้นที่ปลูก

2.1.1 วิเคราะห์ดินก่อนปลูก ถ้าดินมีความเป็นกรด - ด่าง ต่ำกว่า 5.5 ก่อนเตรียมดินควร หว่านปูนขาวอัตรา 100 - 200 กิโลกรัมต่อไร่ สำหรับดินร่วนทรายและอัตรา 200 - 400 กิโลกรัมต่อไร่ สำหรับดินร่วน ดินเหนียวแล้วไถกลบ

2.1.2 เตรียมดิน 2 ครั้ง ไถดะ 1 ครั้ง และไถแปรหรือพรวน 1 ครั้ง ปรับระดับดินให้สม่ำเสมอ แล้วคราดเก็บเศษซาก ราก เหง้า หัว และไหลของวัชพืชข้ามปีออกจากแปลง

2.2 กำหนดละยะปลูก

  2.2.1 อัตราการปลูกที่เหมาะสมสำหรับการบริโภคผักสดประมาณ 8,500 ตันต่อไร่ และสำหรับ อุตสาหกรรมแปรรูป 8,500 - 11,000 ตันต่อไร่

  2.2.2 ระยะปลูก

     - ปลูกบนพื้นทีราบ ถ้าปลูกเป็นแถวเดี่ยว ใช้ระยะระหว่างแถว 75 เซนติเมตร ระหว่างหลุม 25 เซนติเมตร ถ้าปลูกเป็นแถวคู่ให้ปลูกข้างสันร่องแบบสลับฟันปลา ระยะระหว่างร่อง 120 เซนติเมตร ระยะระหว่างหลุม 25 - 30 เซนติเมตร จำนวน 1 เมล็ดต่อหลุม (8.500 - 11.000 ต้นต่อไร่)

     - ปลูกบนร่องสวน ขนาดของร่องสวนกว้าง 4 5 เมตร ระยะปลูก 50 x 50 เซนติเมตร จำนวน 2 เมล็ดต่อหลุม

2.3 ข้อพิจารณาการซื้อเมล็ดพันธุ์ข้าวโพด

  2.3.1 ฉลากต้องมีการระบุชื่อบริษัทที่เชื่อถือได้มาตรฐาน สถานที่ผลิต วัน เดือน ปีที่ผลิต และมีความงอกของเมล็ดพันธุ์สูงกว่าร้อยละ 90

  2.3.2 ถุงและกล่องบรรจุเมล็ดพันธุ์ ควรเลือกเมล็ดพันธุ์บรรจุในถุงและกล่องทีอยู่ในสภาพดีเมล็ดพันธุ์ได้รับการคลุกสารเคมีป้องกันโรคและแมลง ไม่มีรอยทำลายจากแมลง เชื้อรา สัตว์ศัตรูพืช

  2.3.3 เมล็ดพันธุ์ต้องมีขนาดสม่ำเสมอ และเกษตรกรควรนำเมล็ดพันธุ์ไปทดสอบความงอก ก่อนปลูกซึ่งไม่ควรต่ำกว่าร้อยละ 90 โดยเพาะเมล็ดจำนวน 100 เมล็ดในกระบะทราย รดน้ำและนับ จำนวนต้นที่งอกหลังจากเพาะ 1 สัปดาห์

  2.3.4 เมล็ดพันธุ์ต้องคลุกเมตาแลกซิล (35%SD) ป้องกันโรคราน้ำค้าง อัตรา 7 กรัม/ เมล็ดพันธุ์ข้าวโพดหวาน 1 กิโลกรัม

2.4 วิธีปลูก

  2.4.1 ใช้จอบขุดเป็นหลุม หรือใช้รถไถเดินตาม หรือแทรกเตอร์ติดหัวเปิดร่อง หยอดเมล็ด หลุมละ 1 เมล็ด กลบดินให้แน่น

     - พื้นที่ราบ ถ้าปลูกเป็นแถวเดี่ยวใช้ระยะระหว่างแถว 75 เซนติเมตร ระหว่างหลุม 25 เซนติเมตร ถ้าปลูกเป็นแถวคู่ให้ปลูกข้างสันร่องแบบสลับพันปลา ระยะระหว่างร่อง 120 เซนติเมตร ระยะระหว่างหลุม 25 30 เซนติเมตร จำนวน 1 เมล็ดต่อหลุม (8,500 11,000 ตันต่อไร่)

