แคปซูลเจลาตินฮาลาลผลิตจากอะไร มีความสำคัญต่ออุตสาหกรรมอาหารและยาอย่างไร?

แคปซูลเจลาตินฮาลาลผลิตจากอะไร?

ในกลุ่มประเทศอาเซียนพบว่ามีประชากรชาวมุสลิมมากที่สุด การให้ความสำคัญกับผลิตภัณฑ์ฮาลาลจึงมีความสำคัญอย่างยิ่งแคปซูลเปล่าเจลาตินมีบทบาทสำคัญในอุตสาหกรรมยาและผลิตภัณฑ์อาหารเสริมเพื่อสุขภาพ เจลาตินที่นำมาผลิตเปลือกแคปซูลจึงต้องปราศจากวัตถุดิบที่มาจากสุกร และต้องมาจากแหล่งอื่นที่เป็นไปตามบทบัญัติแห่งศาสนาอิสลาน เช่น วัตถุดิบจากวัว ปลา ไก่ หรือพืช ซึ่งในบทความนี้จะกล่าวถึงคุณสมบัติของเจลาตินและแคปซุลเจลาติน วัตถุดิบที่สามารถนำมาเตรียมผลิตแคปซูลเปล่าฮาลาลได้ โดยเจลาตินจากวัวได้รับความนิยมในการผลิตแคแซูลฮาลาลมากที่สุด แต่ยังมีความกังวลเรื่องการระบาดของโรคติดต่อจากสัตว์สู่คน ในปัจจุบันจึงมีการหาแหล่งวัตถุดิบใหม่ๆ ที่ไม่ใช้สัตว์เลื้ยงลูกด้วยนม จึงมีพัฒนาเจลาติกและแคปซูลจากปลา ไก่ หรือแม่กระทั่งแคปซูลเจลลาตินจากพืช เพื่อทดแทนการผลิตเปลือกแคปซูลจากสัตว์ อย่างไรก็ตามเครื่องหมายฮาลาลยังคงเป็นการรับประกันความเหมาะสมในการบริโภคตามหลักศาสนาอิสลามได้เป็นอย่างดี
สำหรับการขยายตลาดการค้าให้เติมโตได้ในอาเซียนการผลิตผลิตภัณฑ์ต่างๆจึงต้องให้ความสำคัญกับฮาลาลในเกือบทุกอุตสาหกรรม เช่น ผลิตภัณฑ์อาหารสำเร็จรูป ผลิตภัณฑ์เครื่องปรุงรส ผลิตภัณฑ์อาหารเสริม และผลิตภัณฑ์ยา

เจลาตินและแคปซูลเจลาติน คือ

เจลาตินเป็นโปรตีนบริสุทธ์ที่ได้จากการนำคอลลานเจนมาไฮโดรไลซิสบางส่วนด้วยกรด (Partial acid hydrolysis) เรียกว่าเจลาตินชนิดเอ (Type A gelatin) หรือการนำคอลลาเจนมาไฮโดไลซิสบางส่วนด้วยด่าน (Partial alkaline hydrolysis) เรียกว่า เจลาตินชนิดบี (Type B gelatin) ได้จากคอลลาเจนของสัตว์ ได้แก่ กระดูกหรือหนังของวัว กระบือ สุกร หรือปลา เป็นต้น ซึ่งเจลาตินอาจเป็นส่วนผสมของทั้งชนิดเอและบีก็ได้ โดยเจลาตินประกอบด้วยกรดอะมิโนที่ต่อกันด้วยพันธพเอไมด์ (amide linkage) เกิดเป็น พอลิเมอร์สายตรง ซึ่งมีมวลโมเลกุลตั้งแต่ 20-200 กิโลดาลตัน กรดอะมิโนที่เป็นส่วนประกอบในเจลาตินจะแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับที่มาของเจลาตินนั้นๆ แต่จะประกอบด้วยไกลซีน โปรลีน และไฮดรอกซีโปรลีนในบริมาณสูงเสมอ เมื่อพิจารณาค่าความเป็นกรดด่างและค่า isoelectric point พบว่าเจลาตินชนิดเอมีค่า pH 3.8-6.0 และ isoelectric point 6-8 ในขนะที่ เจลาตินชนิดบี มีค่า pH 5.0-7.4 และ isoelectric point 4.7-5.3 การผลิตเจลาตินจากสุกรจะไฮโดรไลซิสคอลลานเจนด้วยกรด และจากวัวจะไฮโรไลซิสด้วยด่าง บางครั้งจึงเรียกเจลาตินจากสุกรว่าเจลาตินชนิดเอ และเจลาตินจากวัวว่าเจลตินชนิดบี

