ขั้นตอนวิธีดำเนินงานเพาะกล้าข้าวอย่างมืออาชีพเพิ่มรายได้เพิ่มผลผลิต
วิธีการเพาะกล้าข้าวดำนาอย่างมืออาชีพเพิ่มรายได้เพิ่มผลผลิต
    หน้า   1   2   3   4   5   

ขั้นตอนวิธีดำเนินงานเพาะกล้าข้าว

1. การเตรียมเมล็ดพันธุ์ข้าว

ควรเลือกเมล็ดพันธุ์ข้าวที่ได้มาตรฐานจากแหล่งที่น่าเชื่อถือได้ อาทิศูนย์ผลิตข้าวชุมชน เป็นต้น เพื่อที่จะได้แน่ใจว่าได้พันธุ์ข้าวพันธุ์แท้ไม่มีพันพันธุ์ข้าวอื่นปนซึ่งจะทำให้เกิดปัญหาข้าวดีด ข้าวเด้ง ควรเตรียมพร้อมให้มีจำนวนเพียงพอในการใช้กับเครื่องเพาะกล้าข้าว ทำการแข่พันธุ์ข้าวเพื่อเตรียมพร้อมกับการใช้เครื่องเพาะกล้าข้าว ต้องเตรียมการตามขั้นตอนดังนี้
1.1 นำพันธุ์ข้าวมาคัดแยกเมล็ดลีบออก โดยการแช่ในถังน้ำที่สะอาดหรืออาจใช้อ่างเปลผสมปูนเพื่อที่จะแช่ได้ปริมาณที่มาก ให้แช่ข้าวประมาณ 1-2ชั่วโมง ทำการตักเมล็ดข้าวที่ลอยทิ้งเลือกเฉพาะเมล็ดข้าวที่จมน้ำ
1.2 ตักเมล็ดข้าวที่จมใส่ถุงตาข่ายเพื่อทำการแช่ ใส่ถุงละประมาณ 10-15กิโลกรัม
1.3 แช่น้ำผสมด้วยยาฆ่าเชื้อรา ราไฟร์ ปริมาณ 300กรัมต่อน้ำ 200ลิตร ในช่วงเวลา 24ชั่วโมงแรก ทำการกลับถุงแช่ทุกๆ 12ชั่วโมง
1.4 เวลา 48ชั่วโมง แช่ด้วยน้ำเปล่าก่อนแช่ควรล้างทำความสะอาดเมล็ดพันธุ์ข้าวด้วยทำการกลับถุงแช่ทุกๆ 6ชั่วโมง อย่าให้ถุงแช่เกิดเปื้อนดินหากเปื้อนให้ทำความสะอาดก่อนการแช่เพาะอาจจะเกิดการติดเชื้อ หรืออาจทำให้เมล็ดข้าวเน่า
1.5 ยกถุงแช่มาผึ่งลม ก่อนทำการเพาะด้วยเครื่องประมาณ 12ชั่วโมง โดยยกออกจากถังแช่ และวางบนพื้นซีเมนต์เพราะว่าอาจทำให้ข้าวติดเชื้อจากดินได้
ควรเลือกเมล็ดพันธุ์ข้าวที่ได้มาตรฐานจากแหล่งที่น่าเชื่อถือได้
นำพันธุ์ข้าวมาคัดแยกเมล็ดลีบออก แช่น้ำผสมด้วยยาฆ่าเชื้อรา
1.6 ทำการเปิดปากถุงเพื่อรอการเทลงชุดโรยข้าว ข้อสังเกตอย่าให้อุณภูมิของเมล็ดพันธุ์ข้าวสูง อาจต้องใช้วิธีวางกรจายถุงแช่ออกเพื่อมีอากาศระบายโดยรอบถุง เมล็ดพันธุ์ข้าวไม่แห้งสนิทและไม่เปียกจนเกินไป มีรากงอกออกมาประมาณ 1-2มิลลิเมตร ในการเพาะกล้าข้าวจะต้องทำการทดสอบอัตราการโรยก่อนทุกครั้ง เพื่อให้มีการกระจายของเมล็ดพันธุ์และตามความเหมาะสมของพันธุ์ข้าวที่จะเพาะ (อัตราเฉลี่ยข้าว 220กรัมต่อถาดเพาะกล้า
ทำการกลับถุงที่แช่เมล็ดพันธุ์ข้าวทุกๆ 6ชั่วโมง
ทำการเปิดปากถุงพันธุ์ข้าวที่เตรียมไว้เพื่อรอการเทลงชุดโรยข้าว