     - ปลูกบนร่องสวน ขนาดของร่องสวนกว้าง 4 - 5 เมตร ระยะปลูก 50 x 50 เซนติเมตร

  2.4.2 เมล็ดพันธุ์ที่มีความงอกสูงกว่า 85 เปอร์เซ็นต์ ให้หยอด 1 เมล็ดต่อหลุมใช้เมล็ดพันธุ์ 1.0 - 1.5 กิโลกรัมต่อไร่ ถ้าเมล็ดพันธุ์มีความงอกต่ำกว่า 85 เปอร์เซ็นต์ ควรหยอดเมล็ด 1 - 2 เมล็ดต่อ หลุม ใช้เมล็ดพันธุ์ 1.5 - 2.0 กิโลกรัมต่อไร่ ควรใช้พันธุ์ลูกผสมเพราะให้ผลผลิตสูง

3. การดูแลรักษาข้าวโพดหวาน

ขั้นตอนที่ 3 การดูแลรักษาข้าวโพดหวาน
การดูแลรักษาข้าวโพดหวาน

3.1 การให้น้ำ

  3.1.1 ปลูกบนพื้นที่ราบสามารถให้น้ำทั้งแบบตามร่อง และแบบพ่นฝอย
     - การให้น้ำตามร่องควรให้น้ำสูงประมาณ 3 ส่วน 4 ของร่องเพื่อให้เมล็ดข้าวโพด งอกสม่ำเสมอ หลังจากนั้นให้น้ำทุก 3 - 5 วัน สำหรับดินร่วนหรือดินร่วนปนทราย หรือ 7 - 10 วัน สำหรับดินร่วนเหนียวปนทราย ไม่ควรปล่อยให้น้ำท่วมขังในแปลงนานเกิน 24 ชั่วโมง เพราะข้าวโพดหวาน จะชะงักการเจริญเติบโต ผลผลิตลดลงหรืออาจตาย
     - การให้น้ำแบบพ่นฝอย ควรให้ทุก 7 - 10 วัน ตลอดฤดูปลูก และจะประหยัดกว่า การให้น้ำแบบตามร่อง
  3.1.2 ปลูกบนร่องสวนโดยการตักน้ำสาดหรือใช้เครื่องสูบน้ำวางในเรือขนาดเล็กสูบน้ำในร่อง
     - ควรให้น้ำทันทีหลังปลูกและหลังให้ปุ๋ยทุกครั้ง
     - ถ้าใบข้าวโพดหวานเหี่ยวหรือม้วนในช่วงเช้าหรือเย็นแสดงว่าขาดน้ำ ต้องให้น้ำทันทีควรระวังอย่าให้ขาดน้ำในช่วงผสมเกสร และช่วงติดเมล็ดเพราะจะทำให้ผลผลิตลดลงมาก

3.2 การให้ปุ๋ย

  3.2.1 ดินร่วน ดินร่วนเหนียวปนทรายใส่สูตร 16-20-0 ดินร่วนปนทรายใส่สูตร 15-15-15 อัตรา 50 กิโลกรัมต่อไร่ รองกันร่องพร้อมปลูก
  3.2.2 เมื่อข้าวโพดหวานอายุ 20 วัน ใส่ปุ๋ยเคมีสูตร 46-0-0 อัตรา 50 กิโลกรัมต่อไร่ หรือสูตร 21-0-0 อัตรา 100 กิโลกรัมต่อไร่ โรยข้างต้นหรือข้างแถวแล้วพรวนกลบ
  3.2.3 ในกรณีที่มีการระบายน้ำดีแต่ข้าวโพดหวานมีลักษณะต้นเตี้ยและใบเหลือง ควรใส่ ปุ๋ยเคมีสูตร 46-0-0 อัตรา 25 กิโลกรัมต่อไร่ เมื่อข้าวโพดหวานอายุ 40 - 45 วัน

4. การอนุรักษ์ศัตรูธรรมชาติของข้าวโพดหวาน

ขั้นตอนที่ 3 การอนุรักษ์ศัตรูธรรมชาติของข้าวโพดหวาน
การอนุรักษ์ศัตรูธรรมชาติของข้าวโพดหวาน
ศัตรูธรรมชาติของแมลงและสัตว์ศัตรูข้าวโพดหวานที่สำคัญ

4.1 ตัวห้ำ

  1. แมลงทางหนีบ ตัวเต็มวัยสีน้ำตาลเข้ม ลำตัวเรียวยาวขนาด 1.6 เซนติเมตร ปีกคู่หน้า 2 คู่สีเหลืองอ่อน ขอบปีกสีดำ ปีกคู่หลังยาวกว่าปีกคู่หน้าแต่สั้นกว่าส่วนท้อง ที่ปลายท้องมีอวัยวะ คล้ายคีม 1 คู่

