วิธีการเพาะกล้าข้าวดำนาอย่างมืออาชีพเพิ่มรายได้เพิ่มผลผลิต ชุดเครื่องจักรและอุปกรณ์การเพาะกล้าข้าว

วิธีการเพาะกล้าข้าวดำนาอย่างมืออาชีพเพิ่มรายได้เพิ่มผลผลิต

    หน้า   1   2   3   4   5   
ประเทศไทยถือว่าเป็นแหล่งผลิตอาหารเพื่อเลี้ยงชาวโลก หรือที่เรียกกันว่าครัวของโลกเพราะดาชีพเกษตรกรเป็นอาชีพหลักของคนไทย ไม่ว่าจะเป็นการปลูกพืช หรือว่าเลี้ยงสัตว์ ข้าวถือว่ามีความสำคัญ เป็นสินค้าที่มีความต้องการทั้งภายในและเพื่อส่งออก วอธีการปลูกข้าวในประเทศไทยมีหลายวิธีขึ้นอยู่กับสภาพเศรษฐกิจและสังคม และภูมิศาสตร์ของแต่ละท้องที่ มีทั้งวิธีดำนา วิธีหว่านข้าวแห้งหรือหว่านสำรวย วิธีการหว่านข้าวงอกหรือหว่านข้าวน้ำตม และวิธีหยอดข้าวในดินแห้ง จากภาวะความรุนแรงของการขาดแคลนแรงงานในภาคเกษตรกรรม เกษตรกรทำนาจึงหันมาใช้วิธีการหว่านเพิ่มขึ้น เพื่อลดค่าใช้จ่ายแต่แปลงนาหว่านไม่ว่าจะเป็นหว่านน้ำตมหรือหว่านน้ำแห้ง จะมีปัญหาด้านวัชพืช และการประปนของข้าวพันธุ์อื่นที่ไม่พึงประสงค์มากขึ้น จึงต้องฉีดสารเคมีควบคุมป้องกัน และกำจัดวัชพืชหลายครั้ง ตั้งแต่การฉีดควบคุมหญ้าก่อนการหว่าเมล็ดพันธุ์ การฉีดกำจัดวัชพืชเป็นระยะเพื่อสกัดกั้นวัชพืชไม่ให้สูงหรือเจริญงอกงามกว่าต้นข้าว

วิธีและขั้นตอนการผลิตข้าวคุณภาพดี จำเป็นต้องใช้เมล็ดพันธุ์ข้าวที่มีคุณภาพ เพาะพันธุ์ข้าวที่มีคุณภาพดีมีความบริสุทธิ์ เมื่อนำไปเพาะปลูกเพื่อจำหน่าย จะได้ข้าวที่มีความบริสุทธิ์ของข้าวตามสายพันธุ์นั้นๆ แต่ถ้าเมล็ดพันธุ์ข้าวไม่พิงประสงค์เพียงแค่ 1 เมล็ด จะงอกเป็นข้าว 1 ต้น และออกรวงเป็นเม็ดข้าว จำนวนมาก ได้ก่อให้เกิดปัญหาข้าวพันธุ์อื่นปนขึ้นได้มาก ในหลักการวิธีการปักดำเป็นวิธีที่ดีที่สุดที่จะควบคุมและจัดการตัดพันธุ์ปนได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพราะต้นข้าวขึ้นเป็นแถวเป็นแนว เกษตรสามารถรถเดินเข้าไปในแปลงปลูก และมองเห็นต้นข้าวที่มีลักษณะเป็นต้นพันธุ์ปนที่ต้องการกำจัดได้อย่างชัดเจน และจัดการตัดพันธุ์ปนและกำจัดวัชพืชได้ง่าย