2. การเตรียมวัสดุเพาะ

การจัดเตรียมวัสดุเพาะกล้าข้าว จะต้องคำนึงถึงปริมาณที่ต้องเตรียมสัมพันธ์กับปริมาณของเมล็ดพันธุ์ข้าว กล่าวคือปริมาณวัสดุเพาะ : ถาดเพาะกล้า เท่ากับ 25 : 1 (กิโลกรัม : ถาด) หรือคิดเทียบได้ว่า วัสดุเพาะ 1ตัน สามารถเพาะกล้าได้ 400ถาด ดังนั้นการจัดเตรียมวัสดุเพาะสำหรับเมล็ดพันธุ์ข้าว 500กิโลกรัม ต้องทำการเตรียมวัสดุเพาะ 5ตัน

เมื่อทำการวางแผนการดำเนินงานเพาะกล้าและเครื่องดำนา จะได้แผนการจัดหาวัสดุเพาะกล้าข้าว เพื่อการดำเนินงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพคล่องตัวไม่มีการติดขัด ต้องเตรียมจัดหาวัสดุมาเพื่อทำการผสมวัสดุเพาะกล้าให้ได้ปริมาณตามความต้องการใช้กับเครื่องเพาะกล้า แต่อย่างไรก็ตามต้องจัดหาวัสดุเผื่อไว้อีก 10 เปอร์เซนต์

อัตราส่วนดินผสมหรือวัสดุเพาะกล้าข้าวใช้อัตราส่วน เนื้อดิน : ขี้เถ้าแกลล : แกลบดิบ ( 5 : 3 : 2 ) ข้อสังเกตห้ามใช้ขี้เถ้าแกลบจากโรงงานที่ผ่านเตาเผาความร้อนสูง เพราะจะทำให้ขี้เถ้าแกลบไหม้เกินไป จึงทำให้เกิดกรดสูงมีผลทำให้ต้นข้าวไม่เจริญงอกงามดีเท่าใช้ขึ้เถ้าแกลบจากโรงงานเตาเผาจากโรงสีทั่วๆไปหรือถ้าจะให้ยิ่งขึ้นต้องเป็นขี้เถ้าแกลบข้างปีจะดีที่สุด
วัสดุเพาะต้องคำนึงถึงปริมาณที่ต้องเตรียมสัมพันธ์กับปริมาณของเมล็ดพันธุ์ข้าว
วัสดุเพาะกล้าข้าวใช้อัตราส่วน เนื้อดิน : ขี้เถ้าแกลล : แกลบดิบ ( 5 : 3 : 2 )

3. การใช้เครื่องเพาะกล้าข้าว

เมื่อเตรียมวัสดุต่างๆ พร้อมแล้ว ก็ทำการตรวจสอบเครื่องเพาะกล้าข้าวโดยเสียบปลั๊กก่อนเดินเครื่องตรวจสอบระบบจ่ายไฟฟ้าปกติหรือไม่ สังเกตจากหน้าปัทม์ตู้คอนโทรลมีหลอดไฟสีแดงสว่างหรือไม่ ปรับแต่งเครื่องมือเพาะกล้าข้าวทีละเครื่องตั้งแต่เครื่องป้อนถาดเพาะกล้า ระบบน้ำสำหรับดินรองพื้น ระบบน้ำสำหรับเมล็ดพันธุ์ต้องเตรียมน้ำและผสม สารเคมีการเกษตร ตามหลักที่กล่าวไปแล้วข้างต้น เตรียมเมล็ดพันธุ์ที่ทำการแช่แล้วใส่ถังพักชุดโรยเมล็ดพันธุ์ข้าว ชุดโรยดินรองพื้นถาดและชุดโรยดินกลบหน้า ชุดสายพานลำเลียงโดยการตักดินผสมเข้าถังพัก เช็คระบบสายพานลำเลียงถาดในระบบ ตรวจสอบลูกปืนหรือส่วนเคลื่อนไหวทุกจุดหล่อลื่นด้วยน้ำมันเครื่อง

ก่อนทำการใช้เครื่องจำเป็นต้องปรับตั้งชุดโรยเมล็ดพันธุ์ข้าวโดยการเดินถาดเปล่าจำนวน 3-5ถาด ผ่านชุดโรยเมล็ดพันธุ์ข้าว สุ่มตัวอย่างจากถาดที่สองและถาดที่สามมาทำการชั่งน้ำหนัก ให้ได้น้ำหนัก 220กรัม เป็นค่าแนะนำจากผู้ผลิตเครื่องเฉลี่ยน้ำหนักข้าวต่อถาด ในอัตราการใช้เมล็ดพันธุ์ 12.5กิโลกรัมต่อไร่

