วิธีการเพาะเลี้ยงอนุบาลกล้าข้าวอย่างมืออาชีพเพิ่มรายได้เพิ่มผลผลิต
วิธีการเพาะกล้าข้าวดำนาอย่างมืออาชีพเพิ่มรายได้เพิ่มผลผลิต
    หน้า   1   2   3   4   5   

วิธีการเพาะเลี้ยงอนุบาลกล้าข้าว

1. การบ่มถาดเพาะ

เมื่อทำการเพาะกล้าข้าวด้วยเครื่องแล้วจะต้องทำการเลียงถาดเป็นชั้นๆ เพื่อทำการบ่มถาดเพาะ เพื่ออบให้ความชื้นกระจายไปทั่วๆ วัสดุเพาะ และช่วยให้เมล็ดข้าวงอกได้อย่างสม่ำเสมอทั่วทั้งถาด ทำการทกลองการบ่ม 1วัน และ 2วัน ผลปรากฎว่าบ่ม 1วัน จะดีที่สุดถ้าบ่ม 2วัน  ต้นกล้าจะยาวชนก้นถาดด้านบน ทำให้ต้นกล้าที่งอกมาคดงอ เมื่อนำไปอนุบาลในแปลงจะมีเปอร์เซนต์การตายค่อนข้างมาก เวลาที่เหมาะสมที่สุดคือ 1วัน ที่อุณหภูมิปกติ

ข้อสังเกตการวางชั้นบ่มต้องมีช่องว่างชั้นประมาณ 10-20ซม.โดยรอบเพื่อเป็นการระบายความร้อนและความชื้นออกจากชั้นถาดเพาะ ถ้าวางชิดกันจะเกิดความร้อนสะสมภายในถาดมาก จะทำให้ข้าวงอกเร็วกว่าปกติและจะทำให้ต้นข้าวคดงอไม่แข็งแรงเมื่อเจอแดดในแปลงอนุบาลก็จะมีอัตราการตายสูงขึ้น
ทำการเลียงถาดเป็นชั้นๆ เพื่อทำการบ่มถาดเพาะ
การวางชั้นบ่มถาดเพาะต้องมีช่องว่างชั้นประมาณ 10-20ซม.โดยรอบเพื่อเป็นการระบายความร้อน
เมื่อขนย้ายถาดเพาะออกไปวางในแปลงปลูกต้องคลุมด้วยซาแลน 60เปอร์เซนต์ เป็นเวลา 3วัน เพื่อป้องกันฝนชะ ป้องกันการทำลายจากศตรูธรรมชาติต่างๆ และเพื่อเป็นการลดผลกระทบจากแสงแดด และให้น้ำเหมือนปกติ หลังจากเอาซาแลนออกแล้วก็อนุบาลต่อจนถึง อายุกล้า 15วัน
วัตถุดิบและส่วนผสมพริกแกงใต้ใบกัญชา
ใช้ซาแลนคลุมถาดเพาะเพื่อป้องกันฝนชะ ป้องกันการทำลายจากศตรูธรรมชาติ

2. การเตรียมพื้นที่วางถาดเพาะ

ในการเพาะกล้าข้าวและอนุบาลกล้าข้าวต้องใช้พื้นที่มากในการวางถาดเพื่ออนุบาลกล้าข้าว และต้องอาศัยอยู่ใกล้แหล่งน้ำเพราะต้องการใช้น้ำปริมาณมาก ต้องมีการเตรียมพื้นที่วางถาดให้มีความเหมาะสม โดยปรับระดับพื้นดินให้ใกล้เคียงที่สุด ใช้ขี้แกลบโรยพื้นเพื่อปรับสภาพดินและช่วยปรับระดับได้ส่วนหนึ่ง เป็นการเตรียมพื้นที่ในครั้งแรกของการวางถาดเพาะกล้า หรือถ้ามีการวางซ้ำที่เดิมต้องมีการเว้นช่วงเวลาเพื่อตากดินฆ่าเชื้อโรคบางตัวก่อนการวางถาด หรือถ้าไม่มีเวลาให้ใช้สารเคมีการเกษตรฆ่าเชื้อก่อนทำการวางถาดเพาะชุดใหม่

