ซอสและเครื่องปรุงรสเอเซียได้รับความนิยมในตลาดสหรัฐอเมริกา

ซอสและเครื่องปรุงรสเอเซียได้รับความนิยมในตลาดสหรัฐอเมริกา

มูลค่าตลาดซอสปรุงรสในสหรัฐอเมริกา

สหรัฐอเมริกา บริโภคซอสปรุงรสชาติอาหารแยกเป็น 3 กลุ่มใหญ่ๆ คือ กลุ่มซอสปรุงรส (Sauce) กลุ่มเครื่องปรุงรส (Condiments) และ กลุ่มน้ำสลัด (Dressings) โดยสินค้าทั้ง 3 กลุ่ม รวมกันคิดเป็นมูลค่าประมาณ 31,000 ล้านเหรียญสหรัฐ ในปี 2561 หรือคิดเป็นร้อยละ 20 ของการบริโภครวมทั่วโลก แต่หากมองเฉพาะกลุ่ม ซอสปุรงรสอาหารอย่างเดียว คิดเป็นมูลค่าประมาณ 18,600 ล้านเหรียญสหรัฐ และคาดว่ามูลค่าตลาดซอสปรุงรสของสหรัฐ จะเพิ่มขึ้นเป็น 22,400 ล้านเหรียญสหรัฐ ในปี 2567 หรือ ขยายตัวโดยเฉลี่ยร้อยละ 3.3 ต่อปี
มูลค่าตลาด กลุ่มซอสปรุงรส กลุ่มเครื่องปรุงรส กลุ่มน้ำสลัด

ซอสปรุงรสชาติแบบเอเซียจะรุ่งเรืองในสหรัฐอเมริกา

นิตยสาร Nestle "Professional ของ บริษัทเนสเล่ย์ สหรัฐอเมริกา ซึ่งเป็นผู้นำการผลิตสินค้าอาหารรายสำคัญในสหรัฐ ได้รายงาน ถึงประเภทเครื่องปรุงรสชาติแบบเอเซียดั้งเดิมหรือฟิวชั่นที่กำลังได้รับความนิยม และครัวเรือนในสหรัฐ ต้องมีไว้ใช้ มีจำนวน 12 ชนิด ตั้งแต่รสหวานไปจนถึงรสเผ็ดและซอสปรุงรสชาติอาหารของไทยติดอันดับ 3 รายการ คือ น้ำปลา น้ำพริกเผา และ ซอสพริกหวาน ซอสปรุงรสที่เป็นที่นิยม 12 ชนิด ในการจัดอันดับได้แก่
1. ซอสน้ำมันพริก (Chili oil)
7. ซอสพอนซี (Ponzu Sauce)
2. น้ำปลา (Fish Sauce)
8. น้ำส้มสายชูข้าว (rice Vinegar)
3. ซอสโคชูจัง (Gochujang sauce)
9. น้ำพริกเผา (Roasted Red Chili paste)
4. ซอสฮอยชิน (Hoisin Sauce)
10. ซัมบัล โอเล็ค (Sambal Oelek)
5. มิโซะซอส (miso sauce)
11. น้ำมันงา (Sesame oil)
6. ซอสน้ำมันหอย (Oyster Sauce)
12. ซอสพริกหวาน (Seet Chili Sauce)
ในขณะที่ซีอิ๊วดำและซอสพริกศรีราชาซึ่งมีรสชาติดีและใช้ทำอาหารได้หลากหลาย ได้กลายเป็นซอสหลักสำหรับตลาดหลักผู้บริโภคทั่วไปของสหรัฐ ซึ่งไม่ใช่เครื่องปรุงรสชาติที่ใช้เฉพาะตลาดผู้บริโภคเอเซียเท่านั้น
ซอสปรุงรสเอเซียที่เป็นที่นิยม 12 ชนิด ในสหรัฐอเมริกา