ทำการกดสวิชท์อัตโนมัติของชุดระบบการให้น้ำดินรองพื้นและระบบน้ำเมล็ดพันธุ์ข้าวให้สามารถทำงานได้เลยเมื่อเดินเครื่องเพาะกล้าข้าว รวมทั้งสวิชท์อัตโนมัติของชุดโรยดินรองพื้นและโรยดินกลบหน้าให้สามารถเริ่มงานได้เลยเช่นกัน
ตรวจสอบเครื่องเพาะกล้าข้าวโดยเสียบปลั๊กก่อนเดินเครื่องตรวจสอบระบบจ่ายไฟฟ้า
ก่อนทำการใช้เครื่องจำเป็นต้องปรับตั้งชุดโรยเมล็ดพันธุ์ข้าว
ก่อนเริ่มเดินเครื่องเพาะกล้าข้าว ต้องจัดคนให้อยู่ตามจุดต่างๆ เพื่อคอยเติมวัสดุต่างๆเข้ากับชุดเครื่องมือเพาะกล้าข้าว เพื่อให้การทำงานไม่ติดขัด ดังนี้
ก) เติมถาดเพาะกล้าให้อยู่บนเครื่องประมาณ 10-20ถาด ใช้คน 1คน
ข) เติมดินผสมหรือวัสดุเพาะกล้าข้าวให้มีระดับพอเหมาะกับการโรยดินรองพื้นถาดและคอยสังเกตความสม่ำเสมอในการโรยในถาดเพาะรวมทั้งการทำงานของชุดแปรงปัด ใช้ 1คน
ค) เติมเมล็ดพันธุ์ข้าวชุดโรยเมล็ดพันธุ์ข้าว และสังเกตการโรยในถาดว่าโรยได้กระจายทั่วทั้งถาดหรือไม่ หรือว่ามีก้อนหินหรือสิ่งแปลกปลอม อยู่ในดิจรองพื้นหรือไม่เพราะถ้ามีจะมีผลทำให้หัวจับเครื่องดำนาอาจเสียหายหรือแตกหักได้ ใช้ 1คน
ง) เติมดินผสมหรือวัสดุเพาะกล้าข้าวให้มีระดับพอเหมาะกับการโรยดินปิดหน้าถาดและคอยสังเกตความสม่ำเสมอในการโรยในถาดเพาะไม่ให้ล้นหรือมากเกินไป ใช้ 1คน
จ) เติมน้ำและผสมสารเคมีการเกษตรให้ได้ตามกำหนด
ฉ) ลำเลียงถาดออกจากเครื่องรับถาดเพื่อไปเลียงเพื่อบ่มก่อนอย่างน้อย 1วัน ใช้ 3คน

สำหรับการทำการเพาะกล้าข้าวเมื่อเราเตรียมวัสดุทุกอย่างพร้อมแล้ว จะใช้คนในการทำงานทั้งหมดอย่างน้อย 7คน ตามจุดต่างๆที่กล่าวข้างต้น

เมื่อทำการเพาะกล้าเสร็จสิ้นในแต่ละวัน ต้องดูแลทำความสะอาดชุดเครื่องมือทุกครั้งเพราะถ้ามีเมล็ดข้าวอยู่ในส่วนต่างๆ อาจมีทั้งนกและหนูเข้ามาอาจทำความเสียหายให้กับเครื่องมือได้และวัสดุเพาะบางส่วนอาจกระเด็นออกมาบริเวณรอบๆ ต้องทำความสะอาดเพราะอาจทำให้เกิดสนิม หรือมีผลทำให้เกิดความเสียหายจากชิ้นส่วนของเครื่อง และทำความสะอาดเครื่องครั้งใหญ่เดือนละ 1ครั้ง โดยใช้ปั๊มลมและเครื่องเป่าลมทำความสะอาดละอองฝุ่น และทำการเช็ดทำความสะอาดเครื่อง
ขั้นตอนการเพาะกล้าข้าวจะใช้คนในการทำงานทั้งหมดอย่างน้อย 7คน
เมื่อทำการเพาะกล้าเสร็จสิ้นในแต่ละวัน ต้องดูแลทำความสะอาดชุดเครื่องมือทุกครั้ง

4. การเตรียมพื้นที่อนุบาลกล้าข้าว

ต้นกล้าที่ใช้กับเครื่องดำนาส่วนใหญ่จะใช้เพาะในถาดเพาะกล้า ที่มีขนาด กว้าง x ยาว x สูง ( 30 x 60 x 3.5 ซม.) จะเป็นถาดเพาะกล้ามาตรฐานสามารถใช้กับเครื่องหรือรถดำนาได้ทุกประเภทและทุกรุ่น ไม่ว่าจะเป็น คูโบต้า(Kobuta) ยันม่าร์(Yanmar) เมื่อหลังเพาะกล้าทำการบ่ม 1วันแล้ว ต้องทำการย้ายออกไปอนุบาลภายนอก ถ้ามากกว่าอาจทำให้เกิดความเสียหาย โดยกล้าข้าวงอกมากเกินไปจะงอเมื่อนำไปอนุบาลจะทำให้ปักดำยากขึ้น การเตรียมพื้นที่ จำเป็นต้องเตรียมเพื่ออนุบาลกล้าข้าว พร้อมทั้งต้องมีความชื้นโดยระบบการให้น้ำที่เหมาะสมกับการเจริญเติบโตของต้นกล้า