การอนุบาลกล้าข้าวโดยใช้ชั้นเพาะเลี้ยงสามารถได้ชั้นละ 28ถาด จัดวางในสถานที่ที่มีแสงแดดและอากาศถ่ายเทสะดวก และสามารถให้น้ำแบบท่วมผืน โดยมีกะบะพลาสติกวางถาดเพาะกล้าแล้วให้น้ำแบบขังท่วมผืน วันละ 2ครั้ง เช้าและเย็นเวลาประมาณ 30-40นาที จึงจะระบายน้ำออกการอนุบาลกล้าด้วยวิธีนี้จะสามารถลดพื้นที่เพาะกล้าลงได้ถึง 7เท่า
พื้นที่วางถาดเพาะกล้าต้องอาศัยอยู่ใกล้แหล่งน้ำเพราะต้องการใช้น้ำปริมาณมาก
การอนุบาลกล้าข้าวโดยใช้ชั้นเพาะเลี้ยงสามารถได้ชั้นละ 28ถาด

3. การจัดวางถาดเพาะ

การจัดวางถาดเพาะกล้าข้าว จะต้องวางแผนการจัดวางให้เป็นลำดับและการเพาะกล้าก่อนหลัง เพราะถ้าไม่มีการจัดการที่ดีก็จะทำให้การใช้พื้นที่ได้อย่างไม่เต็มประสิทธิภาพ
การจัดวางถาดเพาะต้องวางแผนการจัดวางให้เป็นลำดับและการเพาะกล้าก่อนหลัง
วางถาดเพาะกล้าแล้วให้น้ำแบบขังท่วมผืน วันละ 2ครั้ง

4. การดูแลรักษาแปลงอนุบาลกล้าข้าว

ทำการตรวจสภาพความผิดปกติของถาดเพาะว่ามีโรคหรือแมลงเข้าทำลายแปลงอนุบาลกล้าหรือไม่ ทำการสำรวจทุกๆ วันช่วงเวลาการให้น้ำตอนเช้า ถ้ามีสิ่งผิดปกติจะได้ทำการแก้ไขได้ทันต่อเหตุการณ์ และบริเวณโดยรอบแปลงทำการกำจัดวัชพืชไม่ให้ขึ้นปกคลุมแปลงอนุบาลกล้า เพราะอาจจะมีเมล็ดหญ่าปนไปกับกล้าข้าวได้

กระบวนการเพาะกล้าโดยรวมจะอยู่ในช่วง 15-20วัน นับจากวันเริ่มแช่ข้าวจนถึงวันที่นำกล้าไปปักดำหรือนำกล้าแผ่นไปจำหน่าย เป็นช่วงเวลาที่เหมาะสมที่สุดในการนำไปปลูกโดยใช้เครื่องปักดำ หรือมีความสูงต้นกล้าระหว่าง 12-20เซนติเมตร ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับพันธุ์และสภาพอากาศในช่วงที่ทำการเพาะกล้าข้าว แต่ถ้ามีอายุนานกว่าและความยาวมากกว่าก็จะมีผลทำให้การทำงานของเครื่องปัดดำลดน้อยลงไปได้

5. การขนย้ายสู่แปลงเกษตรกร

กล้าข้าวเมื่ออนุบาลกล้าครบ 15วัน ความยาวกล้าที่เหมาะสมกับการใช้สำหรับรถดำนาอยู่ระหว่าง 12-20เซนติเมตร ก็เริ่มดำเนินการใช้ปลูกโดยเครื่องปักดำ การขนย้ายต้นกล้าโดยทำการม้วนกล้าให้เป็นม้วน ดำเนินงานขนส่งไปยังแปลงเกษตรกร ข้อระวังการม้วนกล้าควรไม่เกิน 2วันก่อนทำการปักดำ
กล้าข้าวเมื่ออนุบาลกล้าครบ 15วัน ความยาวกล้า 12-20เซนติเมตร
ย้ายต้นกล้าโดยทำการม้วนกล้าให้เป็นม้วนเพื่อนำไปจำหน่ายและปลูก