การผลิตซอสปรุงรสในสหรัญอเมริกา

ซอสปรุงรสชาติอาหารที่ได้รับความนิยมและบริโภคสูงสุด 6 อันดับแรกในสหรัฐ ได้แก่ ซอสมะเขือเทศ มัสตาร์ด ซอสบาร์บีคิว มายองเนส เสต็กซอส และ ซอสเผ็ด สินค้าซอสปรุงรสชาติอาหารผลิตในประเทศครองตลาดประมาณร้อยละ 70 ผู้นำตลาดซอสปรุงรสอาหารที่สำคัญในสหรัฐอเมริกาได้แก่ โรงงานผลิตซอสปรุงรส Kikoman Corporation, McCormick & Company Inc, The Kraft Heinz Company, Unilever Group, Conagra Brands Inc, Del Monte Food Inc, Edward & Sons Trading Company Inc, Kin's Food Inc, Nestle S.A. เป็นต้น
โรงงานและบริษัทผลิตซอสปรุงรสในอเมริกา

พฤติกรรมการบริโภคซอสปรุงรส

ความชอบของผู้บริโภคและพฤติกรรมการรับประทานอาหารของผู้บริโภคของคนอเมริกันกำลังเปลี่ยนรูปแบบการบริโภตสำหรับผลิตภัณฑ์แบบดั้งเดิม เช่น ซอสมะเขือเทศ มายองเนส และ มัสตาร์ด ในขณะที่เพิ่มการบริโภคซอสปรุสรสเช่น น้ำสลัด และ เครื่องปรุงรสประจำชาติพันธุ์ (Ethinic Sauce) ในสหรัฐอเมริกา
ความชอบของผู้บริโภคและพฤติกรรมการรับประทานอาหารของผู้บริโภคของคนอเมริกันกำลังเปลี่ยนรูปแบบการบริโภตสำหรับผลิตภัณฑ์แบบดั้งเดิม เช่น ซอสมะเขือเทศ มายองเนส และ มัสตาร์ด ในขณะที่เพิ่มการบริโภคซอสปรุสรสเช่น น้ำสลัด และ เครื่องปรุงรสประจำชาติพันธุ์ (Ethinic Sauce) ในสหรัฐอเมริกา
จากข้อมูลของ Euromonitor รายงานว่า ความชื่นชอบของผู้บริโภคชาวอเมริกันที่มีต่อซอสน้ำสลัดและเครื่องปรุงรสจะเปลี่ยนไปสู่ผลิตภัณฑ์ที่ดีต่อสุขภาพและมีรสชาติมากขึ้น และมีความปราถนาที่จะรวมอาหารและส่วนผสมจากหลากหลายวัฒธรรมเข้าไว้ด้วยกันในอาหาร ซึ่งเป็นปัจจัยจุดประกายให้แก่ซอสปรุงรสชาติของเอเซีย
โดยเฉพาะอย่างยิ่ง มีความเกี่ยวข้องกับผู้บริโภคกลุ่ม Gen-x และ Gen-y และ Millennial ซึ่งต้องการอาหารและขอบขบเคี้ยวและรสชาติตามชาติพันธุ์มากขึ้น หรือให้ความแปลกใหม่ ผู้บริโภคยังมองหาโอกาสในการผสมผสานวัตถุดิบใหม่ๆ เข้ากับอาหารปรุงเองที่บ้าน จากเครื่องปรุงต่างวัฒนธรรมซึ่งจะให้กลิ่นอายมื้ออาหารที่เอร็ดอร่อยมากขึ้น

ภาวะการแข่งขันซอสปรุงรสในสหรัฐอเมริกา

ความต้องการบริโภคซอสปรุงรสของเอเซียขยายตัวในอัตราที่สูงทั้งในตลาดค้าปลีกและตลาดค้าส่งบริการอาหาร (Foodservice) และโรงงานผลิตอาหารสำเร็จรูป จึงเป็นปัจจัยดึงดูดให้ ผู้ผลิตซอสรายสำคัญของสหรัฐอเมริกา หันมาให้ความสนใจต่อซอสปรุงรสของเอเซีย ในระยะเวลาที่ผ่านมา ซอสปรุงรสเอเซียนำเข้าครองตลาด แต่ปัจจุบันภาวะการแข่งขันซอสปรุงรสเอเซียชนิดที่ได้รับความนิยมสูง เข่น บริษัท Nestle ได้ผลิตซอสศรีราชา และ ซอสพริกหวาน (น้ำจิ้มไก่) แม้แต่บริษัท ผู้ผลิตซอส Tobasco ยังนำเสนอซอสศรีราชาเข้ามาแข่งขันในตลาดกับสินค้านำเข้าจากต่างประเทศ ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความเข้มข้นในการแข่งขันซอสปรุงรสเอเซีย