  2. แมลงช้างปีกใส ตัวเต็มวัยลำตัวเรียวยาว ปีกโค้งบางใสขนาดใหญ่ยาวกว่าลำตัว ปีกมี สีเขียวอ่อนหรือสิน้ำตาลอ่อน เห็นเส้นปึกชัดเจน หนอนมีลำตัวเรียวยาวสีน้ำตาลอ่อนมีแถบสีน้ำตาล พาดลำตัว มีกรามคล้ายเขี้ยว

  3. ด้วงเต่า ตัวเต็มวัยมีขนาด 0.3 0.7 เซนติเมตร ลำตัวกลม ด้านบนโค้งนูน ปีกมีสีส้ม หรือสีแดงเป็นเงา บางชนิดมีจุด หรือแถบสีดำ วางไข่เป็นกลุ่มหรือเป็นฟองเดี่ยวบนพื้นผิวพืช ไข่มี ลักษณะเรียวยาวหัวท้ายแหลมสีเหลืองอ่อน หนอนมีสีดำรูปร่างเรียวคล้ายกระสวย บางครั้งมีจุดหรือ แถบสีส้ม

4.2 ตัวเบียน

  1. แดนเบียนไข่ไตรโคแกรมมา ตัวเต็มวัยมีขนาด 0.6 มิลลิเมตร วางไข่ในไข่ของผีเสื้อหนอน เจาะต้นข้าวโพด หนอนเจาะสมอฝ้าย ทำให้ไข่เปลี่ยนเป็นสีดำ และไม่ฟักเป็นหนอน

  2. แตนเบียนหนอนบราโคนิด ตัวเต็มวัยมีสีดำขนาด 2.5 มิลลิเมตร วางไข่ในตัวหนอน กระทู้หอมและดูดกินอยู่ภายใน หลังจากนั้นจะออกมาสร้างใยและถักเป็นรังหุ้มลำตัวแล้วเข้าดักแด้ ภายในรัง หนอนกระทู้หอมที่ถูกแตนเบียนหนอนบรานิโคนิดเข้าทำลายจะมีสีเหลืองซีด เคลื่อนไหวช้า ไม่กินอาหาร และตายในที่สุด

4.3 นกฮูก นกแสก เหยี่ยว พังพอนและงู

  นกฮูก นกแสก เหยี่ยว พังพอนและงู เป็นศัตรูธรรมชาติจับกินหนูศัตรูข้าวโพดหวาน ศัตรูธรรมชาติทั้ง 3 กลุ่มมีประสิทธิภาพในการควบคุมแมลงและศัตรูพืช ดังนั้นในการป้องกันกำจัด สัตว์ศัตรูข้าวโพดหวานควรใช้วิธีการที่ปลอดภัยเพื่ออนุรักษ์ศัตรูธรรมชาติที่เป็นประโยชน์ดังกล่าว

5. การป้องกันกำจัดโรคและศัตรูพืชของข้าวโพดหวาน

ขั้นตอนที่ 5 การป้องกันกำจัดโรคและศัตรูพืชของข้าวโพดหวาน
การป้องกันกำจัดโรคและศัตรูพืชของข้าวโพดหวาน

5.1 โรคที่สำคัญ

5.1.1 โรคราน้ำค้างหรือใบลาย (Downy mildew)

สาเหตุ เชื้อรา Peronosclerospora sorghi (Weston & Uppal) C.G. Shaw
ลักษณะอาการ ระบาดรุนแรงในระยะต้นอ่อน ถึงอายุประมาณ 1 เดือน ทำให้ยอดมีข้อถี่ ต้นแคระแกร็น ใบเป็นทางสีขาว เขียวอ่อน หรือเหลืองอ่อนไปตามความยาวของใบ พบผงสปอร์สีขาวเป็นจำนวนมากบริเวณใต้ใบในเวลาเข้ามืดที่มีความชื้นสูง ถ้าระบาดรุนแรงดันจะแห้งตาย แต่ถ้าต้นอยู่รอดจะไม่ออกฝักหรือติดฝัก แต่ไม่มีเมล็ด เชื้อราจะติดไปกับเมล็ดสปอร์ปลิวไปตามลมและน้ำ
ช่วงเวลาระบาด ระบาดรุนแรงในฤดูฝนที่มีอุณหภูมิต่ำและความชื้นสูง
การป้องกันกำจัด
- ไม่ใช้เมล็ดพันธุ์จากแหล่งที่มีโรคระบาด
- ในแหล่งที่มีการระบาดของโรครุนแรงเป็นประจำ ได้แก่ จังหวัดอุทัยธานี นครสวรรค์ พิจิตร พระนครศรีอยุธยา กาญจนบุรี และนครปฐม หรือปลูกพันธุ์ที่ไม่ต้านทานต่อโรคต้องคลุกเมล็ด พันธุ์ก่อนปลูกด้วยเมตาแลกซิล (Apron 35 SD) อัตรา 7 กรัม/เมล็ด 1 กิโลกรัม
- ในแหล่งที่มีโรคระบาดควรหลีกเลี่ยงการปลูกข้าวโพดหวาน ข้าวโพดข้าวเหนียว และข้าวโพดเทียน ซึ่งอ่อนแอต่อโรคและเป็นแหล่งสะสมของเชื้อโรค
- ใช้เมล็ดพันธุ์ที่แห้งสนิทถ้าความชื้นเมล็ดสูงกว่า 10 เปอร์เซ็นต์จะมีเชื้อราติดมากับเมล็ด
- ถอนต้นข้าวโพดที่แสดงอาการเป็นโรคเผานอกแปลงปลูก
- ทำลายวัชพืชอาศัยของโรคก่อนปลูก เช่น หญ้าพง และหญ้าแขม เป็นต้น