ข้อสังเกตของขั้นตอนการเพาะกล้าข้าว

1.ด้านการใช้งานชุดเครื่องมือเพาะกล้าข้าว

เทคนิคการใช้งานชุดเครื่องมือเพาะกล้าข้าว ควรคำนึงถึงสิ่งต่างๆ ดังนี้
ก) ความชื้นของวัสดุเพาะ โดยการกำวัสดุเพาะน้ำหนักพอประมาณคลายมือออกสังเกต การจับตัวของวัสดุเพาะไม่แตกออกจากกัน หรือมีความชื้นพอสมควรถ้าดินมีความชื้นมากก็อาจจำทำให้อัดติดกับสายพานลำเลียงทำให้ต้องแก้ไขเสียเวลาการทำงาน
ข) อัตราการโรยวัสดุเพาะ โดยการปรับช่องโรยลงถาดให้มีปริมาณที่พอเหมาะกับการใช้งาน กล่าวคือดินรองพื้นควรมีความสูงจากพื้นถาด 2/3 ส่วนของความสูง และชุดดินปิดหน้าต้องมีระดับพอดีกับขอบของถาดเพาะกล้า
ค) ความชื้นของข้าว ไม่มากหรือแห้งจนเกินไป สังเกตจากเมื่อกำข้าวแล้วคว่ำมือลงข้าวไม่ติดที่มือหากมีติดที่มือแสดงว่ามีความชื้นค่อนข้างสูง หรือสังเกตจากของถังพักเครื่องโรยจะไม่มีเมล็ดข้าวติดอยู่ ถ้ามีความชื้นพอดีการลื่นไหลของข้าวในการโรยก็จะสม่ำเสมอไม่ทำให้ลูกกลิ้งโรยเมล็ดและไม่ทำให้เมล็ดข้าวแตกหักเสียหาย เนื่องจากอัดตัวกันกับลูกกลิ้น
ง) อัตราโรยเมล็ดข้าว ปกติจะตั้งอยู่ที่ 220กรัมต่อถาด จะได้อัตราการปลูกอยู่ที่ 12.5 กิโลกรัม/ไร่ สามารถปรับตั้งได้โดยการปล่อยให้ถาดไหลเข้าสู่กระบวนการเพาะก่อนชุดเครื่องโรยเมล็ดพันธุ์ข้าว จำนวน 3-5ถาด นำเอาถาดตรงกลางมาชั่ง และสามารถปรับอัตราการโรยที่ตู้คอนโทรลแล้วทำการปรับตั้งอีกครั้งจนได้อัตราการโรยที่ต้องการ จะแตกต่างกันขึ้นอยู่กับพันธุ์ข้าว
จ) การใช้งานถาดเพาะกล้าข้าว ในการใช้งานครั้งแรกไม่ต้องจัดการอะไรมากนักแต่เมื่อใช้งานรอบที่สองต้องทำความสะอาดถาดไม่ให้มีวัสดุเพาะติดค้างอยู่ และต้องทำการตากแดดจัดๆ 2-3วัน เพื่อทำการฆ่าเชื้อเบื้องต้นที่อาจติดมากับถาดเพาะกล้าได้ หรือเมื่อมีความจำเป็นต้องใช้ติดต่อกันอาจต้องล้างด้วยน้ำผสมน้ำยาฆ่าเชื้อราก่อนทำการเพาะทุกครั้ง
ฉ) การใช้เครื่องรับถาดควรจะมีจำนวนที่เหมาะสมไม่เกิน 8-10ถาด เพราะจะทำให้ยกออกจากเครื่องสะดวกและไม่หนักมาก
ช) การเตรียมวัสดุเพาะกล้า ต้องเตรียมให้เพียงพอกับการเพาะกล้าข้าวแต่ละครั้งอัตราการใช้วัสดุเพาะ 2.50 กิโลกรัม/ถาด หรือน้ำหนัก 1ตัน/400ถาด
ซ) การเตรียมเมล็ดพันธุ์ข้าวต้องทำการแช่ให้ได้ตามกำหนดและเตรียมให้เพียงพอกับการใช้เครื่องเพาะแต่ละครั้ง อัตราการใช้เมล็ดพันธุ์ข้าว 220กรัม/ถาด