ส่วนแบ่งตลาดการนำเข้าซอสปรุงรสของสหรัฐอเมริกา

สหรัฐอเมริกา นำเข้าซอสปรุงรสเป็นมูลค่า 1,074.37 ล้านเหรียญสหรัฐ ในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2563 (มกราคม-กันยายน) ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 14.35 มีแหล่งนำเข้าที่สำคัญ 3 อันดับแรกคือ แคนาดา (ร้อยละ 22.68) เม็กซิโก (ร้อยละ 18.25) และ อิตาลี่ (ร้อยละ 15.61)
ประเทศไทยเป็นแหล่งนำเข้าเครื่องปรุงรส ลำดับที่ 4 ของสหรัฐอเมริกา มีมูลค่า 76.73 ล้านเหรียญสหรัฐ ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.44 สินค้าซอสปรุงอาหารที่สำคัญของไทยในตลาดสหรัฐ ได้แก่ น้ำปลา ซีอิ้วดำ ซอสศรีราชา น้ำพริกเผา และ ซอสน้ำมันหอย
การนำเข้าซอสปรุงรสของสหรัฐอเมริกา
ในช่วงมกราคม-กันยายน 2563
หน่วย: ล้านเหรีญสหรัฐ
แหล่งนำเข้าซอสปรุงรส
มค-กย 2562
มค-กย 2563
เพิ่ม/ลด(%)
สัดส่วน(%)
1. ประเทศแคนาดา
216.83
243.62
12.36
22.68
2. ประเทศเม็กซิโก
171.41
196.07
14.39
18.25
3. ประเทศอิตาลี่
131.92
167.69
27.11
25.61
4. ประเทศไทย
72.77
76.73
5.44
7.14
5. ประเทศจีน
66.34
66.73
0.59
6.21
6. ประเทศญี่ปุ่น
50.03
56.77
13.47
5.28
7. ประเทศเกาหลีใต้
26.61
34.20
27.09
3.18
ประเทศอื่นๆ
203.35
232.56
14.36
21.65
การนำเข้ารวม
939.56
1,074.37
14.35
100

