การผลิตเครื่องเทศของประเทศไทย

การส่งออกและอุตสาหกรรมเครื่องเทศในประเทศไทย

การผลิตเครื่องเทศของประเทศไทย

ผลผลิตเครื่องเทศในประเทศไทยโดยเฉลี่ย แนวโน้มผลผลิตเครื่องเทศมีแนวโน้มขึ้นลงไม่สม่ำเสมอ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับปัจจัยต่างๆ เช่น ราคาผลผลิต สภาพภูมิอากาศในแต่ละปี เป็นต้น เนื้อที่เพาะปลูกจะมีแนวโน้มตามราคาขายเครื่องเทศถ้าช่วงใดราคาเครื่องเทศปรับตัวสูงขึ้น เกษตรกรก็จะขยายพื้นที่การเพาะปลูก แต่ถ้าช่วงใดราคาผลผลิตตกต่ำ เกษตรกรก็จะลดพื้นที่การเพาะปลูก สำหรับเครื่องเทศที่ไทยมีการเพาะปลูกมาก ได้แก่ กระเทียม พริกไทย ขิง พริก เร่ว กระวาน ขมิ้น

ผู้ผลิตเครื่องเทศในประเทศไทยส่วนใหญ่จะเป็นรายย่อยหรืออุตสาหกรรมในครัวเรือนเท่านั้นและการผลิตก็ไม่มีการแปรรูปมากนักจึงทำให้ปริมาณการส่งออกเครื่องเทศของประเทศไทยไม่สูงเท่าที่ควรทั้งที่มีภูมิอากาศที่เหมาะสมในการปลูกเครื่องเทศ ตัวอย่างเช่นพริกไทยในประเทศไทยมีผู้ผลิตพริกไทยเป็นจำนวนมากแต่ส่วนใหญ่จะเป็นรายย่อยที่มีปริมาณการผลิต 2ตัน/ปี และไม่ได้ขออนุญาติจัดตั้งโรงงงานอุตสาหกรรม นอกจากนี้ทางด้านผลิตภัณฑ์ก็ไม่ได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้า พริกไทยที่ผู้ผลิตรายย่อยเหล่านี้ผลิตได้จะขายโดยการผสมกับวัตถุดิบอื่นๆ เช่น รำข้าว เป็นต้น ซึ่งจะมีกรรมวิธีการผลิตง่ายๆ โดยการนำเมล็ดพริกไทยแก่ หรือจะเป็นพริกไทยดำ นำไปแช่น้ำแล้วกะเทาะเปลือกออก เอาไปตากหรืออบแล้วนำมาบดก็ใช้ประโยชน์ได้แล้วจะวางขายตามตลาดทั่วไปและตลาดอินโดจีน ซึ่งจะขายในราคาต่ำ ในประเทศไทยจะมีผู้ผลิตรายใหญ่ 2 ราย สำหรับการบริโภคภายในประเทศไทยมีทั้งการบริโภคขั้นสุดท้าย และใช้เป็นส่วนผสมของการผลิต อาหารสำเร็จรูป ซอสปรุงรส  เครื่องปรุงรส น้ำจิ้ม เครื่องแกง เป็นต้น

นอกจากนี้อุตสาหกรรมเครื่องเทศและสมุนไพร เป็นอุตสาหกรรมอีกประเภทหนึ่งที่มีทรัพยาการและความสามารถด้านส่งออกสินค้าสู้ตลาดสากลได้อย่างดีเยี่ยม ไม่แพ้อุตสาหกรรมประเภทอื่นๆ

เครื่องเทศ 7ชนิด ยอดนิยมในตลาดโลก

เครื่องเทศ 7ชนิด ยอดนิยม กระเทียม ขิง พริกไทย พริก เร่ว กระวาน ขมิ้น

การส่งออกกระเทียมในประเทศไทย

การผลิตและส่งออก กระเทียม กระเทียมป่นในประเทศไทย
กระเทียม กระเทียผง เป็นเครื่องเทศไทยที่ผลิตได้มากที่สุดคิดเป็นสัดส่วน 58% ของปริมาณเครื่องเทศที่ไทยผลิตได้ทั้งหมด แหล่งเพาะปลูกที่สำคัญอยู่ที่จังหวัดเชียงใหม่ เชียงราย ลำพูน พะเยา และศรีษะเกษ ช่วงที่มีผลผลิตกระเทียมออกมามากคือช่วงเดือน กุมพาพันธ์ - มีนาคมแนวโน้มการผลิตลดลงเล็กน้อยในช่วง 6ปี เนื่องจากสภาพอากาศไม่เอื้ออำนวย เกษตรกรประสบปัญหากระเทียมเน่าเสียจากโรคทำให้ผลผลิตลดลง

