คำศัพท์ที่ควรรู้ก่อนการประกอบกิจการสถานีชาร์จประจุรถยนต์ไฟฟ้า EV Charging Station

คำศัพท์ที่ควรรู้ก่อนการประกอบกิจการสถานีชาร์จประจุรถยนต์ไฟฟ้า EV Charging Station

เนื่องจากรูปแบบการดำเนินงานธุรกิจเกี่ยวกับการให้บริการชาร์จปรุจุรถยนต์ไฟฟ้า (EV Charging Station) มีผู้เกี่ยวข้องเป็นจำนวนมาก ทั้งผู้เกี่ยวข้องโดยตรงกับรถยนต์ไฟฟ้า เช่น ผู้ใช้รถยนต์ไฟฟ้า ผู้ผลิตอุปกรณ์เกี่ยวกับรถยนต์ไฟฟ้า ผู้ให้บริการเครื่งชาร์จประจุรถยนต์ไฟฟ้า และ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับสถานีชาร์จประจุรถยนต์ไฟฟ้า เช่น หน่วยงานด้านการไฟฟ้าและจำหน่ายไฟฟ้า (Energy Supplier) และ Distribution System Operator, DSO) รวมไปถึงผู้ให้บริการคิดเงิน (Clearing House Operator) ทำให้ผู้ประกอบการจำเป็นจะต้องเข้าใจคำนิยามของศัพท์ในการประกอบกิจการสถานีชาร์จประจุรถยนต์ไฟฟ้าและธุรกิจที่เกี่ยวข้อง แสดงดังตารางที่ 1
คำศัพท์
คำนิยาม
พลังงานหมุนเวียน
พลังงานหมุนเวียนตามกฎหมายว่าด้วยคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ
กิจการพลังงาน
กิจการไฟฟ้า กิจการก๊าซธรรมชาติ หรือกิจการระบบโครงข่ายพลังงาน
กิจการไฟฟ้า
การผลิต การจัดให้ได้มา การจัดส่ง การจำหน่ายไฟฟ้าหรือการควบคุมระบบไฟฟ้า
ระบบโครงข่ายไฟฟ้า
ระบบส่งไฟฟ้าหรือระบบจำหน่ายไฟฟ้า
ระบบไฟฟ้า
ระบบผลิตไฟฟ้า ระบบส่งไฟฟ้า และระบบจำหน่ายไฟฟ้าที่อยู่ภายใต้การปฎิบัติการและควบคุมของผู้รับใบอนุญาต
ระบบผลิตไฟฟ้า
ระบบการผลิตไฟฟ้าของผู้รับใบอนุญาตจากโรงไฟฟ้าไปถึงจุดเชื่อมต่อกับระบบโครงข่ายไฟฟ้า และให้หมายความรวมถึงระบบจัดส่งเชื้อเพลิงที่ใช้ในการผลิตไฟฟ้าด้วย
ระบบส่งไฟฟ้า
ระบบการนำไฟฟ้าจากระบบผลิตไปยังระบบจำหน่ายไฟฟ้า และให้หมายความรวมถึงศูนย์ควบคุมระบบไฟฟ้าที่ใช้ในการควบคุมระบบส่งไฟฟ้านั้นด้วย
ระบบจำหน่ายไฟฟ้า
ระบบการนำไฟฟ้าจากระบบส่งไฟฟ้า หรือระบบผลิตไฟฟ้าไปยังผู้ใช้ไฟฟ้าซึ่งมิใช่ผู้รับใบอนุญาต และให้หมายความรวมถึงศูนย์ควบคุมระบบไฟฟ้าที่ใช้ในการควบคุมระบบจำหน่ายไฟฟ้านั้นด้วย
ยานยนต์ไฟฟ้า (Electric Vehicle, EV)
ยานยนต์ที่ขับเครื่องด้วยมอเตอร์ไฟฟ้า โดยใช้พลังงานไฟฟ้าซึ่งเก็บอยู่ในแบตเตอรี่ หรืออุปกรณ์เก็บพลังงานแบบอื่นๆ
ยานยนต์ไฟฟ้าไฮบริด (Hybrid Electric Vehicle, HEV)
ยานยนต์ที่มีการใช้เครื่องยนต์และมอเตอร์ไฟฟ้าขับเคลื่อนร่วมกัน สามารถเปลี่ยนพลังงานที่สูญเสียจากการเบรกเป็นพลังงานไฟฟ้าเก็บในแบตเตอรี่