5.1.2 โรคใบไหม้แผลเล็ก (Southern or Maydis Leaf Blight)

สาเหตุ เชื้อรา Bipolaris maydis (Nisik.) Shoemaker.
ลักษณะอาการ ระยะแรกเกิดจุดเล็กๆ สีเขียวอ่อน ฉ่ำน้ำ ต่อมาแผลขยายไปตามเส้นใบเกิดเป็น แผลไหม้ บริเวณกลางแผลมีสีเทา ขอบแผลสีน้ำตาล ขนาดของแผลไม่แน่นอน
ช่วงเวลาระบาด ระบาดรุนแรงในฤดูฝนที่มีอุณหภูมิต่ำและความชื้นสูง
การป้องกันกำจัด
- ไม่ใช้เมล็ดพันธุ์จากแหล่งและแปลงที่มีโรคระบาด
- เก็บซากพืชที่เป็นโรคเผาทำลายนอกแปลงปลูก
- พ่นด้วยสารบาซิลลัส ซับทีลิส อัตรา 100 กรัม/น้ำ 20 ลิตร พ่นเมื่อข้าวโพดหวานอายุ 7 วัน พ่นซ้ำทุก 5 วัน จำนวน 3 ครั้ง หรือไตรโฟรีน (20% อีซี) อัตรา 60 กรัม/น้ำ 20 ลิตร พ่นเฉพาะบริเวณทีเป็นโรค

5.1.3 โรคราสนิม (Southern Rust)

สาเหตุ สาเหตุ เชื้อรา Puccinia polysora Underw.
ลักษณะอาการ เกิดได้แทบทุกส่วนของต้นข้าวโพดระยะแรกพบเป็นแผลจุดนูนสีน้ำตาลแดง ขนาด 0.2 - 1.3 มิลลิเมตร ต่อมาแผลจะแตกเป็นผงสีสนิม ถ้าระบาดรุนแรงจะทำให้ใบแห้งตาย
ช่วงเวลาระบาด ระบาดรุนแรงปลายฤดูฝนจน ถึงต้นฤดูหนาวที่มีความชื้นในอากาศสูงและ อุณหภูมิคอนข้างเย็น
การป้องกันกำจัด
- เก็บเศษซากพืชที่เป็นโรคเผาทำลายนอกแปลง
- พ่นด้วยสารโดฟีโนโคนาโซล (25% อีซี) อัตรา 20 กรัม/น้ำ 20 ลิตร พ่นเฉพาะบริเวณที่เป็นโรค

5.2 แมลงศัตรูพืชที่สำคัญ

5.2.1 หนอนเจาะลำต้นข้าวโพด (Cron borer: Ostrinia furnacalis Guenee)

ลักษณะอาการ ตัวเต็มวัยเป็นผีเสื้อ กลางคืนสีทองแดง กางปีกกว้าง 3.0 เซนติเมตร วางไข่เป็นกลุ่มซ้อนกันคล้ายเกล็ดปลา หนอนเริ่มเข้าทำลายตั้งแต่ข้าวโพดอายุประมาณ 20 วัน ถึงระยะเก็บเกี่ยวโดยเจาะเข้าทำลายส่วนยอดช่อดอกตัวผู้และลำต้น ทำให้ต้นชะงักการเจริญเติบโต หักล้มง่าย เมื่อมีการระบาดรุนแรงจะเข้าทำลายฝัก พบการทำลายในแหล่งปลูกทั่วไป
ช่วงเวลาระบาด ระบาดรุนแรงในสภาพอากาศแห้งแล้งหรือฝนทิ้งช่วงเป็นเวลานาน
การป้องกันกำจัด
- ควรสำรวจกลุ่มไข่ หนอน เจาะรู และยอดที่ถูกทำลายอย่างสม่ำเสมอ โดยเฉพาะช่วง ข้าวโพดหวานอายุ 20 - 45 วัน
- เมื่อเริ่มพบการทำลาย ควรทำการพ่นสารป้องกันกำจัดศัตรูพืช ใช้สารโซเพอร์เมทริน (15% อีซี) 10 มิลลิลิตร/น้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่น และให้หยุดการฉีดพ่นสารก่อนเก็บเกี่ยว 5 วัน