ปัจจุบันนี้ได้เกิดปัญหาใหญ่ในระบบผลิตข้าวของประเทศไทย โดยที่ผ่านมาได้เกิดการระบาดของข้าววัชพืชหรือข้าวป่า ที่ชาวนาเรียกว่า ข้าวดีด ข้าวเด้ง และข้าวแดง ซึ่งเป็นเมล็ดข้าวที่ไม่พิงประสงค์ระบาดปะปนในแปลงนาในหลายพื้นที่ และกระจายไปทั่วภาคกลาง ที่เป็นพื้นที่หลักสำคัญในการปลูกข้าวซึ่งพื้นที่มีการปลูกข้าวตลอดทั้งปีโยวิธีหว่านน้ำตมและกำลังขยายไปพื้นที่อื่นๆ เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งเป็นปัญหาร้ายแรงต่อการผลิตข้าวของไทย เกษตรจึงจำเป็นต้องหันมาผลิตข้าวโดยใช้วิธีการปักดำแทนเพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาดังกว่าว เพราะการปักดำเป็นการปลูกข้าวที่งอกเป็นต้นแล้ว พื้นที่นามีน้ำเป็นตัวควบคุมเมล็ดข้าววัชพืชที่ตกอยู่ในแปลงนาไม่ไห้งอกหรืองอกช้า และเจริญเติบโตไม่ทันต้นข้าว ต้นข้าวที่ปลูกเป็นแถวเป็นแนว ช่วยให้เกษตรกรเดินเข้าไปจัดการกำจัดข้าววัชพืชสะดวก จากเหตุผลดังกล่าวและปัญหาแรงงานขาดแคลน เกษตรกรจึงเริ่มมีความต้องการใช้เครื่องจักรกลการเกษตรในการเพาะปลูกข้าวเพิ่มมากขึ้น

การใช้งานชุดเครื่องมือ เพาะกล้าข้าว เป็นวิธีการปฎิบัติแล้วทำให้การเพาะกล้าข้าวได้กล้าข้าวที่มีคุณภาพ ปริมาณ และเหมาะสมกับการใช้งานกับเครื่องดำนา ส่งผลทำให้ประสิทธิภาพการทำงานเครื่องดำนาสูงขึ้น จากการศึกษาผลการพัฒนาการเขตกรรมข้าว กองส่งเสริมโครงการพระราชดำริ การจัดการพื้นที่และวิศวกรรมการเกษตร ทำการศึกษาเปรียบเทียบผลผลิต ต้นทุน และผลตอบแทนการผลิตข้าวในพื้นที่ที่ได้รับการพัฒนากาารเขตกรรมและพื้นที่ปลูกข้าวโดยวิธีปกติของเกษตรกร ซึ่งจากผลการศึกษาพบว่าผลผลิตข้าวในแปลงสาธืตสูงกว่าแปลงเปรียบเทียบร้อยละ 22 หรือ 151 กิโลกรัมต่อไร่ ที่ผลผลิตเฉลี่ย 696 กิโลกรัมต่อไร่ ต้นทุนการผลิต พบว่าแปลงสาธิตมีต้นทุนการผลิตรวมต่ำกว่าแปลงเปรียบเทียบร้อยละ 9 หรือคิดเป็นเงิน 451 บาทต่อไร่ และผลตอบแทนการผลิตข้าวพบว่าแปลงสาธิตสูงกว่าแปลงเปรียบเทียบร้อยละ 85 หรือ 1,750 บาทต่อไร่