อายุกล้าจะอยู่ที่ประมาณ 15-20วัน ความยาวกล้าที่เหมาะสมอยู่ระหว่าง 12-20เซนติเมตร ต้องจัดเตรียมพื้นที่มากเพียงพอในการจัดเรียง ในการเตรียมพื้นที่จัดทำเป็นแปลงยกร่อง ความกว้างของแปลงเพาะ 5เมตร ยาว 50เมตร ร่องกว้าง 0.5เมตร จะมีพื้นที่วางถาดเพาะกล้าเฉลี่ยแปลงละ 1,200ถาด จัดเตรียมไว้สำหรับอนุบาลกล้าข้าว 12แปลง จะสามารถจัดเรียงถาดได้ทั้งสิ้น 4,400ถาด ในแต่ละแปลงก็จัดเตรียมป้ายแปลงที่สามารถบอกรายละเอียดของกล้าข้าว เช่น พันธุ์ข้าว วันเพาะ กำหนดวันปลูก ปริมาณการเพาะกล้า เพื่อจะได้จัดการจ่ายกล้าให้ได้ตามลำดับของการเพาะกล้าข้าว
เมื่อหลังเพาะกล้าทำการบ่ม 1วันแล้ว ต้องทำการย้ายออกไปอนุบาลภายนอก
พื้นที่จัดทำเป็นแปลงยกร่อง ความกว้างของแปลงเพาะ 5เมตร ยาว 50เมตร ร่องกว้าง 0.5เมตร

4. การให้น้ำถาดเพาะกล้าข้าว

ข้าวเป็นพืชที่มีความต้องการความชื้นค่อนข้างมาก พื้นที่ดำเนินงานอนุบาลกล้าข้าวเป็นแปลงปลูกพืชไร่ ทำการปรับพื้นที่และยกแปลงแล้ว จึงออกแบบและติดตั้งระบบการให้น้ำแบบมมินิสปริงเกลอร์ โดยอัตราการใช้น้ำอยู่ที่ 5-10มิลลิเมตรต่อวัน อัตราการให้น้ำของหัวมินิสปริงเกลอร์ 70ลิตรต่อชั่วโมง แต่ละท่อย่อยมีหัวจ่ายน้ำ 15หัว แต่ละหัดติดห่างกัน 3เมตร ทำการให้น้ำ 2ครั้งต่อวัน ครั้งละ 40นาที

การเจริญเติบโตของต้นกล้ามีความสม่ำเสมอตลอดทั้งแปลง ความสูงเฉลี่ยของต้นอายุ 15วัน ประมาณ 12-20เซนติเมตร สามารถใช้กับเครื่องหรือรถดำนาได้ การออกแบบระบบน้ำต้องคำนึงถึงความสม่ำเสมอในการกระจายตัวของน้ำให้ทั่วถึงตลอดทั้งแปลง เพื่อไม่ให้เกิดการชงิกการเจริญเติบโตของต้นกล้า

การให้น้ำโดยการวางถาดในพื้นนาที่มีการสูบน้ำเข้าขังไว้ 20-30นาที จึงระบายน้ำออกก็จะเจริญเติบโตสม่ำเสมอเหมือนกัน แต่ใช้ปริมาณน้ำมากกว่า
ข้าวเป็นพืชที่มีความต้องการความชื้นค่อนข้างมาก
อัตราการให้น้ำของหัวมินิสปริงเกลอร์ 70ลิตรต่อชั่วโมง แต่ละท่อย่อยมีหัวจ่ายน้ำ 15หัว แต่ละหัดติดห่างกัน 3เมตร ทำการให้น้ำ 2ครั้งต่อวัน
    หน้า   1   2   3   4   5   
CONTACT
169/47 ถ.พุทธมณฑลสาย 4 ต.กระทุ่มล้ม  อ.สามพราน จ.นครปฐม 73220
086-070-0007
ananindustry@gmail.com
https://www.ananindustry.com
WORKING DAYS/HOURS
วันจันทร์ - วันเสาร์
8.00 - 17.00 น.
Copyright © 2008 Anan Industry Company Limited. All Rights Reserved