ข้อพิจารณาการขยายตลาดซอสปรุงรสในอเมริกา

1. ภาวะการแข่ง่ขันของตลาดซอสปรุงรสอาหารอยู่ในระดับปานกลางในระหว่างกลุ่มผู้ประกอบการในสหรัฐ ปัจจุบันซอสปรุงรสอาหารจากเอเซียเป็นที่ได้รับความนิยมบริโภคเพิ่มขึ้นในตลาดสหรัฐ ผู้ประกอบการในสหรัฐหลายราย เช่น บริษัท Kikkoman (สหรัฐ), บริษัท Mcllhenny Co (ผู้ผลิตซอสเผ็ด Tabasco), บริษัท Nestle, McCormick ได้เข้าร่วมวงผลิตซอสศรีราชา และซอสพริกหวานแข่งขันกับตลาดซอสของเอเซีย ซึ่งจะเป็นการเพิ่มภาวะการแข่งขันให้กับสินค้านำเข้า
2. โอกาสการขยายตลาดซอสปรุงรสอาหารไทยในสหรัฐ แยกสินค้าเป็น 2กลุ่ม คือ (1) สินค้าซอสปรุงแบบดั้งเดิม ซึ่งผู้ผลิต/ส่งออกไทยอาจจะพิจารณาขยายการผลิตให้ครอบคลุมซอสปรุงรสที่นอกเหนือไปจากซอสไทย หรือ (2) ผลิตภัณฑ์ใหม่ หรือสินค้าซอสปรุงรสดัดแปลงหรือที่เรียกว่า "ซอสฟิวชั่น" เช่น ซอสผสมน้ำผึ่ง ผสมมัสตาร์ด หรือ มายองเนส กำลังได้รับความนิยมในปัจจุบัน โดยนำซอสดังกล่าวมาผสมผสานกับซอสไทย ซึ่งจะเป็นการสร้างโอกาศให้แก่ซอสปรุงรสของไทยเพิ่มมากขึ้น
3. ไม่เพียงแต่การแนะนำผลิตภัณฑ์แบบใหม่ๆ ผู้ผลิต/ส่งออกไทยควรจะมุ่งในเรื่องบรรจุภัณฑ์ของสินค้า บรรจุภํณฑ์ เป็นปัจจัยสำคัญในการดึงดูดผู้บริโภคในการตัดสินใจซื้อสินค้า ดังนั้นรูปแบบบรรจุภัณฑ์แบบใหม่ๆ จะครอบคลุมในเรื่อง ความหลากหลายของขนาด บริมาตรบรรจุ การออกแบบ และ ความเหมาะสมในการใช้
4. การผลิตซอสควรคำนึงถึงการผสมผสานส่วนผสมจากธรรมชาติเข้ากับผลิตภัณฑ์ การนำเสนอซอสปรุงรสชาติแบบอินทรีย์ หรือ วีแกน หรือ กลูเตนฟรี เพื่อสนองความต้องการของผู้บริโภคในกลุ่มให้ความสำคัญต่อสุขภาพ
5. สินค้าซอสปรุงรสของไทยส่วนใหญ่ได้รับสิทธิประโยชน์ยกเว้นภาษีนำเข้าหรือเป็นสินค้า "จีเอสพี" ยกเว้นซีอิ้ว (Soy Sauce) ซึ่งถูกเพิกถอนจีเอสพีไปเมื่อเดือนตุลาคม 2562 ดังนั้น จึงน่าจะเป็นปัจจัยช่วยผลักดันในการเพิ่มมูลค่าการนำเข้าและเพิ่มการบริโภคซอสปรุงรสของไทย
--------  คำค้น  --------
โรงงานซอสปรุงรส Food day
ซอสปรุงรส
โรงงานเครื่องปรุงรสเราผลิตซอสปรุงรสเราผลิตซอสปรุงรสส่งออกต่างประเทศและจัดจำหน่ายในประเทศไทยภายใต้แบรนด์ Food day
โรงงานน้ำจิ้ม Food day
น้ำจิ้ม
โรงงานเครื่องปรุงรสเราผลิตน้ำจิ้มส่งออกต่างประเทศและจัดจำหน่ายในประเทศไทยภายใต้แบรนด์ Food day
โรงงานผงปรุงรส Food day
ผงปรุงรส
โรงงานเครื่องปรุงรสเราผลิตผงปรุงรสเราผลิตผงปรุงรสส่งออกต่างประเทศและจัดจำหน่ายในประเทศไทยภายใต้แบรนด์ Food day
โรงงานซอสผลไม้ Food day
ซอสผลไม้
โรงงานเครื่องปรุงรสเราผลิตซอสผลไม้ส่งออกต่างประเทศและจัดจำหน่ายในประเทศไทยภายใต้แบรนด์ Food day
โรงงานผลิตน้ำสลัดผลไม้ Food day
น้ำสลัดผลไม้
โรงงานเครื่องปรุงรสเราผลิตน้ำสลัดผลไม้ส่งออกต่างประเทศและจัดจำหน่ายในประเทศไทยภายใต้แบรนด์ Food day
CONTACT
169/47 ถ.พุทธมณฑลสาย 4 ต.กระทุ่มล้ม  อ.สามพราน จ.นครปฐม 73220
086-070-0007
ananindustry@gmail.com
https://www.ananindustry.com
WORKING DAYS/HOURS
วันจันทร์ - วันเสาร์
8.00 - 17.00 น.
Copyright © 2008 Anan Industry Company Limited. All Rights Reserved