ชุดเครื่องจักรและอุปกรณ์การเพาะกล้าข้าว

1. ชุดเครื่องมือเพาะกล้าข้าว

ประกอบด้วยเครื่องมือต่างๆ ประกอบกันเป็นสายพานการผลิตการทำงานมีชุดสายพานลำเลียงเป็นตัวเชื่อมลำเลียงถาดเพาะกล้าไปยังเครื่องมือต่างๆเป็นระบบกิ่อัตโนมัติ ซึ่งชุดเครื่องมือเพาะกล้าข้าว จะประกอบด้วย
1.1 ถาดเพาะกล้าข้าว ทำจากพลาสติกสีดำผสม UV เพื่อป้องกันแสงแดดได้ ถาดมีขนาดเท่ากันเป็นมาตรฐาน คือ 30x60x3.5 เซนติเมตร (กว้างxยาวxสูง) บริเวณก้นถาดเจาะรูเพื่อระบายน้ำ
ถาดเพะากล้าข้าวมาตรฐาน 30 x 60 x 3.5 ซม.
ถาดเพาะกล้าข้าว สามารถใช้ได้กับรถดำนาทุกรุ่นทั้ง คูโบต้า ยันมาร์
1.2 เครื่องป้อนถาดเพาะกล้า เป็นเครื่องมือแรกของชุดเครื่องมือเพาะที่ทำการป้อนถาดเพาะกล้า สามารถเตรียมถาดเพาะได้ 20 ถาด โดยเรียงซ้อนกัน ด่อนเริ่มการทำงานของเครื่องป้อนถาดต้องหมุนชุดสว่านลำเลียงให้อยู่ในตำแหน่งสูงสุด แล้วจึงนำถาดแรกวางเข้าเครื่อง การทำงานของเครื่องชุดสว่านลำเลียงทำการป้อนถาดที่อยู่ด้านล่างสุดไปตามสายพานลำเลียงทีละถาด โดยมีสวิสท์เปิดปิดแยกส่วนออกมา เพื่อสะดวกในการทำงานหรือเมื่อเกิดอาการผิดปกติในระบบสามรถที่จะหยุดลำเลียงได้ชั่วคราวโดยระบบทั้งหมดไม่หยุดทำงาน
เป็นเครื่องมือแรกของชุดเครื่องมือเพาะที่ทำการป้อนถาดเพาะกล้า
โดยนำถาดเพาะกล้าเรียงซ้อนกัน ด่อนเริ่มการทำงานของเครื่องป้อนถาด
1.3 เครื่องโรยดินรองพื้น เป็นเครื่องที่การทำงานต่อจากเครื่องป้อนถาด เป็นเครื่องที่ทำการโรยดินผสมให้ลงถาด โดยมีถังเก็บดินผสมอยู่ด้านบนมีชุดอุปกรณ์โรยดินอยู่ด้านล่างของถังเก็บซึ่งจะเคลื่อนที่โดยชุดสายพานลำเลียงผ่านช่องโรยทีละหนึ่งถาด
เป็นชุดเครื่องจักรสำหรับโรยดินสำหรับเพาะกล้า
เป็นเครื่องที่ทำการโรยดินผสมให้ลงถาด โดยมีถังเก็บดินผสมอยู่ด้านบน
1.4 ระบบให้น้ำสำหรับดินรองพื้น น้ำที่ใช้สำหรับอุปกรณ์ส่วนนี้ ประกอบด้วยน้ำเปล่า 200ลิตร ผสมสารเคมีการเกษตรคำแนะนำในคู่มือการใช้งาน ประกอบด้วยไฮฟิกส์ (Naphthyl Acetic Acid 4.5% SL) จำนวน 300ซีซี ปุ๋ยเกร็ด (25-5-5) จำนวน 300กรัม ก่อนทำการเพาะกล้า ต้องทำการผสม สารเคมีการเกษตร ข้างต้นกับน้ำสะอาด ใช้ปั๊มขนาด 0.5แรงม้า ปัมสารละลายผ่านกรองน้ำขนาด 150เมช ที่แรงดัน 1.5บาร์ ผ่านท่อฉีดน้ำฉีดพ่นลงบนหน้าดินรองพื้น