5.2.2 หนอนเจาะสมอฝ้าย (Cotton Bollworm: Heliothis armigera Hubner)

ลักษณะอาการ ตัวเต็มวัยเป็นผีเสื้อกลางคืนขนาดกลาง วางไข่ฟองเดี่ยวๆ ที่ช่อดอก ตัวผู้ และเส้นไหมบริเวณปลายฝัก หนอนกัดกินเส้นไหมและเจาะเข้าไปอาศัยกัดกินปลายฝักทำให้ คุณภาพฝักเสียหาย
ช่วงเวลาระบาด ระบาดรุนแรงในสภาพอากาศร้อนชื้น
การป้องกันกำจัด
- ในพื้นที่ขนาดเล็กควรใช้มือจับทำลายหนอนที่กัดกินปลายฝัก
- ควรสำรวจหนอนที่ปลายฝักข้าวโพดหวานในระยะผสมเกสร ถ้าพบการทำลายควรพ่น ด้วยชีวินทรีย์นิวเคลียร์โพลีไฮโดรซิสไวรัส อัตรา 30 มิลลิลิตร/น้ำ 20 ลิตร พ่นในเวลาเย็นสลับกับ สารฟลูเฟนนอกซูรอน (5% อีซี) อัตรา 20 มิลลิลิตร/น้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นเมื่อพบหนอนขนาดเล็ก 10 - 20 ตัวต่อข้าวโพดหวาน 100 ต้น และให้หยุดการฉีดพ่นสารก่อนเก็บเกี่ยว 1 และ 7 วัน ตามลำดับ

5.2.3 เพลี้ยอ่อนข้าวโพด (Corn leaf aphid Rhopalosiphum maidis Fitch.)

ลักษณะอาการ เป็นแมลงปากดูดขนาดเล็ก ลักษณะกลมป้อมคล้ายผลฝรั่ง สีเขียวอ่อน มีทั้งชนิดมีปีกและไม่มีปีก ยาว 0.8 - 2.0 มิลลิเมตร ตัวอ่อนและตัวเต็มวัยดูดกินน้ำเลี้ยงจากยอดใบอ่อนช่อดอกตัวผู้ ปลายไหม และฝัก
ช่วงเวลาระบาด ระบาดรุนแรงในสภาพอากาศแห้งแล้งหรือฝนทิ้งช่วงเป็นเวลานาน
การป้องกันกำจัด
- ถ้าพบการระบาดรุนแรงในระยะข้าวโพดหวานมีช่อดอกตัวผู้ควรพ่นด้วยสารคาร์บาริล (85% ดับบลิวพี) อัตรา 50 กรัม/น้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นบริเวณที่ถูกทำลายและให้หยุดการฉีดพ่นก่อน เก็บเกี่ยว 14 วัน

5.2.4 มอดดิน (ground weevil Calomycterus sp.)

ลักษณะอาการ  ตัวเต็มวัยเป็นด้วงงวงสีเทาดำ ยาว 3.5 มิลลิเมตร กัดกินใบตั้งแต่ ข้าวโพดเริ่มงอกถึงอายุประมาณ 14 วัน ทำให้ต้นอ่อนตายหรือชะงักการเจริญเติบโต ตันที่รอดตายจะ เก็บเกี่ยวได้ล่าช้า
ช่วงเวลาระบาด ระบาดรุนแรงในสภาพอากาศแห้งแล้งหรือฝนทิ้งช่วงเป็นเวลานานโดยเฉพาะ การปลูกในปลายฤดูฝนระหว่างเดือนสิงหาคม - กันยายน
การป้องกันกำจัด
- ปลูกข้าวโพดหวานในแหล่งที่มีน้ำพอเพียงควรหลีกเลี่ยงการปลูกในช่วงปลายฤดูฝน
- กำจัดวัชพืชที่เป็นพืชอาศัยของแมลงรอบแปลงปลูก
- ในแหล่งที่ระบาดเป็นประจำก่อนปลูก ควรคลุกเมล็ดพันธุ์ด้วยอิมิดาโคลพริด (70% WS) อัตรา 5 กรัม/เมล็ด 1 กิโลกรัม

5.2.5 หนอนกระทู้หอม (Beet armyworm: Spodoptera exigua Hubner)