2. ด้านวิธีการเพาะเลี้ยงและอนุบาลกล้าข้าว

วิธีการเพาะเลี้ยงและอนุบาลกล้าข้าว ควรคำนึงถึงสิ่งต่างๆ ต่อไปนี้
ก) การเตรียมพื้นที่อนุบาลกล้า ขนาดของถาดเพาะกล้า กว้าง x ยาว x สูง (30 x 60 x 3.5 เซนติเมตร) ต้องทำการเตรียมพื้นที่ให้เหมาะสมก่อนการเพาะถ้าไม่มีพื้นที่เพียงพออาจทำให้ประสิทธืภาพการเพาะกล้าน้อยลง รวมทั้งเตรียมระบบการให้น้ำที่เหมาะสมและเพียงพอต่อการอนุบาลกล้าข้่าว
ข) การขนย้ายกล้าข้าว (กล้าแผ่น) ไม่ควรม้วนเก็บเกิน 3 วัน มิเช่นนั้นข้าวจะเหลือง หรือถ้ามีความจำเป็นยังไม่ใช้กล้าต้องคลี่ภายในแปลง หรือหาสถานที่ที่เหมาะสม การขนย้ายไม่ควรกองกล้าให้มีความสูงมากๆ เกินกว่า 6ชั้น เพราะจะทำให้ม้วนที่อยู่ด้านล่างแบน เสียรูปทรงของแผ่นกล้าข้าว ทำให้การใช้กับเครื่องดำนาเกิดปัญหาติดขัด การขนย้ายระยะทางไกลๆ ให้ใช้ถาดเพาะกล้ารองพื้นไว้ชั้นหนึ่งก่อนเพื่อไม่ให้ม้วนกล้าไหลลื่นถ้าจะให้ได้ผลดีที่สุดต้องใช้ระยะเวลาการขนย้ายจากแปลงกล้าไปแปลงปลูกใช้ระยะเวลาสั้นที่สุด
ค) การจัดวางถาดเพาะต้องคำนึงถึงหลายๆด้านดังนี้
• จัดวางให้ถาดมีระดับแนวระนาบเท่าๆกัน
• มีการจัดวางให้มีช่องเดินเพื่อสามารถตรวจสอบความเรียบร้อยได้ทั่วถึงตลอดทุกถาดทั่วทั้งแปลง
• จัดวางให้อยู่บนสันร่องเพื่อให้เกิดความเรียบร้อย และได้รับน้ำจากระบบน้ำได้อย่างทั่วถึง
• จัดวางให้ความยาวตั้งฉากกับแนวแสงแดดเพื่อจะได้รับแสงได้อย่างทั่วถึง
• สำหรับในการเพาะบนชั้นวาง ต้องมีการกลับซ้ายขวาถาดเพาะเพื่อให้ต้นกล้าได้รับแสงเท่าๆ กัน

จากวิธีการเพาะกล้าข้าวที่ได้กล่าวมาข้างต้น เป็นวิธีการที่ปฎิบัติแล้วทำให้กรเพาะกล้าข้าวได้กล้าข้าวที่มีคุณภาพ ปริมาณ และเหมาะสมกับการใช้งานกับเครื่องดำนา รถดำนา ส่งผลทำให้ประสิทธิภาพการทำงานเครื่องดำนาสูงขึ้น

ขั้นตอนการเพาะกล้าข้าวเหล่านี้มีความสำคัญถึงขนาดเป็นตัวชี้วัดผลผลิตข้าวของท่านในฤดูกาลนั้นๆได้เลยทีเดียว หากทำได้ตามวิธีการและขั้นตอนที่กล่าวมาก็เปรียบเสมือนว่าท่านได้วางรากฐานสู่ความสำเร็จไปแล้วครึ่งทาง
    หน้า   1   2   3   4   5   
CONTACT
169/47 ถ.พุทธมณฑลสาย 4 ต.กระทุ่มล้ม  อ.สามพราน จ.นครปฐม 73220
086-070-0007
ananindustry@gmail.com
https://www.ananindustry.com
WORKING DAYS/HOURS
วันจันทร์ - วันเสาร์
8.00 - 17.00 น.
Copyright © 2008 Anan Industry Company Limited. All Rights Reserved