การส่งออกขิงในประเทศไทย

การผลิตและส่งออก ขิง ขิงป่นในประเทศไทย
ขิงประเทศไทยสามารถผลิตขิงได้คิดเป็นสัดส่วน 16% ของผลผลิตเครื่องเทศรวมทั้งหมด พื้นที่เพาะปลูกสำคัญ ได้แก่ จังหวัดเชียงราย พะเยา เลย เพชรบูรณ์ พิษนุโลก เพชรบุรี และ ประจวบคิรีขันธ์ ช่วงเวลาเริ่มเพาะปลูกขิงคือ เดือนเมษายน และเก็บเกี่ยวขิงได้ในเดือนกันยายน - กุมพาพันธุ์

การส่งออกพริกไทยในประเทศไทย

การผลิตและส่งออก พริกไทยดำ พริกไทยขาว พริกไทยป่นในประเทศไทย
พริกไทยประเทศไทยสามารถผลิตพริกไทยได้เป็นสัดส่วน 4.5% ของผลผลิตเครื่องเทศทั้งหมด การปลูกพริกไทยในประเทศไทยยังไม่เป็นที่นิยมเนื่องจากพริกไทยจะเจริญเติบโตในสภาพอากาศร้อนชื้นเท่านั้นนอกจากนี้การปลูกพริกไทยยังมีต้นทุนสูงและต้องดูแลเอาใจใส่มากกว่าเครื่องเทศชนิดอื่น ถึงแม้ประเทศไทยจะสามารถผลิตพริกไทยเพื่อใช้บริโภคภายในประเทศและการส่งออกแต่ก็ยังมีการนำเข้าพริกไทยในปริมาณที่มากพอสมควรเนื่องจากปริมาณผลผลิตพริกไทยได้ไม่เพียงพอกับความต้องการของโรงงาน โรงงานที่นิยมใช้พริกไทยได้แก่ โรงงานซอสปรุงรส โรงงานแปรรูปอาหาร โรงงานผลิตน้ำจิ้ม โรงงานเครื่องปรุงรส และ โรงงานผลิตอาหารเสริม ที่นำพริกไทยไปสกัดเป็นสารสกัดธรรมชาติ และอุตสาหกรรมอาหารอื่นๆอีกมาก การนำเข้าส่วนใหญ่จะนำเข้าในรูป พริกไทยดำเม็ดเพื่อเป็นวัตถุดิบในการผลิตพริกไทยดำป่น  พริกไทยขาวเม็ด  พริกไทยขาวป่น พื้นที่เพาะปลูกสำคัญได้แก่ จันทบุรี ชุมพรและระนอง ช่วงเก็บเกี่ยวคือเดือนกุมภาพันธ์ - มีนาคม แนวโน้มผลผลิตของพริกไทยช่วง 6ปี เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากเกษตรกรมีการขยายพื้นที่เพาะปลูกมากขึ้น

พริกไทยเป็นพืชเครื่องเทศที่มีศักยภาพในการส่งออกสูงในรูปแบบเมล็ดหรือที่มีการแปรรูปเป็นพริกไทยขาว พริกไทยป่น โดยมีตลาดส่งออกพริกไทย 15อันดับแรกของประเทศไทย คือ เนเธอณ์แลนด์ สหรัฐอเมริกา ฮ่องกง ตุรกี ญี่ปุ่น เวียดนาม อินเดีย อินโดเนเซีย ออสเตรีย ไต้หวัน จีน นิวซีแลนด์ เยอรมณี และ มาเลเซีย ประเทศที่มีการนำเข้าพริกไทยจากไทยมากสุดคือ เนอเธอร์แลนด์ โดยคิดเป็นมูลค่า ประมาณ 82.24 ล้านบาท อัตราการขยายตัว 47.61% ในปี 2554 ส่วนในปี 2555 จีนเป็นผู้นำเข้าพริกไทยเป็นอันดับหนึ่ง มูลค่าประมาณ 38.03ล้านบาท (ที่มาสถิติกรมศุลกากร)
ข้อมูลการนำเข้าส่งออกพริกไทยของประเทศไทย ปี 2554-2555
สถิติการส่งออกพริกไทยดำหรือขาว : ปริมาณ และมูลค่าการส่งออกรายเดือน(2554-2555)