ลักษณะอาการ  ตัวเต็มวัยเป็นผีเสื้อกลางคืนสีน้ำตาลเข้มปนเทา กางปีกกว้างประมาณ 2.5 เซนติเมตร วางไข่เป็นกลุ่มสีขาวใต้ใบและมีขนสีครีมปกคลุม
ช่วงเวลาระบาด ระบาดรุนแรงในสภาพอากาศแห้งแล้ง หรือฝนทิ้งช่วงเป็นเวลานาน
การป้องกันกำจัด
- เก็บกลุ่มไข่และหนอนทำลาย
- ในแหล่งที่ระบาดเป็นประจำควรพ่นด้วยชีวินทรีย์ นิวเคลียร์โพลีไฮโดรซิสไวรัส อัตรา 20 - 30 มิลลิลิตร/น้ำ 20 ลิตร พ่นในเวลาเย็น 1 - 2 ครั้ง ห่างกัน 5 วัน สลับกับสารเบตาไซฟลูทริน (2.5% อีซี) อัตรา 40 มิลลิลิตร/น้ำ 20 ลิตร 1 - 2 ครั้ง ห่างกัน 7 วัน และให้หยุดการฉีดพ่นสาร ก่อนเก็บเกี่ยว 1 และ 14 วัน ตามลำดับ

5.2.6 หนู

ลักษณะอาการ  หนูเป็นสัตว์ศัตรูสำคัญชนิดหนึ่งของข้าวโพดหวาน ทำลายตั้งแต่เริ่มเป็น ฝักอ่อนจนถึงเก็บเกี่ยว สกุลหนูพุกจะกัดโคนต้นให้ล้มเพื่อกัดกินฝัก
ช่วงเวลาระบาด ระบาดรุนแรงในฤดูแล้งโดยเฉพาะพื้นที่ไม่มีพืชอาหารชนิดอื่น
การป้องกันกำจัด
- กำจัดวัชพืชบริเวณแปลงปลูก และพื้นที่ใกล้เคียงเพื่อไม่ให้เป็นที่อาศัยของหนู
- ใช้กรงดักหนูหรือกับดัก
- เมื่อสำรวจพบร่องรอยรูหนู ประชากรหนู และความเสียหายอย่างรุนแรงของ ข้าวโพดหวานให้ใช้วิธีป้องกันกำจัดแบบผสมผสานคือ ใช้กรงดักหรือกับดักร่วมกับการใช้เหยื่อพิษ

6. วัชพืชที่สำคัญและการป้องกันกำจัดของข้าวโพดหวาน

ขั้นตอนที่ 6 ป้องกันกำจัดวัชพืชที่สำคัญของข้าวโพดหวาน
วัชพืชที่สำคัญและการป้องกันกำจัดของข้าวโพดหวาน

6.1 ชนิดวัชพืช

6.1.1 วัชพืชฤดูเดียว

เป็นวัชพืชที่ครบวงจรชีวิตภายในฤดูเดียว ส่วนมากขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด
- ประเภทใบแคบ เช่น หญ้าตีนกา หญ้านก สีชมพู หญ้าตีนนก หญ้าปากควาย หญ้าขจรจบดอกใหญ่ หญ้าขจรจบดอกเล็ก และหญ้าโขย่ง เป็นต้น
- ประเภทใบกว้าง เช่น ผักโขม ผักเบี้ยหิน ผักเบี้ยใหญ่ ผักบุ้งยางเทียนนา กะเม็ง ประเภทกก ได้แก่ กกทราย และสะอีก เป็นต้น

6.1.2 วัชพืชข้ามปี

เป็นวัชพืชที่ส่วนมากขยายพันธุ์ด้วยต้น ราก เหง้า หัว และไหลได้ดีกว่าการขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด
- ประเภทใบแคบ เช่น หญ้าคา หญ้าขจรจบดอกเหลือง หญ้าชันกาด และหญ้าแพรก
- ประเภทใบกว้าง ได้แก่ สาบเสือ เถาตอ เชือก เป็นต้น
- ประเภทกก ได้แก่ แห้วหมู