ยานยนต์ไฟฟ้าไฮบริดปลั๊กอิน (Plug-in Hybrid Electric Vehicle, PHEV)
เป็นยานยนต์ไฟฟ้าที่พัฒนาต่อมาจาก ยานยนต์ไฟฟ้าไฮบริด โดยสามารถอัดประจุพลังงานไฟฟ้าได้จากแหล่งภายนอก (Plug-in) ทำให้ยานยนต์สามารถใช้พลังงานพร้อมกันจาก 2แหล่ง
ยานยนต์ไฟฟ้าแบตเตอรี่ (Battery Electric Vehicle, BEV)
เป็นยานยนต์ไฟฟ้าที่มีเฉพาะมอเตอร์ไฟฟ้าเป็นต้นกำลังให้ยานยนต์เคลื่อนที่ และใช้พลังงานไฟฟ้าที่อยู่ในแบตเตอรี่เท่านั้น ไม่มีเครื่องยนต์อื่นในยานยนต์
เครื่องอัดประจุไฟฟ้า (เครื่องชาร์จไฟฟ้า, EV Charger)
อุปกรณ์สำหรับใช้บรรจุพลังงานไฟฟ้าลงในแบตเตอรี่ของยานยนต์ไฟฟ้า
ผู้ให้บริการอัดประจุไฟฟ้า (Electromobility Service Provider, EMSP)
ผู้ที่ทำหน้าที่เชื่อมต่อการให้บริการระหว่างผู้ขับขี่ยานยนต์ไฟฟ้าและผู้ให้บริการเครื่องอัดประจุไฟฟ้า พัฒนาแอพพลิเคชั่นสำหรับผู้ขับขี่ยานยนต์ไฟฟ้า
หน่วยงานด้านการไฟฟ้า (Energy Supplier และ Distribution System Operator, DSO)
หน่วยงานที่ทำหน้าที่ผลิต ส่ง และจ่ายกระแสไฟฟ้าไปยังเครื่องอัดประจุไฟฟ้า (EV Charger) และบริหารจัดการปริมาณการใช้ไฟฟ้าจากการอัดประจุไฟฟ้าของยานยนต์ไฟฟ้า
หน่วยงานแลกเปลี่ยนข้อมูลทางการเงินหรือการหักบัญชีด้วยระบบ Electronic payment (Clearing House)
ผู้ที่ทำหน้าที่โอนค่าใช้จ่ายจากผู้ขับขี่ยานยนต์ไฟฟ้าผ่านผู้ให้บริการอัดประจุไฟฟ้าไปยังผู้ให้บริการเครื่องอัดประจุไฟฟ้า
อัตราค่าบริการ EV Charger
ราคาพลังงานต่อหน่วย ค่าตอบแทน หรือเงื่อนไขสำหรับการให้บริการ ค่าธรรมเนียมอื่นๆ ที่ผู้รับใบอนุญาตเรียกเก็บจากผู้ใช้พลังงาน
Open Smart Charging Protocol, OSCP
รูปแบบการสื่อสารเพื่อคาดการณ์ขีดความสามารถของระบบโครงข่ายไฟฟ้า ระหว่างระบบการจัดการสถานีอัดประจุไฟฟ้า (EV Charger Station) และ ระบบการจัดการพลังงาน
Open Charge Point Protocol, OCPP
รูปแบบการสื่อสารของระบบบริหารจัดการส่วนกลาง สำหรับสถานีอัดประจุไฟฟ้า (EV Charger Station)
ตารางที่ 1 คำนิยามของศัพท์ในธุรกิจการประกอบกิจการสถานีอัดประจุไฟฟ้าและธุรกิจเกี่ยวข้อง
ที่มา: กกพ. (ERC)

คู่มือประกอบกิจการสถานีชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า

CONTACT
169/47 ถ.พุทธมณฑลสาย 4 ต.กระทุ่มล้ม  อ.สามพราน จ.นครปฐม 73220
086-070-0007
ananindustry@gmail.com
https://www.ananindustry.com
WORKING DAYS/HOURS
วันจันทร์ - วันเสาร์
8.00 - 17.00 น.
Copyright © 2008 Anan Industry Company Limited. All Rights Reserved