EV Charging Station สถานีชาร์จประจุรถยนต์ไฟฟ้า กับมาตฐานความปลอดภัยและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง

EV Charger Station สถานีชาร์จประจุรถยนต์ไฟฟ้า กับมาตฐานความปลอดภัยและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง

มาตรฐานความปลอดภัยในการจัดตั้ง EV Charging Station สถานีชาร์จประจุรถยนต์ไฟฟ้า

การติดตั้ง EV Charging Station สถานีชาร์จประจุรถยนต์ไฟฟ้าในเขตสถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิง สามรถทำได้โดยมีระยะความปลอดภัยและข้อกำหนดต่างๆ ตามพระราชบัญญัติควบคุมน้ำมันเชื้อเพลิง และอนุบัญญัติต่างๆ ดังนี้
1) กฎกระทรวง สถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. 2552
2) กฎกระทรวง ระบบไฟฟ้าและระบบป้องกันอันตรายจากฟ้าผ่าของสถานที่ประกอบกิจการน้ำมัน พ.ศ. 2556
3) กฎกระทรวง ฉบับที่ 4 (พ.ศ.2529) ออกตามความในประกาศของคณะปฎิวัติ ฉบับที่ 28 ลงวันที่ 29 ธันวาคม 2514
4) ประกาศกรมธุรกิจพลังงาน เรื่อง การกำหนดมาตรฐานขั้นต่ำของระบบไฟฟ้าเครื่องใช้ไฟฟ้าและอุปกรณ์ไฟฟ้าที่ใช้ในบริเวณอันตรายของสถานที่บรรจุก๊าซและสถานที่เก็บก๊าซ
5) ประกาศกรมธุรกิจพลังงาน เรื่อง การกำหนดประเภทของบริเวณอันตรายและระยะห่างของบริเวณอันตรายของที่บรรจุก๊าซและสถานที่เก็บก๊าซแต่ละประเภท ที่จะต้องใช้ระบบไฟฟ้า เครื่องใช้ไฟฟ้า และอุปกรณ์ไฟฟ้าให้ได้มาตรฐานขั้นต่ำ
6) ประกาศกระทรวงพลังงาน เรื่อง หลักเกณฑ์และมาตรฐานความปลิดภัยของสถานีบริการก๊าซธรรมชาติ ที่กรมธุรกิจพลังงานมีอำนาจหน้าที่รับผิดชอบ พ.ศ. 2546
7) ประกาศกรมธุรกิจพลังงาน เรื่อง การกำหนดบริเวณอันตรายและมาตฐานขั้นต่ำของระบบไฟฟ้าภายในสถานีบริการก๊าซธรรมชาติ
8) ประกาศกรมธุรกิจพลังงาน เรื่อง คุณสมบัติและคุณวุฒิของวิศวกรทดสอบ และ ตรวจสอบถังเก็บและจ่ายก๊าซ ถังขนส่งก๊าซ ระบบท่อก๊าชและอุปกรณ์ก๊าซธรรมชาติ
สำหรับการติดตั้ง EV Charger Station สถานีชาร์จประจุรถยนต์ไฟฟ้าในเขตสถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิง ยังมีประเด็นในเรื่องความปลอดภัยที่อาจจะเกิดขึ้นจากการระเบิดหรือการเกิดประกายไฟจากอุปกรณ์ไฟฟ้าที่ติดตั้งอยู่ในสถานีบรการน้ำมันเชื้อเพลิง โดยมีกฎกระทรวงว่าด้วย เรื่องระบบไฟฟ้าและระบบป้องกันอันตรายจากฟ้าผ่า พ.ศ. 2556 ซึ่งได้กำหนดบริเวณอันตรายของสถานที่ประกอบกิจการน้ำมันไว้เป็น 2แบบ ได้แก่
1. บริเวณอันตรายแบบที่ 1 หมายถึง บริเวณที่มีลักษณะดังต่อไปนี้
• บริเวณที่ในภาวะการทำงานปกติมีก๊าซหรือไอ ที่มีความเข้มข้นพอที่จะติดไฟได้
• บริเวณที่อาจมีก๊าซหรือไอที่มีความเข้มข้นพอที่จะติดไฟได้อยู่บ่อยๆ เนื่องจากการซ่อมแซมบำรุงรักษา หรือ รั่ว
• บริเวณที่เมื่อบริกัณฑ์เกิดความเสียหายหรือทำงานผิดพลาด อาจทำให้เกิดก๊าซหรือไอที่มีความเข้มข้นพอที่จะติดไฟได้ และอาจทำให้บริภัณฑ์ขัดข้องเป็นแหล่งกำเนิดประกายไฟได้
2. บริเวณอันตรายแบบที่ 2 หมายถึง บริเวณที่มีลักษณะดังต่อไปนี้
• บริเวณที่ใช้เก็บของเหลวติดไฟซึ่งระเหยง่ายหรือ ก๊าซที่ติดไฟได้ ซึ่งโดยปกติของเหลว ไอ หรือ ก๊าซจะถูกเก็บไว้ในภาชนะหรือระบบที่ปิด และอาจรั่วออกมาได้เฉพาะในกรณีที่บริภัณฑ์ทำงานผิดปกติ
• บริเวณที่มีการป้องกันการติดไฟเนื่องจากก๊าซหรือไอมีความเข้มข้นเพียงพอ โดยใช้ระบบระบายอากาศซึ่งทำงานโดยเครื่องจักรกลและอาจเกิดอันตรายได้ หากระบบระบายอากาศขัดข้องหรือทำงานผิดปกติ
• บริเวณที่อยู่ใกล้กับบริเวณอันตรายแบบที่ 1 และอาจได้รับการถ่ายเทก๊าซหรือไอ ที่มีความเข้มข้นพอที่จะติดไฟได้บางครั้ง ถ้าไม่มีการป้องกันโดยการทำให้ความดันภายในห้องสูงกว่าความดันบรรยากาศ โดยการดูดอากาศสะอาดเข้ามาภายในห้อง และมีระบบตรวจสอบด้านความปลอดภัยที่มีประสิทธิภาพ หากระบบการอัดและระบายอากาศขัดข้องหรือทำงานผิดปกติ
ตามกฎกระทรวงระบบไฟฟ้าและระบบป้องกันอันตรายจากฟ้าฝ่าของสถานที่ประกอบกิจการน้ำมัน พ.ศ. 2556 ของกระทรวงพลังงาน ข้อ 16 กำหนดว่า อุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าและบริภัณฑ์ที่ยอมรับให้ใช้ในบริเวณอันตรายแบบที่ 1 และ แบบที่ 2 ต้องได้รับการรับรองจากองค์กรใดองค์กรหนึ่งดังต่อไปนี้
1) สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (มอก.)
2) Undrwriter Laboratories, Inc. (UL)
3) Electrical Equipment Certification Service (EECS)
4) Physikalisch Techische Bundesanstalt (PTB)
5) Loboratoire Central des Industries Electrques (LCIE)
6) Centro Elettotecnico Sperimentale Italiano (CESI)
7) Canada Standard Association (CSA)
8) Technology Institution of Industrial Safety (TIIS)
9) องค์กรอื่นๆที่กรมธุรกิจพลังงานเห็นชอบ