ในทางเภสัชกรรมใช้เจลาตินเพื่อประโยชน์หลายอย่าง ได้แก่ สารเคลือบ (Coating agent) สารก่อฟิล์ม (Film-forming agent) สารก่อเจล (Gelling agent) สารแขวนตะกอน (Suspending agent) สารช่วยยึดเกาะในยาเม็ด (Tablet binder) สารเพิ่มความหนืด (viscosity-increasing agent) นอกจากนี้ยังนิยมนำมาผลิตแคปซูลเจลาตินชนิดแข็ง (Hard gelatin capsule) และ แคปซูลเจลาตินชนิดนิ่ม (Soft) โดยทั่วไปแคปซูลชนิดแข็งประกอบด้วยเจลาตินร้อยละ 30 น้ำร้อยละ 65 และสีร้อยละ 5 ซึ่งแคปซูลชนิดแข็งที่ผลิตจากเจลาตินชนิดเอและบี มีคุณสมบัติแตกต่างกัน

ในทางผลิตภัณฑ์อาหารเสริม โรงงานอาหารเสริมจะใช้เจลลาติน มาผลิต แคปซูลอาหารเสริม และ อาหารเสริมเจลลี่  อาหารเสริมกัมมี่
คุณสมบัติเจลาตินและแคปซูลเจลาติน
คุณสมบัติของแคปซูลเจลาตินชนิดแข็งและชนิดนิ่มที่ผลิตจากเจลาตินชนิดเอและบี

วัตถุดิบเจลาตินสำหรับผลิตแคปซูลฮาลาล

เจลาตินจากวัว

เจลาตินจากวัวได้รับความนิยมรองลงมาจากเจลตินจากสุกร เนื่องจากสามารถหาวัตถุดิบได้ง่าย จากการศึกษาปริมาณกรดอะมิโนที่เป็นส่วนประกอบของเจลาตินจากวัว พบว่ามีไกลซีนและโปรลีนต่ำกว่าเจลาตินจากสุกร ในขณะเดียวกันความเหนียวก็น้อยกว่าเช่นกัน

ช่วงปี ค.ศ. 1980 เกิดการระบาดของโรควัวบ้า (Mad cow disease หรือ Bovine spongi-from encephalopathy) ในทวีปยุโรป ส่งผลให้เกิด Creutzfeldt-Jacod disease ในมนุษย์ ซึ่งมีความเป็นไปได้ที่จะเกิดจากการบริโภคอาหารหรือผลิตภัณฑ์จากสัตว์ที่มีการปนเปื้อนเชื้อโรคดังกล่าว จึงมีความกังวลว่า หากมีการนำชิ้นส่วนของสัตว์ที่ตายด้วยโรคนี้หรือสัตว์ที่ติดเชื้อมาสกัดเพื่อผลิตเจลาติน อาจก่อให้เกิดการติดเชื้อในมนุษย์ได้ อย่างไรก็ตาม จากการทดลองของ Grobben และคณะในปี ค.ศ 2004 พบว่าเมื่อสกัดเจลาตินจากกระดูกวัวที่ติดเชื้อ กรดหรือด่างที่ใช้สามารถทำลายเชื้อโรคที่ก่อให้เกิดโรคนี้ได้ อย่างไรก็ตาม ความกังวลเรื่องการติดเชื้อจากสัตว์สู่คนก็ยังคมมีอยู่ การศึกษาในระยะต่อมาจึงมีการเลือกใช้ทางเลือกอื่นๆ เพื่อทดแทนการสกัดสารสกัดเจลาตินากวัวและเจลาตินจากสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม

เจลาตินจากปลา

เจลาตินที่ได้จากปลามีข้อดีหลายประการได้แก่ จุดหลอมเหลวต่ำ ทำให้ละลายได้เร็วในช่องปาก ปลามีปริมาณคอลลาเจนสูง (สารตั้งต้นในการผลิตเจลาติน) เป็นการนำของเสียที่ได้จากอุตสาหกรรมประมง (หนัง ก้าง และครีบปลา) มาใช้ให้เกิดประโยชน์และลดมลภาวะได้ ซึ่งแคปซูลชนิดนิ่มในธุรกิจโรงงานผลิตภัณฑ์อาหารเสริม นิยมใช้เจลาตินจากปลามากที่สุด อย่างไรก็ตาม เจลาตินจากปลามีข้อด้อยเช่นกัน คือ วัตถุดิบที่จะนำมาผลิตเจลาตินหายากและน้อยกว่าสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม มีความผันแปรของคุณภาพเจลาติน อาจมีกลิ่นตกค้าง และราคาแพงกว่าเจลาตินจากสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมประมาณ 4-5 เท่า
ตารางรายชื่อปลาที่นำมาผลิตเจลาติน
ชื่อปลาที่นำมาผลิตเจลาติน

เจลาตินจากไก่

เจลาตินจากไก่สามารถสกัดได้จากหนังและเส้นเอ็นโดยเฉพาะบริเวณเท้าไก่ จกาการทดสอบคุณสมบัติทางอุฎหพลศาสตร์ (Thermodynamic) พบว่าเจลาตินที่เตรียมได้จากไก่มีค่า DSC Thermal transition และ Enthalpy สูงกว่าเจลาตินจากวัวทั้งในสภาวะร้อนและเย็น แสดงให้เห็นว่าเจลาตินจากไก่มีความคงตัวเมื่อได้รับความร้อนที่ดีกว่า ทั้งนี้อาจเกิดจากมีโปรลีนในปริมาณสูงเช่นเดียวกับเจลาตินที่ได้จากปลา ขณะที่มวลโมเลกุลไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญแสดงให้เห็นว่าคุณสมบัติทางอุณหพลศาสตร์ระหว่างเจลาตินจากไก่และเจลาตินจากวัว ไม่ได้เกิดผลของมวลโมเลกุล

เจลาตินจากพืช

จอกจากนี้ยังมีการพยายามนำไฮโตร-คอลลอยด์ของพืช (Plant hydrocolloid) มาใช้ทดแทนเจลาติน หรือที่เรียกว่า แคปซูลมังสวิรัติ (Vegetarian Capsule) เช่น แป้ง (Starch) แป้งที่ผ่านการดัดแปลง (Modified starch) เพคติน (Pectin) คาราจีแนน (Carrageenan) และวุ้น (Agar) สารที่โดดเด่นที่สุดในกลุ่มนี้คือไฮดรอกซีโพรพิลเมธิลเซลลูโลส (Hydroxyprobyl methylcellulose, HPMC) ในทางเภสัชกรรมมีการใช้ HPMC อย่างกว้างขวาง เช่น ใช้เป็นสารเคลือบ (Coating agent) สารก่อฟิล์ (Film-forming agent) สารก่อเจล (Gelling agent) สารช่วยยึดเกาะในยาเม็ด (Tablet binder) สารยึดเกาะเยื่อเมือก (bioadhesive) และอื่นๆ โดยภาพรวมนั้นการใช้ประโยชน์จาก HPMC คล้ายคลึงกับเจลาตินข้อดีของ แคปซูล HPMC ที่เหนือกว่าแคปซูลเจลาตินคือ มีความชื้นต่ำกว่าแคปซูลเจลาตินประมาณ 1ใน3 แคปซูล HPMC จึงเหมาะดับยาที่ดูดความชื้นได้ง่าย นอกจากนี้การรับประทานยาที่บรรจุในแคปซูล HPMC สมารถดื่มได้ทั้งน้ำอุ่นและน้ำเย็นในขณะที่เคแซูลเจลาตินควรดื่มกับน้ำอุ่น ถึงแม้ในทางปฏิบัติไม่ได้มีคำแนะนำให้รับประทานยาแคปซูลพร้อมน้ำอุ่น อย่างไรก็ตาม อุณหภูมิของตัวกลางยังคงมีผลต่อการแตกตัว (Disintegration) หรือการละลาย (Dissolution) ของยาเม็ดและยาแคปซูล ซึ่งจะส่งผลต่อค่าชีวประสิทธิผล (Bioavail-ability) ของยาต่อไป อย่างไรก็ตามการเลือกใช้แคปซูล HPMC จะต้องระวังการเกิดปฏิกิริยาของยาหรือสารที่บรรจุลงในแคปซูล เข่น การบรรจุสารสกัดจากธรรมชาติชาเขียวลงในแคปซูล HMPC จะทำให้การปลดปล่อยตัวยาช้าลง เนื่องจากการเกิดปฎิกิริยากับคาเทซิน เป็นต้น