6.2 การป้องกันกำจัดวัชพืช

- ไถ 1 ครั้ง ตากดิน 7 - 10 วัน พรวนดินแล้วคราดเก็บชากราก เหง้า หัว และไหลของวัชพืชข้ามปีออกจากแปลง
- กำจัดวัชพืชระหว่างแถวปลูกด้วยแรงงานคน หรือเครื่องจักรกลเมื่อข้าวโพดหวาน อายุประมาณ 20 วัน และ 45 วัน
- ในกรณีที่กำจัดวัชพืชด้วยแรงงาน หรือเครื่องจักรกลไม่มีประสิทธิภาพเพียงพอ ควรพ่นสารกำจัดวัชพืชตามคำแนะนำ
ตารางการใช้สารกำจัดวัชพืชในไร่ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์
วัชพืช
สารกำจัดวัชพืช1/
อัตรากามใช้/น้ำ 20 ลิตร2/
วิธีการใช้/ข้อควรระวัง
วัชพืชฤดูเดียว
อะลาคลอร์ (48% อีซี)
เมโทลาคลอร์ 40% อีซี)
อะเซโทคลอร์ (50% อีซี)
พาราควทอ (27.6 เอสแอล)
125-150 มิลลิลิตร
150-200 มิลลิลิตร
80-120 มิลลิลิตร
75-100 มิลลิลิตร
พ่นคลุมดินหลังปลูกก่อนข้าวโพดและวัชพืชงอก ขณะพ่นดินต้มมีความชื้น
พ่นก่อนเตรียมดิน 3-7 วัน หรือพ่นระหว่างแถวหลังปลูก 20 วัน ขณะวัชพืชมีใบ 3-4 ใบ หรือก่อนวัชพืชออกดอก
วัชพืชฤดูเดียว
วัชพืชข้ามปี
ไกลโฟเสท (48% เอสแอล)
กลูโฟชิเนต-แอมโมเนีย (15% เอสแอล)
120-160 มิลลิลิตร
300-400 มิลลิลิตร
ใช้ในแหล่งวัชพืชหนาแน่น โดยพ่นก่อนปลูก หรือก่อนเตรียมดิน 7-15 วัน
1/ ในวงเล็บ คือ เปอร์เซ็นต์สารออกฤทธิ์และสูตรของสารกำจัดวัชพืช
2/ ใช้น้ำอัตรา 80 ลิตร/ไร่

7. การเก็บเกี่ยวข้าวโพดหวาน

ขั้นตอนที่ 7 วิธีการเก็บเกี่ยวข้าวโพดหวาน
การเก็บเกี่ยวข้าวโพดหวาน

7.1 ดัชนีการเก็บเกี่ยว

1. เก็บเกี่ยวเมื่ออายุประมาณ 18 - 20 วัน หลังออกไหม 50 เปอร์เซ็นต์
2. สังเกตจากสีของไหมจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลเข้ม
3. เมื่อใช้มือบีบส่วนปลายฝักจะยุบตัวได้ง่าย
4. เมื่อฉีกเปลือกข้าวโพดฝักบนสุด เมล็ดจะมีสีเหลืองอ่อน ถ้าใช้เล็บกดที่ปลายฝักจะมีน้ำนม ไหลออกมาแสดงว่าอีก 2 วันจะต้องเก็บเกี่ยว
5. ในกรณีที่ปลูกข้าวโพดหวานพันธุ์ผสมเปิด ซึ่งจะออกไหมไม่พร้อมกัน ต้องทยอยเก็บเกี่ยว 2 - 3 ครั้ง
6. การเก็บข้าวโพดหวานก่อนหรือหลังช่วงที่เหมาะสมเพียง 1 - 2 วัน จะทำให้คุณภาพของฝัก ไม่ได้มาตรฐานตามที่ตลาดและโรงงานอุตสาหกรรมต้องการ

7.2 อุปกรณ์และวิธีการเก็บเกี่ยว

1. ใช้มือหักฝักสดให้ถึงบริเวณก้านฝักที่ติดลำต้น
2. ในกรณีปลูกข้าวโพดหวานพันธุ์ผสมเปิด ควรเก็บเกี่ยวให้แล้วเสร็จภายใน 5 - 7 วัน
3. หลังจากการเก็บเกี่ยวฝักข้าวโพดหวานแล้วควรไถกลบต้น เพื่อเป็นปุ๋ยพืชสดจะช่วยให้ ดินร่วน มีการระบายน้ำและถ่ายเทอากาศได้ดีขึ้น

8. การปฏิบัติหลังการเก็บเกี่ยวข้าวโพดหวาน

ขั้นตอนที่ 8 วิธีการปฏิบัติหลังการเก็บเกี่ยวข้าวโพดหวาน
การปฏิบัติหลังการเก็บเกี่ยวข้าวโพดหวาน