กฎหมายที่เกี่ยวข้องในการจัดตั้ง EV Charging Station สถานีชาร์จประจุรถยนต์ไฟฟ้า

ตามพระราชบัญญัติการประกอบกิจการพลังงาน พ.ศ. 2550 โดยมีมาตราที่เกี่ยวข้องดังนี้
(1) มาตรา 47 เรื่อง การกำหนดประเภทและใบอนุญาติประกอบกิจการพลังงาน พ.ศ. 2551
(2) มาตรา 48 การอนุญาตต่างๆ ที่บัญญัติไว้ในกฎหมายว่าด้วยการผังเมือง กฎหมายว่าด้วยโรงงาน กฎหมายว่าด้วยควบคุมอาคาร กฎหมายว่าด้วยการพัฒนาและส่งเสริมพลังงาน
(3) มาตรา 73 มาตรฐานของอุปกรณ์ที่ใช้เชื่อมต่อกับระบบโครงข่ายพลังงาน
(4) มาตรา 75 มาตรฐานอ้างอิงที่สามารถใช้อ้างกับหน่วยงานอื่นได้
(5) มาตรา 81 การเชื่อมต่อกับระบบโครงข่ายพลังงาน   
ที่มา: กกพ. (ERC)

คู่มือประกอบกิจการสถานีชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า

CONTACT
169/47 ถ.พุทธมณฑลสาย 4 ต.กระทุ่มล้ม  อ.สามพราน จ.นครปฐม 73220
086-070-0007
ananindustry@gmail.com
https://www.ananindustry.com
WORKING DAYS/HOURS
วันจันทร์ - วันเสาร์
8.00 - 17.00 น.
Copyright © 2008 Anan Industry Company Limited. All Rights Reserved