การศึกษาการแตกตัวของแคปซูลเปล่า พบว่าแคปซูล HPMC แตกตัวช้ากว่าแคปซูลจากเจลาติน ซึ่งการแตกตัวช้าหรือเร็วนั้นขึ้นอยู่กับเกรดของแคปซูลและชนิดของสารละลายตัวกลาง โดยที่เกรดของแคปซูลที่ใช้กับผลลิตภัณฑ์อาหารเสริมอาหารจะแตกตัวได้ช้ากว่าเกรดที่ใช้กับยา และสารละลายตัวกลางที่มีค่า pH 1.2 แคปซูลจะแตกตัวได้เร็วกว่าที่ค่า pH 7.2 ประมาณ 2 เท่า แต่สามารถแตกตัวได้อย่างสมบูรณ์ในเวลาน้อยกว่า 16 นาที เมื่อพิจารณาด้านการละลายของตัวยาธิโอฟิลลีน (Theophylline) ออกจากแคปซูล พบว่า ยาที่บรรจุลงในแคปซูล HPMC จะละลายออกมาได้มากกว่ายาที่บรรจุในแคปซูลเจลาตินที่เวลาเท่ากัน เนื่องจากการละลายของแคปซูล HPMC จะละลายพร้อมกันทั่วทั้งเปลือกแคปซูล ขณะที่แคปซูลเจลาตินจะละลายที่ส่วนไหล่ตรงส่วนโค้งของแคปซูลก่อน หลังจากนั้นจึงละลายทั่วทั้งเปลือก ด้วยขั้นตอนการละลายที่แตกต่างกันนี้เองส่งผลให้ยาที่ถูกบรรจุในแคปซูล HPMC ละลายออกมาได้มากกว่า เนื่องจากการละลายของแคปซูลที่เร็วกว่านั่นเอง
นอกจากนี้ยังมีการพยายามนำไฮโตร-คอลลอยด์ของพืช (Plant hydrocolloid) มาใช้ทดแทนเจลาติน หรือที่เรียกว่า แคปซูลมังสวิรัติ (Vegetarian Capsule) เช่น แป้ง (Starch) แป้งที่ผ่านการดัดแปลง (Modified starch) เพคติน (Pectin) คาราจีแนน (Carrageenan) และวุ้น (Agar) สารที่โดดเด่นที่สุดในกลุ่มนี้คือไฮดรอกซีโพรพิลเมธิลเซลลูโลส (Hydroxyprobyl methylcellulose, HPMC) ในทางเภสัชกรรมมีการใช้ HPMC อย่างกว้างขวาง เช่น ใช้เป็นสารเคลือบ (Coating agent) สารก่อฟิล์ (Film-forming agent) สารก่อเจล (Gelling agent) สารช่วยยึดเกาะในยาเม็ด (Tablet binder) สารยึดเกาะเยื่อเมือก (bioadhesive) และอื่นๆ โดยภาพรวมนั้นการใช้ประโยชน์จาก HPMC คล้ายคลึงกับเจลาตินข้อดีของ แคปซูล HPMC ที่เหนือกว่าแคปซูลเจลาตินคือ มีความชื้นต่ำกว่าแคปซูลเจลาตินประมาณ 1ใน3 แคปซูล HPMC จึงเหมาะดับยาที่ดูดความชื้นได้ง่าย นอกจากนี้การรับประทานยาที่บรรจุในแคปซูล HPMC สมารถดื่มได้ทั้งน้ำอุ่นและน้ำเย็นในขณะที่เคแซูลเจลาตินควรดื่มกับน้ำอุ่น ถึงแม้ในทางปฏิบัติไม่ได้มีคำแนะนำให้รับประทานยาแคปซูลพร้อมน้ำอุ่น อย่างไรก็ตาม อุณหภูมิของตัวกลางยังคงมีผลต่อการแตกตัว (Disintegration) หรือการละลาย (Dissolution) ของยาเม็ดและยาแคปซูล ซึ่งจะส่งผลต่อค่าชีวประสิทธิผล (Bioavail-ability) ของยาต่อไป อย่างไรก็ตามการเลือกใช้แคปซูล HPMC จะต้องระวังการเกิดปฏิกิริยาของยาหรือสารที่บรรจุลงในแคปซูล เข่น การบรรจุสารสกัดจากธรรมชาติชาเขียวลงในแคปซูล HMPC จะทำให้การปลดปล่อยตัวยาช้าลง เนื่องจากการเกิดปฎิกิริยากับคาเทซิน เป็นต้น