8.1 การขนย้าย

1. เตรียมการเรื่องผู้รับซื้อและยานพาหนะในการขนส่งไว้ล่วงหน้าก่อนการเก็บเกี่ยว
2. รถบรรทุกต้องสะอาดและเหมาะสมกับปริมาณข้าวโพดหวาน ไม่ควรเป็นรถที่ใช้ บรรทุกดิน สัตว์ มูลสัตว์ สารป้องกันกำจัดศัตรูพืช หรือปุ๋ยเคมี เพราะอาจมีการปนเปื้อน ยกเว้นจะมี การทำความสะอาดที่เหมาะสมก่อนนำมาบรรทุก
3. ควรขนส่งฝักข้าวโพดหวานให้ถึงปลายทางภายใน 24 ชั่วโมงหลังการเก็บเกี่ยว และถ้าเป็น ไปได้ควรขนส่งในเวลากลางคืนเพื่อหลีกเลียงอากาศร้อนในเวลากลางวัน
4. สำหรับการขนส่งในระยะทางไกลที่ใช้เวลานานกว่า 3 ชั่วโมง ควรมีปล่องท่อขนาดเส้นผ่า ศูนย์กลาง 2 เซนติเมตร หรือใช้หวายสาน หรือไม้ไผ่ผ่าซีกประกอบเป็นท่อโปร่งทำเป็นปล่องเสียบไว้ ตรงกลางกองข้าวโพดหวานจำนวน 2-3 อันเพื่อช่วยระบายความร้อนและถ่ายเทอากาศ

8.2 การคัดขนาดคุณภาพ

1. เป็นฝักที่ได้จากต้นที่สมบูรณ์แข็งแรงไม่มีรอยทำลายของโรค หรือแมลง
2. ขนาดฝักสดปอกเปลือก ควรมีเส้นผ่าศูนย์กลาง 4 - 5 เซนติเมตร ความยาว 12 - 18 เซนติเมตร น้ำหนัก 200 - 500 กรัมต่อฝัก
3. ฝักรูปทรงกระบอก มีขนาดโคนและปลายฝึกแตกต่างกันไม่เกิน 0.5 เซนติเมตร
4. เมล็ดเรียงเป็นระเบียบ 14 - 16 แถว แถวหนึ่งมี 30 - 40 เมล็ด
5. เส้นไหมควรหลุดจากเมล็ดได้ง่ายและไม่ติดค้างตามร่องเมล็ด
6. สีเมล็ดสม่ำเสมอทั้งฝักและตรงตามพันธุ์
7. ซังมีขนาดเล็ก
8. ความหวานไม่ต่ำกว่า 14 องศาบริกซ์ ควรลดลงอย่างช้าๆ และคงความหวานได้ไม่ต่ำกว่า 36 ชั่วโมง

8.3 การปฏิบัติอื่นๆ

1. หลังการเก็บเกี่ยวให้รีบนำฝักข้าวโพดหวานเข้าในที่ร่มเพื่อไม่ให้ถูกแสงแดดโดยตรง
2. สถานที่เก็บชั่วคราวควรมีการถ่ายเทอากาศดี ห่างไกลจากสิ่งปฏิกูล สารป้องกันกำจัดศัตรูพืช ปุ๋ยเคมี และมูลสัตว์ เพื่อป้องกันการปนเปื้อน
3. ไม่ควรกองฝักข้าวโพดหวานสูงเกินไป ควรมีการถ่ายเทอากาศในกอง
4. ภาชนะที่ใช้บรรจุฝักข้าวโพดหวาน ต้องผ่านการล้างทำความสะอาด หากจำเป็นต้องใช้กระสอบบรรจุเพื่อขนส่ง กระสอบ ปากกระสอบตัดแต่งให้เรียบร้อยก่อนใช้บรรจุข้าวโพดหวาน
5. บันทึกข้อมูล เกษตรกรควรบันทึกการปฏิบัติงานขั้นตอนการผลิตทุกระยะให้มีการตรวจสอบ ได้ หากเกิดข้อบกพร่องชิ้นสามารถจัดการแก้ไขได้ทันท่วงที ได้แก่
- สภาพแวดล้อม เช่น อุณหภูมิ ความชื้น และปริมาณน้ำฝน
- พันธุ์ วันที่ปลูก ออกช่อดอกตัวผู้ และออกไหม
- วันที่ศัตรูพืชระบาด ชนิด และปริมาณศัตรูพืช
- วันที่พนสารป้องกันกำจัดศัตรูพืช ชนิด และอัตราการใช้สาร
- วันที่เก็บเกี่ยว ค่าใช้จ่าย ปริมาณ คุณภาพ ราคาผลผลิต และรายได้
- ปัญหา อุปสรรคตลอดฤดูกาลการเก็บเกี่ยว และการขนส่ง
    หน้า   1   2  
CONTACT
169/47 ถ.พุทธมณฑลสาย 4 ต.กระทุ่มล้ม  อ.สามพราน จ.นครปฐม 73220
086-070-0007
ananindustry@gmail.com
https://www.ananindustry.com
WORKING DAYS/HOURS
วันจันทร์ - วันเสาร์
8.00 - 17.00 น.
Copyright © 2008 Anan Industry Company Limited. All Rights Reserved