การส่งออกพริกในประเทศไทย

การผลิตและส่งออกพริก พริกป่น พริกแห้ง ในประเทศไทย
พริกที่ผลิตได้มากกว่าร้อยละ 90 ส่วนใหญ่มักบริโภคภายในประเทศ ส่วนที่เหลือส่งออกจำหน่ายต่างประเทศในรูปพริกสด พริกแห้ง พริกป่น และผลิตภัณฑ์ ซอสพริก เครื่องแกงสำเร็จรูป ในปี 2554 และ 2555 ดังนี้
ข้อมูลการนำเข้าส่งออกพริกของประเทศไทย ปี 2554-2555
ปริมาณ : ตัน/มูลค่า : ล้านบาท (ที่มา กรมศุลกากร กระทรงพาณิชย)
โดยการรวมปริมาณและมูลค่าที่ส่งออกมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นทุกปี ปี2544 ลูกค้ารายใหญ่ซื้อพริกสด ได้แก่ มาเลเซีย เนอเธอร์แลนด์ ไตหวัน ประเทศที่สำคัญซื้อพริกแห้ง คือ สหรัฐอเมริกา ออสเตรเลีย แคนาดา ซาอุดิอาระเบีย ญี่ปุ่น พริกป่น ได้แก่ เนเธอร์แลนด์ อังกฤษ สหรัฐอเมริกา ออสสเตรเลีย สำหรับออสเตรเลีย สหรัฐอเมริกา สิงคโปร์ ฝรั่งเศษ สวีเดน เยอรมัน ฮ่องกง เป็นประเทศคู่ค้าที่ซื้อ ซอสพริก ส่วนเครื่องแกงสำเร็จรูป ได้แก่ ออสเตรเลีย สหรัฐอเมริกา อังกฤษ ญี่ปุ่น เนอเธอแลนด์ แคนนาดา

การส่งออกเร่วในประเทศไทย

การผลิตและส่งออกเร่ว เร่วแห้ง เร่วป่นในประเทศไทย
เร่วเป็นเครื่องเทศชนิดหนึ่งที่มีความสำคัญทางเศรฐกิจ ซึ่งตลาดทั้งในและต่างประเทศมีความต้องการมาก และโดยทั่วไปถ้าใส่ในอาหารจะดับกลิ่นคาวทำให้เกิดกลิ่นหอมชวนรับประทาน ปริมาณมูลค่าที่ส่งออกเร่วระหว่างปี 2554-2555 มีดังนี้
ข้อมูลการนำเข้าส่งออกเร่วของประเทศไทย ปี 2554-2555
ปริมาณ : ตัน/มูลค่า : ล้านบาท (ที่มา กรมศุลกากร กระทรงพาณิชย)
ปี 2554-2555 ลูกค้าที่ส่งออกเร่ว คือ สวีเดน และ ฮ่องกง ส่วนการนำเข้าเร่วนำเข้าจากลาวและออสเตรเลีย