น้ำที่ใช้สำหรับอุปกรณ์ส่วนนี้ ประกอบด้วยน้ำเปล่า 200ลิตร ผสมสารเคมีการเกษตร
ก่อนทำการเพาะกล้า ต้องทำการผสม สารเคมีการเกษตรกับน้ำสะอาด
1.5 เครื่องโรยเมล็ดข้าว เป็นอุปกรณ์โรยเมล็ดข้าวที่ผ่านการแช่น้ำมาแล้ว 3วัน โรยเมล็ดข้าวด้วยเครื่องโรตารีที่ติดอยู่ด้านล่างของถังเก็บ สามารถปรับตั้งอัตราการโรยของเมล็ดข้าวได้ โดยปรับตั้งที่แปรงขนหน้าตัวโรยเมล็ด และปรับตั้งที่ตู่คอนโทร
เป็นอุปกรณ์โรยเมล็ดข้าวที่ผ่านการแช่น้ำมาแล้ว 3วัน
โรยเมล็ดข้าวด้วยเครื่องโรตารีที่สามารถปรับตั้งอัตราการโรยเมล็ดได้
1.6 ระบบให้น้ำสำหรับเมล็ดข้าว น้ำที่ใช้สำหรับอุปกรณ์ส่วนนี้ ประกอบด้วยน้ำเปล่า 200ลิตร ผสมด้วยโฟโนมิล Benomyl 50% จำนวน 300ซีซี ฟอร์กรีน (น้ำหมักชีวภาพ) จำนวน 300ซีซี ปุ๋ยเกร็ต (25-5-5) จำนวน 300กรัม ก่อนทำการเพาะกล้า ต้องทำการผสมสารเคมีเกษตร ข้างต้นกับน้ำสะอาด ใช้ปั๋มขนาด 0.5แรงม้า ปั๊มสารละลายผ่านกรองน้ำขนาด 150เมช ที่แรงดัน 1.5บาร์ ผ่านท่อฉีดน้ำฉีดพ่นลงบนหน้าดินรองพื้นซึ่งโรยด้วยเมล็ดพันธุ์ข้าวตามอัตราที่กำหนดแล้ว
น้ำที่ใช้สำหรับอุปกรณ์ส่วนนี้ ประกอบด้วยน้ำเปล่า 200ลิตร ผสมสารเคมีเกตร
ให้น้ำผ่านท่อฉีดน้ำฉีดพ่นลงบนหน้าดินรองพื้นซึ่งโรยด้วยเมล็ดพันธุ์ข้าว
1.7 เครื่องโรยดินกลบหน้า เป็นอุปกรณ์เหมือนชุดโรยดินรองพื้นใช้ดินผสมเช่นเดียวกัน อุปกรณ์การโรยด้วยมอเตอร์ขับ ชุดสายพานลำเลียงดินผ่านช่องโรย ที่สามารถปรับปริมาณการโรยด้วยสกรูปรับช่องให้กว่างหรือแคบ สังเกตจากการทำงานเมื่อโรยดินแล้วอุปกรณ์แปรงปัดสามารถปัดให้ระดับดินเสมอกับขอบของถาด
เครื่องโรยดินกลบหน้า เป็นอุปกรณ์เหมือนชุดโรยดินรองพื้น
อุปกรณ์การโรยด้วยมอเตอร์ขับ ชุดสายพานลำเลียงดินผ่านช่องโรยปรับปริมาณได้
1.8 เครื่องรับถาด เป็นอุปกรณ์ชุดสุดท้ายของเครื่องเพาะกล้าข้าว ซึ่งรับถาดที่ทำการเพาะครบทุกกระบวนการผลิต สามารถรับถาดได้ปริมาณหนึ่ง
เป็นอุปกรณ์ชุดสุดท้ายของเครื่องเพาะกล้าข้าว
ซึ่งรับถาดที่ทำการเพาะครบทุกกระบวนการผลิต