เครื่องหมายฮาลาลสำคัญอย่างไรในผลิตภัณฑ์

จากการสำรวจในหลายๆประเทศทั่วโลก พบว่าเจลาตินส่วนใหญ่ ร้อยละ 45 ใช้หนังสุกรเป็นวัตถุดิบตั้งต้นในการผลิต รองลงมาคือหนังวัด ร้อยละ 30 กระดูกสุกรหรือวัว ร้อยละ 23 นอกนั้นใช้วัตถุดิบจาก ไก่ ปลา หรืออื่นๆ ซึ่งในประเทศไทยรูปแแบบยาหหลายชนิดนิยมบรรจุในแคปซูลชนิดแข็ง การใช้เจลาตินที่ได้มาจากสุกร จึงไม่เหมาะสมที่จะนำมาใช้ผลิตยาสมุนไพรฮาลาล ยาและอาหารเสริม เนื่องจากขัดกับหลักของศาสนาอิสรามเพราะในประชากรของประเทศไทยก็มีคนศาสนาอิสรามเยอะพอสมควร ส่วนเจลาตินที่ได้มาจากแหล่งอื่นสามารถนำมาผลิตได้ หากเป็นไปตามบทบัญญัติแห่งศาสนาอิสลาม มีการศึกษาการสุ่มตัวอย่างแภสัชภัณฑ์จำหน่ายในตลาดท้องถิ่นของประเทศมาเลเซียเพื่อตรวจหาดีเอ็นเอของสุกรด้วย พบว่าร้อยละ 37.2 ของตัวอย่างทั้งสิ้น 113 ตัวอย่างมีการปนเปื้อนของดีเอ็นเอสุกร อย่าไรก็ตาม ตัวอย่างที่ตรวจพบการปนเปื้อนนั้นล้วนนำเข้าที่ไม่ผ่านการรับรองผลิตภัณฑ์ฮาลาล แสดงให้เห็นว่าเครื่องหามายฮาลาลมีความสำคัญมากในการรับประกันสินค้าหรือผลิตภัณฑ์ว่าเป็นไปตามข้อกำหนดของศาสนาอิสลามหรือไม่
การให้ความสำคัญกับกลุ่มประชากรมุสสลิม ซึ่งเป็นกลุ่มที่มีจำนวนมากที่สุดในอาเซียน จึงมีความสำคัญอย่างยิ่งเจลาตินได้ถูกนำมาใช้อย่างกว้างขวาง มีบทบาทสำคัญในธุรกิจยาและผลิตภัณฑ์อาหารเสริมเพื่อสุขภาพต่างๆ โดยเฉพาะอย่างการผลิตแคปซูล แคปซูลที่เหมาะสำหรับตลาดอาเซียนคือแคปซูลฮาลาล (Halal Capsule) ซึ่งผลิตจากสัตว์และพืช ยกเว้นสุกร โดยวิธีการผลิตจะต้องเป็นไปตามบทบัญญัติแห่งศาสนาอิสรามเพื่อให้เหมาะสมกับวิถีชีวิตของชาวมุสลิมซึ่งเป็นกลุุ่มประชากรหลักในเขตนี้
CONTACT
169/47 ถ.พุทธมณฑลสาย 4 ต.กระทุ่มล้ม  อ.สามพราน จ.นครปฐม 73220
086-070-0007
ananindustry@gmail.com
https://www.ananindustry.com
WORKING DAYS/HOURS
วันจันทร์ - วันเสาร์
8.00 - 17.00 น.
Copyright © 2008 Anan Industry Company Limited. All Rights Reserved