การส่งออกกระวานในประเทศไทย

การผลิตและส่งออกกระวาน กระวานดิบ กระวานแห้ง กระวานป่น ในประเทศไทย
การจำหน่ายกระวานในประเทศมีทั้งขายส่งกระวานสดและขายส่งกระวานอบแห้ง สำหรับผลสดพ่อค้าท้องถิ่นทางภาคใต้และจังหวัดอุทัยธานีรับซื้อจากเกษตรกรแล้วมาทำให้แห้ง ส่วนผลกระวานแห้งพ่อค้าท้องถิ่นขายให้พ่อค้าส่งในลักษณะคละกันไม่แห้งไม่แบ่งชั้นโดยยังไม่มีการกำหนดมาตรฐาน ผู้ซื้อจะดูแต่ความแห้งขนาดของผลกระวานใกล้เคียงกัน ความอ่อนแก่ของผลกระวานไม่มีเมล็ดเสียหรือรอยด่างดำและสิ่งเจือปน การส่งออกกระวานของไทย ปี 2554-2555 มีดังนี้
ข้อมูลการนำเข้าส่งออกกระวานของประเทศไทย ปี 2554-2555
ปริมาณ : ตัน/มูลค่า : ล้านบาท (ที่มา กรมศุลกากร กระทรงพาณิชย)

การส่งออกขมิ้นในประเทศไทย

การผลิตและส่งออกขมิ้น ขมิ้นป่นในประเทศไทย
ขมิ้นปลูกมากในประเทศอินเดีย บังคลาเทศ จีน ไต้หวัน เปรู อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ จาไมก้า เอลซาวาดอร์ อินเดียและบังกลาเทศผลิตขมิ้นได้ร้อยละ 90 ของปริมาณประเทศผู้ผลิตดังกล่าวรวมกัน ตลาดต่างประเทศแบ่งลักษณะแง่งขมิ้มออกเป็น 3ชนิด ได้แก่ ชนิดนิ้วมือมีคุณภาพดีที่สุดเป็นที่ต้องการของตลาดมาก ชนิดทั้งเหง้าและชนิดแตกหักไม่ค่อยเป็นที่นิยม สำหรับประเทศไทยผลผลิตส่วนใหญ่ใช้บริโภคภายในประเทศ มีเพียงเล็กน้อยที่ส่งโดยบรรจุในลังพลาสติกไปจำหน่ายต่างประเทศ ส่วนการนำเข้าขมิ้นก็มีไม่มากดังข้อมูล 2554-2555 ต่อไปนี้
ข้อมูลการนำเข้าส่งออกขมิ้นของประเทศไทย ปี 2554-2555
ปริมาณ : ตัน/มูลค่า : ล้านบาท (ที่มา กรมศุลกากร กระทรงพาณิชย)
ปี 2554-2555 ส่งออกขมิ้นไปยังสหรัฐอเมริกา 14,977 ล้านตัน มูลค่า 2,011,728ล้านบาท ส่วนการนำเข้าจากขมิ้นอินเดียเป็นอันดับหนึ่ง
ปริมาณและมูลค่าการส่งออกเครื่องเทศทั้งหมดในประเทศไทย ปี 2553-2554 สรุปได้ดังนี้
ข้อมูลการนำเข้าส่งออกเครื่องเทศของประเทศไทย ปี 2553-2554
ปริมาณ : เมตริกตัน/มูลค่า : 1,000บาท (ที่มา สำนักเศรษฐกิจการเกษตร)
--------  คำค้น  --------
จำหน่ายขายส่งเครื่องเทศ และสมุนไพร ชนิดผงละเียด ผงหยาบ อบแห้ง
เครื่องเทศและสมุนไพร
โรงงานผลิตและนำเข้าเครื่องเทศและสมุนไพร จำหน่าย ขายส่งเครื่องเทศ ทั้ง ผงละเอียด หยาบและอบแห้ง
จำหน่าย "กัญชา" "กัญชง" ใบสด ใบแห้ง กิ่งก้าน ราก ผง
กัญชาและกัญชง
จำหน่ายผลิตภัณฑ์กัญชาและกัญชง ทั้ง ใบสด ใบแห้ง กิ่งก้าน ราก ผง ชากัญชง ชากัญชา จากแหล่งปลูกที่ถูกต้องตามกฎหมาย
CONTACT
169/47 ถ.พุทธมณฑลสาย 4 ต.กระทุ่มล้ม  อ.สามพราน จ.นครปฐม 73220
086-070-0007
ananindustry@gmail.com
https://www.ananindustry.com
WORKING DAYS/HOURS
วันจันทร์ - วันเสาร์
8.00 - 17.00 น.
Copyright © 2008 Anan Industry Company Limited. All Rights Reserved