2. เครื่องมือและอุปกรณ์สนับสนุน

2.1 เครื่องบดดิน สำหรับเนื้อดินถ้าจะไม่ให้มีปัญหาเรื่องการขัดข้องการเดินเครื่องเพาะกล้าข้าว ส่วนผสมต้องมีความละเอียด ปราศจากหิน หรือวัชพืชต่างๆ เพราะถ้ามีอาจทำให้เกิดการติดขัด ขณะทำการเพาะกล้าข้าวได้ ดังนั้นจึงจำเป็นต้องใช้เครื่องบดดินที่จะทำการผสมดิน เครื่องจะทำงานโดยการตักดินใส่สายพานลำเลี่ยงเข้าส่วนบนของเครื่องบดลูกบดทำเป็นแผ่นเหล็กหนา เหวี่ยงหนีศูนย์กลางอยู่บนแกนที่ขับด้วยมอเตอร์ขนาด 5แรงม้า ตีย่อยดินพร้อมไหลลงมาสู่ตะแกรงล่อนด้านล่าง ซึ่งสามารถแยก วัตถุที่เป็นหินออกไปช่องหนึ่งด้านล่างเครื่อง ส่วนเนื้อดินที่ทำการบดจะถูกลำเรียงโยสายพานในตัวเครื่องไหลออกจากเครื่องด้านบนของเครื่องการทำงาน 4ตัน/ชั่วโมง
สำหรับเนื้อดินถ้าจะไม่ให้มีปัญหาเรื่องการขัดข้องการเดินเครื่องเพาะกล้าข้าว
2.2 เครื่องผสมวัสดุเพาะ การใช้เครื่องเพาะกล้าข้าว ต้องใช้ดินผสมหรือวัสดุเพาะกล้าข้าว ใช้อัตราส่วน เนื้อดิน : ขี้แกลบ : แกลบดิน ( 5 : 3 : 2 ) โดยปริมาตรเครื่องผสมวัสดุเพาะเป็นอุปกรณ์ที่ผสมส่วนผสมดินเพาะกล้าข้าว มีช่องที่สามารถนำวัสดุเพาะลำเลียงเข้าไปยังส่วนหัวผสม ซึ่งลำเลียงโดยสายพานไหลเข้าเครื่อง ช่องสามรถปรับตั้งความสูงได้โดยใช้สกรูปรับ สามารถปรับการผสมได้ในอัตราส่วนต่างๆ แต่ก็ต้องอาศัยแรงงานคนตักส่วนผสมลำเลียงเข้าผสมในเครื่อง สายพานลำเลียงขับด้วยมอเตอร์ขนาด 2.5แรงม้า
2.3 สายพานลำเลียง สายพานลำเลียงเป็นอุปกรณืเสริมชุดเครื่องมือเพาะกล้าข้าว ใช้เป็นอุปกรณืลำเลียงดินผสมเข้าเครื่องโรยดินรองพื้นถาด และเครื่องโรยดินกลบหน้า ต้องอาศัยแรงงานคนตักดินผสมลำเลียงเข้าสู่เครื่องโดยสายพาน ขับด้วยมอเตอร์ ขนาด 2.5แรงม้า เป็นอุปกรณ์เสริมการทำงานของเครื่องที่จัดว่าค่อนข้างสำคัญ เพราะถ้าเติมดินผสมได้ไม่ทันกับความสามารถของเครื่องอาจทำความเสียหายให้กับการเพาะกล้าและทำให้การทำงานล้าช้า (สายพานลำเลียงใช้งานอย่างน้อยสองชุด)
สายพานลำเลียงเป็นอุปกรณืเสริมชุดเครื่องมือเพาะกล้าข้าว
ใช้เป็นอุปกรณืลำเลียงดินผสมเข้าเครื่องโรยดินรองพื้นถาด และเครื่องโรยดินกลบหน้า
2.4 ถังแช่เมล็ดพันธุ์ข้าว ถังแช่ในกระบวนการเพาะกล้าข้าว จำเป็นต้องหาให้มีขนาดพอเหมาะกับการแช่พันธุ์ข้าวอาจเป็นพลาสติกไฟเบอร์เพื่อให้มีน้ำหนักเบา ปกติจะต้องเตรียมเพื่อมีความจุอย่างน้อย 600ลิตร และมีหลายถังเพราะถ้าทำการเพาะกล้าจำนวนมากจะต้องมีจำนวนมากให้พอดีกับปริมาณการแช่ การเพาะกล้าในหนึ่งครั้งจะต้องแช่พันธุ์ข้าวถึง 3วัน
    หน้า   1   2   3   4   5   
CONTACT
169/47 ถ.พุทธมณฑลสาย 4 ต.กระทุ่มล้ม  อ.สามพราน จ.นครปฐม 73220
086-070-0007
ananindustry@gmail.com
https://www.ananindustry.com
WORKING DAYS/HOURS
วันจันทร์ - วันเสาร์
8.00 - 17.00 น.
Copyright © 2008 Anan Industry Company Limited. All Rights Reserved